ระวัง! 6 โรคผิวหนังพบบ่อยในฤดูหนาว และวิธีดูแลผิวช่วงอากาศเย็น

3 ก.ค. 24

โรคผิวหนังพบบ่อยในฤดูหนาว

 

หายตรงนั้น ขึ้นตรงนี้! ก็เข้าหน้าหนาวทีไร ต้องมีผื่น คัน ขึ้นตามตัวทุกที! มาดูกันว่า 6 โรคผิวหนังพบบ่อยในฤดูหนาว ที่เราควรระวัง และดูแลให้เป็น จะมีอะไรบ้าง? พร้อมแนะ วิธีดูแลผิวช่วงอากาศเย็นตามคำแนะนำจากแพทย์

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

แพทย์เผย! อากาศเย็น ทำให้ผิวหนังแห้ง ลอก หยาบกร้าน มากกว่าปกติ

นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า “ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์ และอวัยวะย่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่มีหน้าที่เพียงให้ความสวยงามเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อร่างกาย ช่วยป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อม เช่น รับความรู้สึก ควบคุมอุณหภูมิ ป้องกันเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกาย

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปีมักพบผู้ป่วยโรคผิวหนังจำนวนมาก ทั้งโรคผิวหนังเรื้อรังจำพวกสะเก็ดเงิน และโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเชื้อไวรัส เช่น งูสวัด เริม สาเหตุหนึ่งเกิดจากช่วงฤดูหนาวเชื้อไวรัสสามารถเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ยังพบปัญหาผิวแห้งเนื่องจากอากาศแห้ง ลมแรง”

6 โรคผิวหนังพบบ่อยในฤดูหนาว

1. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศที่เย็นลง ผิวหนังจะแห้ง และอักเสบง่ายกว่าปกติ ยิ่งผิวแห้ง ผู้ป่วยก็จะยิ่งมีอาการคัน จึงเกาเพลินจนเกิดผื่นกำเริบขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

  • ผิวหนังมีน้ำมันในชั้นหนังกำพร้า น้อยกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไป
  • คันผิวง่ายกว่าคนทั่วไป และมักเป็นมากตอนกลางคืน หรือช่วงอากาศเย็น
  • เกิดผื่นแดงที่ผิวหนังง่าย และ เป็นขุยลอกตามผิวหนัง

2. โรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก

เด็ก ๆ มักจะเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ประวัติการเกิดผื่นเป็น ๆ หาย ๆ และประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว จะช่วยสนับสนุนว่าเด็กป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้

อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก

  • วัยทารก มักเริ่มในวัยเด็กเล็กอายุ 2-3 เดือน ตามบริเวณแก้ม ด้านนอกของแขน และขา ที่สัมผัสสารระคายเคือง หรือมีการเสียดสี
  • วัยเด็กโต ลักษณะผื่นจะหนาขึ้น มีรอยเกา บริเวณลำคอ ข้อพับของแขนและขา

3. โรคลมพิษ

โรคลมพิษจากความเย็น มักจะกำเริบช่วงฤดูหนาว หรือไปในที่อากาศหนาวเย็น พบได้บ่อยในช่วงอายุ 10-40 ปี ลมพิษประเภทนี้ จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหลังสัมผัสกับความเย็น แพทย์มักทดสอบโดยการเอาก้อนน้ำแข็งวางไว้ที่ผิวหนังประมาณ 5 นาที แล้วเอาออก จะพบว่าผู้ป่วยมีผื่นลมพิษขึ้นหลังเอาน้ำแข็งออก ภายใน 10 นาที เรียกว่า “ice cube test”

อาการโรคลมพิษ

  • มี ผื่นแดง หรือ ปื้นนูนแดง ที่ชัดเจน
  • มีอาการคันร่วมด้วย

4. โรคเซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิร์ม เป็นโรคพบมากขึ้นในคนไทย โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว และหน้าร้อน สาเหตุสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นมาจาก ความเครียด การอยู่แต่ในห้องแอร์ เนื่องจากโรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคในกลุ่มเดียวกับรังแค และโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ

อาการโรคเซ็บเดิร์ม

  • ผมร่วงบริเวณหนังศีรษะที่เป็นเซ็บเดิร์ม
  • ผิวหนังตกสะเก็ดเป็นรังแคบนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มีเส้นผม คิ้ว หรือ หนวดเครา
  • ผิวมันเป็นแผ่น ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง

5. โรคงูสวัด

งูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า “Varicella Zoster Virus – VZV” ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ไวรัสชนิดนี้ระบาดง่ายในฤดูหนาว หลังจากที่ผู้ป่วยหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสนี้จะยังคงฝังตัวอยู่บริเวณปมประสาท จนเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง โรคงูสวัดก็จะเริ่มแสดงอาการออกมา

อาการโรคงูสวัด

  • มีตุ่มน้ำใสขึ้นเป็นกระจุก
  • มีอาการปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท

6. โรคอีสุกอีใส

หน้าหนาวทีไร พ่อแม่มักจะปวดหัวกับโรคอีสุกอีใสที่มักเกิดขึ้นในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กช่วง 1 ปีแรก (หรือผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ) จะมีอาการที่รุนแรงกว่าคนทั่วไป

อาการโรคอีสุกอีใส

  • มีตุ่มน้ำใส เหมือนหยดน้ำขึ้นตามตัว
  • มีไข้ ปวดเมื่อยปวดศีรษะ เบื่ออาหาร

กลุ่มเสี่ยงต้องระวัง! เกิดโรคผิวหนังได้ง่ายในหน้าหนาว

กลุ่มเสี่ยงที่พบโรคผิวหนังมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว  คือ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

แพทย์ผิวหนังแนะ! วิธีดูแลผิวช่วงอากาศเย็น

พญ.อังคณา สถาวรวงศ์ แพทย์ประจำศูนย์ความงาม โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้แนะเคล็ดลับในการดูแลผิวพรรณช่วงหน้าหนาว ไว้ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น

หลายคนชอบอาบน้ำอุ่นเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่จริง ๆ แล้วการอาบน้ำอุ่นจะทำให้เราสบายตัวได้แค่ตอนอาบเท่านั้น เพราะหลังจากอาบน้ำ ความชุ่มชื้นในผิวจะลดลง ส่งผลให้ผิวแห้ง เป็นขุยได้ ถ้าอยากให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นอาจจะต้องกลั้นใจอาบน้ำอุณหภูมิปกติเพื่อรักษาผิวกันหน่อยนะ

2. ไม่ควรอาบน้ำนานเกิน 10 นาที

การอาบน้ำอุณหภูมิปกติ แต่อาบนาน ๆ ก็ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้เช่นกัน ดังนั้น ควรอาบน้ำโดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีก็เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการขัดถูผิวแรง ๆ

3. เลือกประเภทสบู่ให้เหมาะกับผิว

ในช่วงฤดูหนาวถ้าอากาศแห้งมากอาจอาบน้ำเปล่าโดยไม่ถูสบู่ก็ได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้สบู่ ควรเลือกประเภทสบู่ให้เหมาะสม เช่น ใช้สบู่เหลวชนิดอ่อน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิว

4. ทาครีมบำรุงหลังอาบน้ำ ภายใน 3-5 นาที

หลังจากอาบน้ำเสร็จ ภายใน 3-5 นาทีแรก นับได้ว่าเป็นช่วงนาทีทองของผิว เพราะเมื่อผิวโดนน้ำแล้วจะยังมีความชุ่มชื้นอยู่ หลังเช็ดตัวหมาด ๆ จึงควรทาครีมบำรุงผิวลงไปทั้งที่ใบหน้า และลำตัวโดยเร็ว และที่สำคัญ ควรเลือกครีมบำรุงที่เป็นเนื้อครีม เพราะจะให้ความชุ่มชื้นได้ดีกว่าเนื้อโลชั่น

5. เลือกครีมบำรุงผิวที่เหมาะสม

ในการเลือกใช้ครีมบำรุง ควรเลือกครีมที่มีส่วนประกอบเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดี เช่น olive oil, jojoba oil, shea butter, urea, lactic acid, hyaluronic acid, glycerin, lanolin, mineral oil หรือ petrolatum และหลีกเลี่ยงครีมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ  AHA หรือเรตินอยด์ เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากยิ่งขึ้น

6. อย่าลืมพกลิปบาล์ม และแฮนด์ครีม

เมื่อดูแลผิวหน้า และผิวกายให้ดีแล้ว ก็ต้องไม่ลืมดูแลริมฝีปาก และมือด้วย เพราะอวัยวะทั้ง 2 ส่วนนี้ต้องเผชิญกับอากาศหนาวตลอดเวลา ซึ่งอากาศแห้งจะทำให้ริมฝีปากแห้ง และแตกง่ายขึ้น จึงไม่ควรเลียริมฝีปากบ่อย ๆ และหมั่นทาลิปบาล์มอยู่เสมอ ส่วนการดูแลมือนั้น หลังล้างมือควรรีบเช็ดให้แห้ง และทาแฮนด์ครีมทันที เพราะอากาศแห้งจะทำให้มือลอก และแตกได้ง่ายเช่นกัน

7. กินอาหารดี อีกวิธีในการบำรุงผิว

การกินอาหารในช่วงฤดูหนาวควรกินให้ครบทั้ง 5 หมู่ตามหลักการดูแลสุขภาพทั่วไป แต่สิ่งที่ควรเน้นมากเป็นพิเศษ คืออาหารที่มี omega 3 เพราะเป็นไขมันชนิดดี โดยเน้นกินปลา ถั่ว เนื้อไก่ และเน้นอาหารหรือผักผลไม้ที่มีวิตามินเอ, ซี, อี และซิงค์ เพื่อเติมอาหารให้กับผิว และที่สำคัญที่สุดคือดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว เพราะร่างกายต้องการน้ำเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นอยู่ตลอด

8. เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ทำให้ระคายเคือง

อากาศในฤดูหนาวจะแห้ง และเย็นมาก การเลือกเสื้อผ้าในช่วงนี้จึงควรเลือกเนื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่บาดหรือระคายเคืองผิว เช่น ผ้าคอตตอน ส่วนการใช้ผ้าขนสัตว์ หรือใยสังเคราะห์อาจจะทำให้คัน หรือระคายเคืองผิวได้

บรรเทาอาการแพ้ทางผิวหนังด้วยยาแก้แพ้ “ลอราทาดีน”

ลอราทาดีน คือ ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) ใช้สำหรับบรรเทาอาการของลมพิษเรื้อรัง และอาการแพ้ทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น
ยานี้ยังใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ของระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา แสบตา เนื่องจากโรคภูมิแพ้

 

อ้างอิง : 1. กรมการแพทย์ 2. สสส. 3. คุยกับหมอภูมิแพ้เด็ก by Dr.Mai 4. รพ. พญาไท 1/2/3

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save