ระวัง! 8 โรคแทรกซ้อนจากภูมิแพ้อากาศ อันตรายของคนเป็นภูมิแพ้

28 มิ.ย. 24

โรคแทรกซ้อนจากภูมิแพ้อากาศ

 

ในปัจจุบัน “โรคภูมิแพ้อากาศ” ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง และมีแนวโน้มว่าคนไทยจะเป็นกันมากขึ้นในอนาคต ด้วยเพราะว่ามลภาวะทางอากาศที่เป็นพิษมากขึ้น เช่น ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่กำลังเป็นสาเหตุหลักก่อให้เกิดภูมิแพ้เพิ่มขึ้น และถ้าผู้ป่วยภูมิแพ้ไม่ได้ดูแลอาการแพ้อย่างถูกต้อง หรือละเลยไป ก็อาจก่อให้เกิด “โรคแทรกซ้อนจากภูมิแพ้อากาศ” จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว! จะมีโรคอะไรบ้าง มาติดตามกัน

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

โรคภูมิแพ้อากาศ มีสาเหตุ และอาการอย่างไร?

โรคภูมิแพ้อากาศ หรือ ภูมิแพ้จมูก ทางการแพทย์เรียกว่า “โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ – Allergic rhinitis” คือ โรคที่ร่างกายเราตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น หรือสารก่อภูมิแพ้ (Allergens) ที่เราหายใจเข้าไป แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก โดยภูมิแพ้อากาศเป็นโรคภูมิแพ้อันดับ 1 ในไทย และทั่วโลก สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ทุกช่วงอายุเลยทีเดียว

สารก่อภูมิแพ้ยอดฮิตที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อากาศ ได้แก่

อาการแพ้อากาศ

  • จมูก มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล คัดแน่นจมูก
  • ผิวหนัง มีผื่นขึ้น, คัน, เป็นลมพิษ
  • ตา มีอาการคันตา, เคืองตา, แสบตา, น้ำตาไหล, ตาแดง
  • ปอดและหลอดลม หลอดลมหดเกร็ง, หอบ, ไอ, มีเสมหะ
  • ต่อมหลังเมือก มีการเพิ่มขึ้นของน้ำมูก, เสมหะ

8 โรคแทรกซ้อนจากภูมิแพ้อากาศ (Complications of allergic rhinitis)

โรคแทรกซ้อนจากภูมิแพ้อากาศ

1. โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinustisis)
คนไข้มักมีอาการเจ็บ ปวด และบวมในบริเวณจมูก หน้าผาก แก้มและตา ซึ่งอาจเจ็บลามมาจนถึงบริเวณหู กรามและฟันได้ อาการระคายคอ รวมถึงมักพบอาการไอ กระแอม และคันคอร่วมด้วย

2. หอบหืดกำเริบ (Acute asthmatic attack)
ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจไม่ทัน หายใจเหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด ไอมาก ซึ่งสามารถมีเสมหะร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

3. ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
คนไข้มักมีอาการ มีไข้ ต่อมทอนซิลบวม กลืนลำบาก มีกลิ่นปาก เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต

4. คออักเสบ (Pharyngitis)
คออักเสบส่วนใหญ่กว่า 90% เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด แต่ก็สามารถเกิดจากอาการแพ้ได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง

5. หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)
มีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง เจ็บหู โดยอาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีเสียงดังในหู มีของเหลวไหลออกมาจากช่องหู

6. ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyps)
คนไข้อาจได้รับกลิ่นน้อยลง คัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหล

7. ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม (pneumonia)
ปัจจุบันคนไทยเสี่ยงป่วยปอดอักเสบมากขึ้น เพราะปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 พุ่งทะลุค่ามาตรฐานทุกปี ผู้ป่วยมักมีอาการไอ จาม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ร้ายแรงสุดอาจเป็นมะเร็งปอดได้

8. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน (Sleep disorders)
ผู้ป่วยนอนหลับยาก ตื่นกลางดึก หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ

รักษาโรคภูมิแพ้อากาศ ด้วยยาแก้แพ้รุ่นที่ 2

ยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 หรือ ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 (Second-generation antihistamines) เป็นยาที่มีการพัฒนามาจากรุนแรก เช่น ยาลอราทาดีน (Loratadine) พัฒนามาจาก cyproheptadine และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับรุ่นแรก

ยากลุ่มนี้มีข้อดี คือ ไม่ทำให้ง่วงหรือง่วงน้อย มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และออกฤทธิ์ได้นาน 24 ชั่วโมง เพราะจับกับตัวรับฮิสตามีนได้แน่นและนานขึ้น จึงใช้เพียงวันละ 1 เม็ดเท่านั้น ไม่ทำให้เสมหะแห้งเหนียว และไม่มีผลต่อระบบอื่นของร่างกาย ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่ loratadine, cetirizine, fexofenadine เป็นต้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แพทย์จึงแนะนําให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศ ที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล เคืองตา ลมพิษ ผื่นแพ้ผิวหนัง ใช้ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 มากกว่ารุ่นแรก นอกจากนี้ยาต้านฮิสทามีนยังช่วยทําให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ดีขึ้นด้วย ส่วนการใช้ยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 ในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กนั้นได้ผลดี และปลอดภัย

ยาแก้แพ้

ถ้าพบอาการแพ้เหล่านี้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์

  • มีอาการหอบเหนื่อยง่าย หายใจลำบากกว่าปกติ
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะในคอบ่อย
  • เจ็บคอเรื้อรัง มีกลิ่นปากแรง
  • มีอาการทรงตัวยาก
  • มีอาการผิดปกติทางหู
  • เยื่อบุริมฝีปาก หรือมุมปากอักเสบเรื้อรัง
  • ใบหน้าส่วนล่างจะยาวกว่าปกติ

บทสรุป ถึงแม้ว่าโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่โรคนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ และอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามที่กล่าวไปข้างต้นได้ ทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตอยู่พอสมควร บางคนถึงกับเสียบุคคลิกภาพ หรือไม่ค่อยกล้าเข้าสังคมไปเลย ดังนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ พยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ และควรพวกยาแก้แพ้ติดตัวไว้เสมอ จะได้สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้ทันเวลา

 

อ้างอิง : 1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 1/2 /3/4 2. bpk9internationalhospital 3. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. medparkhospital 1/2 5. rileychildrens 6. Asthma Talks by Dr.Ann

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save