ผู้ใช้สิทธิบัตรทองปวดหัว! หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ยกเลิกสัญญา คลินิก-โรงพยาบาล 64 แห่ง หลังขยายผลพบทุจริตเงินบัตรทอง กระทบประชาชนถึง 800,000 ราย! อย่ารอช้ามาเช็คกันว่าจะมี คลินิก-โรงพยาบาล ไหนโดนยกเลิกไปบ้าง พร้อม Q&A คลายข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับ สิทธิบัตรทอง จากสปสช. ตามมาดูรายละเอียดต่าง ๆ กันเลย!
สปสช. ไขข้อสงสัย เกิดอะไรขึ้นกับ สิทธิบัตรทอง ?
การยกเลิกสิทธิบัตรทองกับ รพ. และคลินิก 64 แห่งนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปิดโปงขบวนการทุจริตบัตรทอง ทำให้ต้องมีการตรวจสอบโดย สปสช.
โดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แถลงข่าวชี้แจงว่า…
ในช่วงที่ สปสช.กำลังดำเนินการจัดหาหน่วยบริการแห่งใหม่แทนหน่วยบริการเดิม เพื่อดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลให้กับประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงมีแนวทางให้กับประชาชนในการเข้ารับบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย กรณีเจ็บป่วยทั่วไป หรือมีแผนการรักษาพยาบาลกับหน่วยบริการทั้ง 64 แห่ง
ประชาชนกลุ่มดังกล่าวสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลต่อเนื่องได้ที่หน่วยบริการภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือส่งตัว ทั้งนี้ สามารถดูรายชื่อหน่วยบริการในพื้นที่ กทม. ได้ที่ https://bkk.nhso.go.th/ucs-around-me/
ทั้งนี้ สปสช.ขอย้ำว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิบัตรทอง 30 บาทของประชาชนกลุ่มดังกล่าวยังคงอยู่ การยกเลิกสัญญาเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ กทม.เท่านั้น ต่างจังหวัดไม่ได้รับผลกระทบ
https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/videos/1210709342621773
เปิดรายชื่อ คลินิก-โรงพยาบาล 64 แห่ง ที่ถูกยกเลิกสัญญาเรื่องบัตรทอง
1. โรงพยาบาลบางไผ่
2. โรงพยาบาลปิยะเวท
3. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กนันอา
4. โรงพยาบาลวิชัยเวช แยกไฟฉาย
5. โรงพยาบาลพระราม 2
6. โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์
7. โรงพยาบาลบางขุนเทียน 1
8. เทียนทะเลคลินิกเวชกรรม
9. บางขุนเทียน 2 คลินิกเวชกรรม
10. บางบอนคลินิกเวชกรรม
11. คลินิกเวชกรรมลาซาล
12. ธนารมย์สหคลินิก
13. คลินิกเวชกรรมทุ่งครุ
14. เพชรทองคำคลินิกเวชกรรม สาขาพระราม 2
15. คลินิกสุพจน์เวชกรรม
16. รื่นฤดีสหคลินิก
17. โรงพยาบาลบางปะกอก 9
18. สี่แยกประเวศคลินิกเวชกรรม
19. มิตรชุมชนคลินิกเวชกรรม สาขาลาดพร้าว 111
20. คลินิกเวชกรรมวิภาวดี ซอย 2
21. ธราวรรณสหคลินิก(เวชกรรมและการแพทย์แผนไทย)
22. คลินิกเวชกรรมลาดพร้าว 122
23. พระยาสุเรนทร์คลินิกเวชกรรม สาขาแกรนด์ออคิด
24. คลินิกเวชกรรมวิภาวดี 60
25. โพธิ์สุวรรณคลินิกเวชกรรม สาขาบางเขน
26. สายหยุดโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก
27. คลินิกเวชกรรมเยนเนอรัลธนินทร
28. พหลฯ 58 คลินิกเวชกรรม
29. คลินิกเวชกรรมทวิมาศ สาขารามคำแหง 36/1
30. คลินิกเวชกรรมทวิมาศ สาขารามคำแหง 53
31. เจริญนครธนบุรีคลินิกเวชกรรม
32. สหคลินิกกล้วยน้ำไท สาขาเดอะช็อปปส์แกรนด์พระราม 9
33. เมืองมีนบุรีคลินิกเวชกรรม
34. คลินิกเวชกรรมซอยนวลจันทร์
35. เจริญราษฎร์คลินิกเวชกรรม
36. สหคลินิกถนนนวมินทร์
37. คลินิกเวชกรรมสายสัมพันธ์
38. การแพทย์เทอดไทคลินิกเวชกรรม
39. คาเมราตาคลินิกเวชกรรม
40. คาเมราตาคลินิกเวชกรรม สาขาหลักสี่
41. คาเมราตาคลินิกเวชกรรม สาขาทุ่งสองห้อง
42. สายไหมคลินิกเวชกรรม สาขาเคหะร่มเกล้า
43. ลภาราม 1 คลินิกเวชกรรม
44. ลาดพร้าวการแพทย์คลินิกเวชกรรม
45. คลินิกเวชกรรมวังหิน
46. สร้างสุขคลินิกเวชกรรม
47. คลินิกเวชกรรมรวินท์มาศ
48. ศิริกัญญาคลินิกเวชกรรม
49. โรงพยาบาลเพชรเกษม 2
50. จันทร์ 16 คลินิกเวชกรรม
51. มิตรไมตรีสหคลินิก สาขาลาซาล
52. สะพานสูงคลินิกเวชกรรม
53. สุขะวิทยาสหคลินิก
54. มิตรไมตรีสหคลินิก สาขาอุดมสุข
55. กานพัชทวีคลินิกเวชกรรม
56. เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม (สาขาพัฒนาการ)
57. เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม (สาขาพระโขนง)
58. เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม
59. เมืองเพชรคลินิกเวชกรรม
60. เพชรเกษม 69 คลินิกเวชกรรม
61. คลินิกเวชกรรม ม.เศรษฐกิจ
62. คลินิกทันตกรรมยิ้มพราว
63. คลินิกทันตกรรมวี-เด็นทัลแคร์ (บางเขน)
64. คลินิกทันตกรรมวี-เด็นทัลแคร์ (ลาดกระบัง)
https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/videos/1176778486038477/
แนะ 4 กลุ่มผู้ป่วยเร่งด่วน ติดต่อสายด่วน สปสช.
ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า สำหรับประชาชนที่เคยไปคลินิกไหน แล้วกลายเป็นคลินิกที่ไม่ได้เป็นหน่วยบริการคู่สัญญากับ สปสช.แล้ว สปสช.ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มเร่งด่วน ดังนี้
1. ผู้ป่วยคลินิกชุมนุม กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อ ซึ่งโรงพยาบาลนัดผ่าตัดแล้ว สปสช. และ กทม.ได้ติดต่อขอรายชื่อรวมถึงประสานเตรียมโรงพยาบาลรองรับการรักษาต่อเนื่องไว้แล้ว
2. ผู้ป่วยในโรงพยาบาล
3. หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งนัดวันผ่าตัดหรือคลอดไว้แล้ว
4. ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตต่อเนื่อง
ทั้ง 4 กลุ่มถือเป็นผู้ป่วยเร่งด่วน สปสช.ได้ติดต่อไปแล้วบางส่วน หากใครยังไม่ได้รับการติดต่อ สามารถโทรมาได้ที่สายด่วน 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง โดย สปสช.เตรียมไว้ 60 คู่สาย หรือติดต่อมาได้ที่เฟซบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ ไอดีไลน์ 1330_2 โดยขอให้ระบุรายละเอียดได้แก่ ชื่อ เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรติดต่อกลับ และปัญหาที่พบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ติดต่อกลับ
ประชาชนไม่ต้องกังวล ทุกคนที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยใดก็ได้ ที่อยู่ในหลักประกันสุชภาพแห่งชาติเบื้องต้น สามารถเข้าใช้บริการที่หน่วยบริการของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
Q&A : ไขข้อสงสัยผู้ถือสิทธิบัตรทองต้องทำอย่างไร หลังยกเลิกสัญญา 64 คลินิก
Q : ต้องการตรวจสอบ สิทธิบัตรทอง ว่าปัจจุบันมีสิทธิอะไรบ้าง? (กังวลว่าจะอยู่ใน 64 คลินิก)
A : สามารถตรวจสอบผ่านช่องทาง ดังนี้
- สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
- Inbox Facebook ส่วนกลาง ค้นหา “สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
- Facebook เขต 13 กทม ค้นหา “รู้จักสิทธิบัตรทอง”
- App สปสช. ค้นหา “สปสช.”
- LINE สปสช. เพิ่มเพื่อน “@nhso”
- เว็บไซต์ กทม. http://bkk.nhso.go.th
Q : กรณีเป็นผู้ป่วยที่อยู่ใน 64 คลินิกออกจากโครงการ เกิดเจ็บป่วยจะต้องทำอย่างไร?
A : หากเจ็บป่วยสามารถใช้สิทธิว่าง (มาตรา 8) เข้ารับบริการหน่วยบริการในโครงการใกล้บ้านได้ทุกแห่งโดยยื่นบัตรประชาชนใบเดียว หรือกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ใช้ใบสูติบัตร ในการเข้ารับบริการ
Q : ผู้ป่วยที่ admit อยู่ใน รพ. 7 แห่ง ขณะนี้จะต้องทำอย่างไร?
A : กรณีผู้ป่วย admit อยู่ใน รพ. 7 แห่ง สามารถใช้สิทธิได้จนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
- เขต 13 รพ. บางไผ่
- เขต 13 รพ. ปิยะเวท
- เขต 13 รพ. ทั่วไปขนาดเล็กนันอา
- เขต 13 รพ. วิชัยเวช แยกไฟฉาย
- เขต 13 รพ. พระราม 2
- เขต 13 รพ. สุขสวัสดิ์
- เขต 13 รพ. บางขุนเทียน 1
https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/posts/3365019590231240
Q : กรณีผู้ป่วยที่มีนัดผ่าตัด หรือคลอดบุตร อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ฟอกไตด้วยเครื่องเคมีบำบัด หลังจากคลินิก และ รพ. 64 แห่ง ถูกยกเลิกสัญญา จะต้องทำอย่างไร?
A : แนะนำติดต่อผ่านทางไลน์ @1330_2 โดยแจ้งดังนี้
- เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และ ชื่อ-นามสกุล
- โรค และประวัติการรักษา
- ผ่าตัดอะไร มีนัดเมื่อไหร่
- ชื่อญาติที่สามารถประสานงานได้ และเบอร์โทร
Q : กรณีประชาชนต้องการประวัติรักษาที่คลินิกเดิม แล้วถูกปฏิเสธจะต้องดำเนินการอย่างไร?
A : คลินิกต้องให้ประวัติการรักษาตามกฎมาย แต่อาจมีค่าใช้จ่าย เพราะถือว่าออกจากโครงการแล้ว หากคลินิก หรือหน่วยบริการไม่ให้ประวัติการรักษาตามที่คนไข้ร้องขอ สามารถร้องเรียนที่กองประกอบโรคศิลป์ได้ เบอร์ 02-193-7000
Q : กรณีที่ 64 คลินิก ถูกยกเลิกสัญญา จะต้องดำเนินการอย่างไร?
A : แนะนำให้ลงทะเบียนทำบัตรทองใหม่ กรณีมีเครือข่ายใกล้บ้านที่สามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ ซึ่งในระหว่างนี้ สปสช. ได้รับสมัครหน่วยบริการทดแทนกรณีที่ท่านเจ็บป่วย ต้องเข้ารับบริการ สามารถใช้สิทธิที่คลินิกศูนย์บริการสาธารณสุข รพ.รัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการได้
อ้างอิง:
www.nhso.go.th
news.thaipbs.or.th
ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี