อย่าให้ติดเป็นนิสัย! 8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี

5 ก.ค. 24

พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ

 

รู้หรือไม่ พฤติกรรมเคยชินของแต่ละบุคคลก็เป็นตัวกำหนดสำคัญด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจได้ และในแต่ละบุคคลย่อมมีทั้งพฤติกรรมที่เป็นข้อดี และเป็นข้อเสียกันทั้งนั้น แต่ถ้าพฤติกรรมที่เป็นข้อเสียเกิดขึ้นบ่อย ๆ เข้า ก็จะยากต่อการแก้ไข และอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้  มาดูกันว่า “8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ” เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี จะมีอะไรบ้าง และหากไม่ปรับ จะเสี่ยงป่วยเป็นโรคอะไร!?

8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี

1. ตามใจปาก ไม่หิวก็กิน

เพราะคนเรายอมอ้วนเพื่อให้ได้กินของอร่อย หรือ กินเพราะความชอบมากกว่าเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ พฤติกรรมตามใจปากเหล่านี้ ทำให้สุขภาพเสียไม่รู้ตัว มาปรับวิธีกินให้เหมาะสม สุขภาพก็จะดีขึ้นได้แน่นอน เช่น กินอาหารให้เป็นเวลา, กินให้ครบ 5 หมู่, ไม่กินขนมระหว่างมื้อ, หยุดกินเมื่อเริ่มรู้สึกอิ่ม, อาจทดแทนความอยากด้วยน้ำ หรือธัญพืชที่มีประโยชน์แทนขนมก็เป็นวิธีที่ช่วยได้

ตามใจปากบ่อยเกินไป เสี่ยงป่วย…

2. ติดซีรีย์ ดูได้ทั้งวันไม่ไปไหน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนไทยในยุคนี้ติดซีรีย์กันเยอะมาก โดยเฉพาะซีรีย์เกาหลี และซีรีย์จีน เรียกว่าดูกันทั้งวันทั้งคืนเก็บทุกตอน แบบม้วนเดียวจบ เรียกอาการแบบนี้ว่า Binge Watching ทำให้ไม่ได้หลับได้นอน หรือนอนไม่ตรงเวลา มาทำงานก็เพลีย ๆ ไม่ค่อยมีสมาธิ เพราะ นอนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายทรุดโทรมลง ภูมิคุ้มกันก็ลดลงตาม ทำให้ป่วยไข้ไม่สบายได้ง่าย ต้องปรับพฤติกรรม ดูแต่พอดี และห่างจากโลกโซเชียลบ้าง จะได้ไม่รับข่าวสารมากเกินไป

ติดซีรีย์ ติดโซเชียล ไม่ละสายตา เสี่ยงป่วย…

พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ

3. กินอาหารไม่ตรงเวลา

การกินอาหารไม่ตรงเวลาเป็นประจำ ทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ช้าลง เผาผลาญแคลอรีน้อยลง ทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง แสบท้อง ปวดบิด และมีลมได้ ฉะนั้นใครที่มีอาการเหล่านี้ลองสำรวจตัวเองว่า กินอาหารไม่ค่อยตรงเวลาหรือไม่ ถ้าใช่ ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เพื่อสุขภาพของเราเอง

กินอาหารไม่ตรงเวลา เสี่ยงป่วย…

4. ชอบกัดเล็บตัวเอง

นิสัยที่ชอบกัดเล็บตัวเอง ไม่ได้มีแค่ในเด็ก แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็ติดนิสัยนี้เช่นกัน ทางการแพทย์ การกัดเล็บเป็นประจำ จัดว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมของความรู้สึกในใจที่เป็นด้านลบ สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น มีขนาดเล็บที่เล็กจนมากเกินไป ติดเชื้อจากการเกิดบาดแผล บางคนกัดแม้กระทั่งเล็บเท้าตัวเอง และอาจมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมกับการกัดเล็บ เช่น ดึงผม แคะ แกะ เกาผิวหนัง กัดริมฝีปาก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ จัดอยู่ในอาการทางจิตเวช เรียกว่า “โรคกัดเล็บ (Chronic Onychophagia)”

กัดเล็บบ่อยเป็นประจำ เสี่ยงป่วย…

  • โรคเครียด หรือมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจ
  • ภาวะของโรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • เนื้อบริเวณนิ้วอักเสบติดเชื้อ แผลเน่า จนต้องตัดนิ้วทิ้งหรือเสียชีวิตก็เป็นได้

5. เป็นคนหัวร้อน โมโหง่าย

นิสัยขี้โมโห หัวร้อน รวมถึงมีพฤติกรรมความรุนแรง นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเราและคนรอบข้างแล้ว ยังทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีน และคอร์ติซอล ออกมามากเกินไป ส่งผลกินเยอะขึ้น หิวบ่อยขึ้น น้ำหนักขึ้นเร็ว แก่กว่าวัยอันควร ใครที่หัวร้อนง่าย ก็ควรหากิจกรรมที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น หรือลองทำสมาธิวันละ 5 นาที เพื่อช่วยให้อารมณ์เย็นลง อยู่กับลมหายใจมากขึ้น ก็จะลดความหัวร้อนลงได้

โมโหง่าย โมโหบ่อย เสี่ยงป่วย…

6. วัน ๆ เอาแต่นอนอย่างเดียว

สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา น้ำหนักมากขึ้นกว่าเดิม อาการเหล่านี้ คือผลลัพธ์สำหรับคนที่วัน ๆ เอาแต่นอนอย่างเดียว และหากถึงขั้น ขณะคุยกันก็ยังหลับได้ระหว่างกินอาหาร เป็นต้น ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของ โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)

นอนมากเกินไป เสี่ยงป่วย…

  • กระดูกพรุน ข้อเสื่อม
  • โรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินมากกว่าเดิม
  • กลายเป็นคนซึมเศร้า
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

4. วิตกกังวลเป็นประจำ

นั่นก็กลัว นี่ก็กลัว จะทำไรก็คิดมากไปหมด มีวิตกกังวลเกือบจะทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิต อาการแบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจแน่นอน และอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังตามมา เข้าสังคมก็ลำบาก ควรเรียนรู้หลักการใช้ชีวิต รู้จักปล่อยวาง หรืออาจปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษาต่อไป

วิตกกังวลเป็นประจำ เสี่ยงป่วย…

  • โรคซึมเศร้า
  • โรคแพนิก
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรคเครียด

8. พฤติกรรมทำงานไปกินไป 

งานก็ต้องทำ ข้าวก็ต้องกิน พอทำบ่อย ๆ ก็เลยติดเป็นนิสัยทำงานไปกินไป เข้าใจว่าสะดวกสบายดี แต่พฤติกรรมนี้ก็เสี่ยงทำให้เราได้รับเชื้อโรคเข้าปากโดยไม่รู้ตัว เพราะบริเวณโต๊ะทำงานเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น คีย์บอร์ด เมาส์ ที่เราต้องสัมผัสเกือบตลอดทุกนาที นอกจากนี้การวางขนมไว้บนโต๊ะทำงาน ยังก่อให้เกิดนิสัยกินจุกจิกตลอดวัน จนสุดท้ายก็น้ำหนักขึ้นจนลืมตัวว่า ตัวเองมีพุงไปสะแล้ว…

พฤติกรรมทำงานไปกินไป เสี่ยงป่วย…

  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • ระบบหมุนเวียนเลือดเสื่อม

จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมเคยชินทั้ง 8 ข้อนี้ สามารถส่งผลกระทบกับสุขภาพ และการใช้ชีวิตของคุณโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นหากไม่อยากให้สุขภาพพังไปก่อนวัยอันควร ก็ควรปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนใหม่เสียแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพดีดีในอนาคต

 

อ้างอิง : 1. สสส. 2. รพ. บำรุงราษฎร์ 3. รพ. สมิติเวช 4. รพ. ราชวิถี 5. มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save