“ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้” เข้าใจผิด ชีวิตพัง!

27 มิ.ย. 24

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้

 

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่คนสมัยนี้เป็นกันเยอะมาก บางคนรักษามานาน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น กลับมีอาการแย่ลง ที่ทำให้อาการของภูมิแพ้ไม่ดีขึ้น อาจจะเป็นเพราะ ” ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้ “ ก็ได้นะ แล้วความเชื่ออะไรบ้าง ที่เราอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่? มาเช็กกันให้รู้ไปเลยว่าชัวร์ หรือ มั่วกันแน่

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด กลุ่มไม่ทำให้ง่วง

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้

เชื่อว่า! ภูมิแพ้หายขาดได้

ความจริง : โรคภูมิแพ้ ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่หายขาด เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายแพ้ ก็ทำให้กลับมามีอาการได้ แต่สำหรับภูมิแพ้บางชนิด โดยเฉพาะหากเป็นในเด็ก เช่น แพ้อาหาร หรือหอบหืดในเด็ก เมื่อโตขึ้น เด็กบางคนอาจจะหายเป็นปกติได้ แต่ส่วนใหญ่ภูมิแพ้ในผู้ใหญ่จะไม่หายขาด ทำได้เพียงควบคุมอาการแพ้ โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หรือเมื่อมีอาการแพ้ ก็ต้องใช้ยาแก้แพ้ ยาต้านฮีสตามีน หรือ ยาบรรเทาอาการคัน เพื่อรักษาอาการที่แพ้

ภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังที่มักจะอยู่กับเราไปตลอด ต้องรู้จักปรับตัว เรียนรู้ที่จะอยู่กับภูมิแพ้ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ก็อาจจะทำให้อาการภูมิแพ้ไม่กำเริบขึ้นมา

เชื่อว่า! ภูมิแพ้อาหาร ค่อย ๆ กินอาหารที่แพ้ แล้วจะหายได้เอง

ความจริง : เป็นความเชื่อที่ผิด และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะการค่อย ๆ กินอาหารที่แพ้หากมีอาการแพ้มาก เช่น หายใจไม่ออก หายใจติดขัด ช่วยเหลือไม่ทันอาจเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามทางการแพทย์จะมีการทดสอบการแพ้อาหาร (Oral Food Challenge Test) โดยให้ผู้ป่วยลองรับประทานอาหารที่สงสัยเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ เพื่อดูปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ เพราะผู้ป่วยอาจจะเกิดปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงได้ระหว่างที่ทำการทดสอบ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้

เชื่อว่า! ภูมิแพ้ไม่ต้องใช้ยา แค่ออกกำลังกายก็รักษาภูมิแพ้หายได้

ความจริง : สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ มีคำแนะนำว่าไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้ แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะค่อย ๆ สร้างภูมิให้กับร่างกาย และอาจจะทำให้อาการภูมิแพ้ค่อย ๆ ดีขึ้นได้

แต่การหยุดยา แล้วใช้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว สำหรับคนป่วยบางคนโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด ควรรักษาอาการให้ดีขึ้น ก่อนที่จะไปใช้การออกกำลังกาย เพราะอาจจะทำให้มีอาการหลอดลมไว หลอดลมตีบ อาการหอบหืดกำเริบ ดังนั้นหากจะเริ่มออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ และยังจำเป็นต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาเอง

เชื่อว่า! กินยาภูมิแพ้ต่อเนื่อง เสี่ยงกับโรคตับ โรคไต

ความจริง : ความเชื่อที่ว่าไม่อยากกินยา เพราะกลัวยาไปสะสมในตับ ในไตนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะยาในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพสูง แต่ผลข้างเคียงน้อย หากเป็นภูมิแพ้ที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ เช่น โรคหืด หากหยุดใช้ยา อาจส่งผลต่ออาการที่รุนแรงขึ้นของโรคหืด อาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คนไข้ที่เป็นภูมิแพ้ สามารถใช้ยาได้ เพราะแพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายอยู่แล้ว ไม่ต้องกังวลว่ายาจะไปสะสมที่ตับ ที่ไต

กินอาหารเสริมรักษาภูมิแพ้ได้ ?

ความจริง : ปัจจุบันมีโฆษณาชวนเชื่อ เกี่ยวกับอาหารเสริมต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกัน รักษาโรคภูมิแพ้ได้ แต่ในทางการแพทย์ ยังไม่มีคำแนะนำว่าอาหารเสริมชนิดใดจะช่วยป้องกัน รักษาภูมิแพ้ได้ มีแต่คำแนะนำทั่วไปในการดูแลสุขภาพ สุขอนามัย คือ รับประทานให้ครบ 5 หมู่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเมื่ออาการภูมิแพ้ควบคุมได้ดี

ความเชื่อ ยารักษาอาการแพ้ ทำให้ง่วง

ความจริง : ปัจจุบันไม่ได้มีแต่ยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง เหมือนเช่นในอดีต ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มแรก ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม หรือยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงซึม
  • กลุ่มที่สอง ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม

โดยยาต้านฮีสตามีนแบบที่ไม่ทำให้ง่วงซึม ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมากจึงทำให้ง่วงซึมน้อยกว่า ยาแก้แพ้กลุ่มนี้ เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) จัดเป็นยาแก้แพ้ที่ปลอดภัย และไม่ทำให้ง่วงซึม

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้

การดูแลตัวเองเมื่อเป็น “ภูมิแพ้”

หาให้ได้ว่าแพ้อะไรกันแน่ เมื่อสงสัยว่าตัวเองมีอาการแพ้ ส่วนใหญ่ตอนแรกหลายคนมักจะยังไม่แน่ใจว่าตัวเองแพ้อะไรกันแน่ หรือ บางครั้งอาจจะเข้าใจผิดสิ่งที่ทำให้แพ้ เช่น บางคนมีอาการแพ้ อาการคัน เมื่อกินกุ้ง กินอาหารทะเล อาจจะไม่ได้แพ้สารไคโตซานที่อยู่ในกุ้ง แต่อาจจะแพ้สารเคมีที่แช่อาหารทะเล ดังนั้น หากอยากรู้ว่าแพ้อะไรกันแน่ จะได้ป้องกันตัวเองได้ถูก อาจจะไปตรวจหาภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้ ซึ่งทำได้หลายวิธี

เลี่ยงของที่ทำให้แพ้ วิธีป้องกันภูมิแพ้ที่ดีที่สุด คือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หรือ ของที่ทำให้มีอาการแพ้ หากรู้ว่าแพ้ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้ขนสัตว์ แพ้เกสรดอกไม้ แพ้อาหารทะเล ก็พยายามเลี่ยง เพื่อไม่ให้ภูมิแพ้กำเริบ

อย่าลอง อย่าเสี่ยง การรักษาภูมิแพ้ อย่าพยายามกระตุ้นด้วยของที่ทำให้แพ้ด้วยตัวเอง เช่น บางคนจะลองกินของที่ทำให้แพ้เอง แต่ทำแบบนั้นเสี่ยงมาก เพราะอาการแพ้อาจจะกำเริบหนัก รุนแรงได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ และรักษาโดยแพทย์

กินยาแก้แพ้ คนที่มีอาการแพ้ เป็นภูมิแพ้ ควรมียาติดตัวเสมอ แต่หากมีอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง กะทันหัน เช่น อาการคัน อาการไอ จาม จากการแพ้ เช่น แพ้อากาศ แพ้อาหาร สามารถซื้อยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) เพื่อรักษาอาการคัน อาการแพ้ ได้เองจากร้านขายยา ยาแก้แพ้ที่ปลอดภัย ไม่ทำให้ง่วง เช่น ยาลอราทาดีน (​Loratadine) ซึ่งช่วยรักษาอาการคัน ระคายเคืองจากการแพ้ได้

ปรึกษาแพทย์ หากป่วยเป็นภูมิแพ้ ที่รบกวนการใช้ชีวิต เจ็บป่วยบ่อยไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save