ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ต่างกันอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง?

28 มิ.ย. 24

ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่

 

การแพ้อาหารมักพบบ่อยในเด็ก แต่การแพ้อาหารบางชนิดจะคงอยู่ หรือพัฒนาในวัยผู้ใหญ่ได้ และจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้การแพ้อาหารทั้งในวัยเด็ก และผู้ใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกอนาคต วันนี้ GED good life จึงขอพาไปเรียนรู้ ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตว่าเราแพ้อาหารอะไรบ้าง…

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ แตกต่างกันยังไง?

ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฮธิบายว่า

“ถ้าแพ้อาหารตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นไปมีโอกาสที่จะหายได้หากมีการเลี่ยงอาหารที่แพ้เป็นเวลาที่เหมาะสม เช่น การแพ้นมวัว ถ้าหากเลี่ยงเป็นระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 2-3 ปี เด็กก็จะมีโอกาสหายจากภาวะการแพ้นมวัวได้ ไข่ขาวก็เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองอย่างแพ้นมวัว และไข่ขาวมีโอกาสหายได้ อยู่ที่ประมาณสัก 70-80 เปอร์เซ็นต์” ผศ.ดร.นพ.สิระ กล่าว

ส่วนอาหารที่พบว่าเด็กแพ้บ่อย กับ อาหารที่ผู้ใหญ่แพ้บ่อยก็แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น

  • ในเด็กมักแพ้ นม ถั่วลิสง ไข่
  • ในผู้ใหญ่มักแพ้ อาหารทะเลมากที่สุด เช่น กุ้ง ปู สัตว์น้ำมีเปลือก

การแพ้อาหารแต่ละชนิด มีช่วงเวลา และความรุนแรงที่เริ่มเกิดในเด็กกับผู้ใหญ่ที่แตกต่างกัน และอาการแพ้จะหายไปในช่วงอายุที่แตกต่างกันเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ภาวะแพ้อาหารในเด็กสามารถดีขึ้น และหายเองได้ โดยเฉพาะแพ้นมวัว แพ้ไข่ แพ้แป้งสาลี แพ้ถั่วเหลือง แต่ในขณะที่ภาวะแพ้ถั่วลิงสง แพ้ถั่วที่เติบโตบนดิน และภาวะแพ้อาหารทะเล ยังคงไม่หาย จะมีอาการแพ้ต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่

ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ใครเสี่ยงแพ้อาหารมากกว่ากัน?

การแพ้อาหารมักเกิดขึ้น และพบได้บ่อยในวัยเด็กมากกว่าในวัยผู้ใหญ่ การแพ้อาหารในวัยเด็กบางอย่างจะคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่ เช่น การแพ้ถั่ว แพ้อาหารทะเล เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะในวัยเด็ก หรือผู้ใหญ่ การแพ้อาหารก็มีโอกาสทำให้เกิด ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อาหารรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

3 อาหารที่พบว่าเด็กแพ้บ่อยที่สุด

การแพ้นม – พบบ่อยสุด ร้อยละ 2.5 หรือประมาณ 1 ใน 5 ของการแพ้อาหารทั้งหมด อายุที่เริ่มแพ้อาหารคือ 1 ปีแรก แต่เมื่อเข้าสู่อายุ 10 ปี อาการแพ้จะหายไปร้อยละ 43 ของเด็ก

ถั่วลิสง – พบร้อยละ 2 อายุที่เริ่มแพ้อาหาร ประมาณ 18 เดือน หรือหลังจากนั้น หรืออาจเกิดในช่วงที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว

ไข่ – พบร้อยละ 1.3-1.6 พบบ่อยสุดในเด็กอายุ 1 ปีแรก

ส่วนที่เหลือก็จะเป็น ถั่วเหลือง (ถ้าเด็กคนไหนแพ้ถั่วลิสง ก็มักจะมีอาการแพ้ถั่วเหลืองด้วย) ข้าวสาลี งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผลไม้ เป็นต้น

8 กลุ่มอาหารก่อภูมิแพ้ยอดฮิตทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่

ข้อมูลจากสภากาชาดไทย การแพ้อาหาร 90% ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากอาหารประเภทโปรตีน 8 อย่างดังนี้

  1. ไข่
  2. นม
  3. ถั่วลิสง
  4. สัตวน้ำ จากพวกมีเปลือกเช่น หอยกุ้ง ปู และอื่น ๆ
  5. ปลา
  6. ข้าวสาลี
  7. ถั่วเหลือง
  8. Tree nut เช่น ถั่วอัลมอนต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และวอลนัท เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเราแพ้อาหารอะไรบ้าง?

หากอยากรู้ว่าเราแพ้อาหารชนิดใด ควรสังเกตจากอาการที่เกิดขึ้นหลังจากบริโภคอาหารที่สงสัยว่าแพ้เข้าไป เช่น เด็กหรือคนไข้ที่แพ้กุ้ง จะมีอาการผื่นลมพิษขึ้น หน้าบวม ปากบวม ภายใน 1 ชั่วโมง จะเรียกว่าเป็นการแพ้กุ้งแบบอาการเกิดไว เป็นต้น และยังมีอาการอื่น ๆ ให้สังเกตเพิ่มเติมที่เกิดจากปฏิกิริยาการแพ้อาหาร ดังนี้ (ร่างกายแต่ละคนอาจมีอาการแพ้แตกต่างกันไป)

ผิวหนัง – อาการคัน ผื่นแดง ผื่นลมพิษ ผิวหนังบวม

ตา – อาการคัน น้ำตาไหล ตาแดง อาการบวมรอบตา

ทางเดินหายใจส่วนบน – อาการคัน แน่นจมูก น้ำมูกไหล จาม เสียงแหบ กล่องเสียงบวม

ทางเดินหายใจส่วนล่าง – อาการไอ เสียงหวีดในลำคอ หายใจไม่ออก แน่นหรือเจ็บหน้าอก

ทางเดินอาหาร – อาการคันในช่องปาก อาการบวมของริมฝีปาก ลิ้น หรือ เพดานปาก คันหรือแน่นในคอ ปวดท้องเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

หัวใจและหลอดเลือด – หัวใจเต้นเร็ว มึนงง สลบหรือเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ

อื่น ๆ – รสเหมือนโลหะในปาก ปวดเกร็งมดลูก ความรู้สึกป่วยเหมือนใกล้ตาย

อย่างไรก็ตาม หากคุณอยากมีความมั่นใจว่าแพ้อาหารชนิดใดบ้าง ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้ เพื่อตรวจเลือดที่ช่วยวินิจฉัยการแพ้อาหารต่อไป

 

 

ยาที่ใช้รักษาอาการแพ้อาหาร

1. ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine)

หากมีอาการแพ้อาหารไม่รุนแรง หรือมีอาการปานกลาง เช่น อาการคัน ไอ จาม น้ำมูกไหล คันตา สามารถใช้ ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ชนิดไม่ง่วง ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) โดยยาแก้แพ้ชนิดนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาแพ้ และเป็นสาเหตุของอาการแพ้อาหาร

2. ยาฉีดอิพิเนฟริน (Epinephrine)

อิพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมักใช้รักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) เช่น แพ้แมลงกัดต่อย แพ้อาหาร แพ้ยา มีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการทำงานของหัวใจเมื่อหัวใจหยุดเต้น

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. มหาวิทยาลัยมหิดล 2. workpointtoday 3. readysetfood 4. gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save