ภูมิแพ้อาหาร อาจทำคุณป่วยได้มากกว่าที่คิด! เช็กสาเหตุ อาการ วิธีรักษา

27 มิ.ย. 24
ภูมิแพ้อาหาร

อยากกินกุ้ง อยากกินอาหารทะเล อยากกินนม แต่กินไม่ได้ เพราะเป็น ภูมิแพ้อาหาร !! เรื่องน่าเศร้านี้จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาอย่างไร? GED good life มีคำตอบรออยู่แล้ว ใครที่กินอาหารมีอาการแพ้เป็นประจำ ต้องไม่พลาด!

– ภูมิแพ้ คืออะไร มีสาเหตุ อาการอะไรบ้าง หายขาดได้หรือไม่? พร้อมวิธีรักษาภูมิแพ้
– “ภูมิแพ้อาหารทะเล” รักษาได้ไหม ป้องกันได้เปล่า? มาดูคำตอบกัน
– ยาแก้แพ้ มีกี่ชนิด และควรเลือกอย่างไรดี?

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ทำความรู้จักกับ ภูมิแพ้อาหาร

ภูมิแพ้อาหาร (Food allergy) คือ ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดการตอบสนองต่อโปรตีนในอาหาร หรือส่วนประกอบของอาหารที่แพ้ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ผื่นลมพิษ หน้าบวมปากบวม แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น

ภูมิแพ้อาหารสามารถพบได้ทั้งในวัยเด็ก และผู้ใหญ่ อาจเกิดจากพันธุกรรม และความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสแพ้อาหารได้มากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งยังไม่มีวิธีรักษา

อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยมักเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นภูมิแพ้อาหาร แต่จริง ๆ แล้ว อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของอาหาร จึงเห็นได้ว่าเรื่องของ ภูมิแพ้อาหาร จำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพของตัวเราเอง

สารอาหารประเภทโปรตีน ตัวการก่อ ภูมิแพ้อาหาร!

สารอาหาร (nutrient) ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ มักเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่ทนต่อความร้อน ทนต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหาร เช่น การย่อยด้วยกรดในกระเพาะอาหาร และเอนไซม์ในลำไส้เล็ก

ข้อมูลจากสภากาชาดไทย การแพ้อาหาร 90% มีสาเหตุมาจากอาหารประเภทโปรตีน 8 อย่างดังนี้

  1. ไข่
  2. นม
  3. ถั่วลิสง
  4. สัตวน้ำ จากพวกมีเปลือกเช่น หอยกุ้ง ปู และอื่น ๆ
  5. ปลา
  6. ข้าวสาลี
  7. ถั่วเหลือง
  8. Tree nut เช่น ถั่วอัลมอนต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และวอลนัท เป็นต้น

ในประเทศไทยนั้นอาหารทะเลเป็นอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้มากที่สุดมักเกิดกับผู้ใหญ่ ส่วนสาเหตุหลักของการแพ้อาหารในเด็กคือ นมวัว และถั่วลิสง ภาวะแพ้อาหารในเด็กสามารถที่จะดีขึ้น และหายเองได้ โดยเฉพาะแพ้นมวัว แพ้ไข่ แพ้แป้งสาลี แพ้ถั่วเหลือง แต่ในขณะที่ภาวะแพ้ถั่วลิงสง แพ้ถั่วที่เติบโตบนดิน และภาวะแพ้อาหารทะเล ยังคงไม่หาย จะมีอาการแพ้ต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่

อาการแพ้อาหาร มีอะไรบ้าง?

แต่ละคนอาจมีอาการแพ้อาหารที่แตกต่างกันไป สามารถแบ่งตามระบบได้ดังนี้

– อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น คันปาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย

– อาการในระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คันในจมูก คันคอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หอบ

– อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นขึ้น อาจเป็นผื่นแผง ๆ ที่เรียกว่า eczema หรือ ผื่นแบบลมพิษ คันตามตัว

บางรายอาจเกิดอาการหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน หรือเรียกว่า โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งมีอาการแพ้ที่รุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากรักษาไม่ทัน

นอกจากนี้ในบางราย โดยเฉพาะรายที่ปฏิกิริยาแพ้ไม่รุนแรง อาการอาจไม่เกิดทันทีที่รับประทานอาหารนั้นเข้าไป แต่จะทิ้งช่วงหลายชั่วโมงจนถึงเป็นวัน ซึ่งจะรู้ได้ยากมาก ว่าเกิดจากอาการแพ้อาหารชนิดใด

อาการแพ้อาหาร แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. ชนิดเฉียบพลัน (IgE mediated food allergy) มักเกิดปฏิกิริยารวดเร็วทันทีหลังรับประทาน หรือภายใน 2-4 ชม. อาการแสดง เช่น ผื่นลมพิษ ปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หน้ามืดหมดสติ

2. ชนิดไม่เฉียบพลัน (non-IgE mediated food allergy) อาจค่อย ๆ เกิดอาการหลังรับประทานได้หลายชั่วโมงถึงหลายวัน เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด

ยาที่ใช้รักษาโรคภูมิแพ้อาหาร

1. ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine)
หากมีอาการแพ้อาหารไม่รุนแรง หรือมีอาการปานกลาง เช่น อาการคัน ไอ จาม น้ำมูกไหล คันตา สามารถใช้ ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ชนิดไม่ง่วง ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) โดยยาแก้แพ้ชนิดนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาแพ้ และเป็นสาเหตุของอาการแพ้อาหาร

2. ยาฉีดอิพิเนฟริน (Epinephrine)
อิพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมักใช้รักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) เช่น แพ้แมลงกัดต่อย แพ้อาหาร แพ้ยา มีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการทำงานของหัวใจเมื่อหัวใจหยุดเต้น

แพ้อาหาร รับมือยังไงดี ?

– งดอาหารที่แพ้ หากรู้ว่าแพ้อาหารชนิดใด ควรงดอาหารชนิดนั้น ๆ เช่น แพ้นมวัว ก็งดอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบ เช่น ไอศครีม คุ้กกี้

-กินยาแก้แพ้ป้องกัน บางคนอยากกินอาหารที่แพ้มาก ใช้วิธีกินยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีนป้องกัน ดักเอาไว้ก่อน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทำได้ แต่ก็มีความเสี่ยง ถ้าจะใช้วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะหากเกิดอาการแพ้อาหารขึ้น แล้วมีอาการรุนแรง อาจทำให้อันตรายกับชีวิตได้

– อ่านฉลากอย่างละเอียด ควรตรวจสอบฉลากอาหาร หรือเครื่องดื่มอย่างละเอียดก่อนทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนผสมของอาหารที่ตนเองแพ้ หรือเวลาไปกินอาหารที่ร้านก็ควรแจ้งกับทางร้านว่ามีอาการแพ้อาหาร และถามย้ำให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง

– ฝึกใช้ยาฉีดอิพิเนฟริน (Epinephrine) บางคนที่มีความเสี่ยงเกิดอาการแพ้ที่มีความรุนแรงมาก ควรฝึกการใช้ยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) รูปแบบที่พร้อมฉีดได้เอง (Autoinjector) เพื่อพกติดตัวไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน

– พกยาแก้แพ้ติดตัวเสมอ หากมีอาการแพ้อาหาร ควรพกยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน ติดตัวไว้เสมอ เพราะอาจเกิดผิดพลาด กินอาหารที่แพ้เข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัวได้ โดยเฉพาะเมื่อออกไปนอกบ้าน

– ไปทดสอบการแพ้ บางครั้งที่เราเข้าใจว่าเราแพ้อาหารบางอย่าง แต่อาจจะไม่ได้แพ้จริง ๆ ก็ได้ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจ ลองไปทดสอบการแพ้อาหารดูว่าเราแพ้อาหารชนิดใดกันแน่ เช่น เข้าใจว่าแพ้อาหารทะเล แต่อาจจะแพ้แค่กุ้ง หรือ ปู แต่ยังกินอย่างอื่นได้

– พกข้อมูลการแพ้ติดตัว เช่น มีข้อมูลการแพ้ ในกระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อบอกข้อมูลว่าเราแพ้อะไร รายละเอียดของอาการ และวิธีการรับมือ เผื่อหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จะได้สามารถช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที

 

อ้างอิง : รพ.สินแพทย์ / สภากาชาดไทย / กรมประมง / มติชน

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save