อารมณ์โกรธ นั้นเปรียบเสมือนไฟที่คอยเผาใจเราให้มอดไหม้ หากเราสามารถควบคุมได้ ก็จะอยู่เป็นสุข ใจเป็นสุข ดังคำพุทธสุภาษิต ที่ว่า “โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข” ฉะนั้นวันนี้ Ged Good Life จึงขอแชร์คำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วย “๙ วิธีระงับความโกรธ” หากใครที่มักโกรธบ่อย ๆ ต้องลองนำไปปฏิบัติดู รับรองว่าได้ผลแน่นอน
ความโกรธ คืออะไร?
ความโกรธ (Anger) คือ อารมณ์ทางลบเมื่อเกิดความไม่พอใจไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ และคาดหวัง เมื่อถูกขัดขวางความตั้งใจในการกระทำบางอย่าง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจไปพร้อม ๆ กัน
ความโกรธจำแนกได้ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑. ความโกรธที่เห็นชัดเจน – เป็นความโกรธที่ผู้โกรธ รู้ตัวว่าโกรธ
๒. ความโกรธแฝง – เป็นความโกรธที่ถูกเก็บกดไว้ในระดับจิตใต้สำนึก และผู้โกรธไม่รู้ตัวว่าตนโกรธอยู่ ความโกรธแฝงนี้อาจนำไปสู่ การโกรธเรื้อรัง เกี่ยวพันกับอาการซึมเศร้า
การรู้จักอารมณ์ของตนเองขณะโกรธ คิดทบทวนหาสาเหตุของ ความโกรธ หาแนวทางระงับความโกรธที่เหมาะสม และวิธีการตอบสนองต่อความโกรธ ทำให้เราสามารถบริหารจัดการกับความโกรธได้อย่างถูกวิธี
๙ วิธีระงับอารมณ์โกรธ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้นำวิธีละความโกรธที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ใน “คัมภีร์วิสุทธิมรรค” มาแนะนำท่านผู้อ่าน มีถึง ๙ วิธี ด้วยกัน ดังนี้
๑. ระลึกถึงโทษของความโกรธ
อารมณ์โกรธนั้น เปรียบเสมือนไฟเผาไหม้ใจเรา อาจทำให้เราขาดสติ ทำอะไรลงไปโดยไม่ยั้งคิด เช่น โกรธแล้วทำร้ายคนอื่นได้ โกรธแล้วด่าทอกันจนเป็นเรื่องราวขึ้นโรงขึ้นศาลได้ คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธ นอนก็ เป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อพิจารณาถึงโทษของความโกรธได้แล้ว เราจึงต้องมีสติระงับใจไว้เสีย ไม่โกรธตอบ
๒. ระลึกถึงความดีของเขา
ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่วไป แต่ละคน ๆ ย่อมมีข้อดีบ้าง ข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ฉะนั้นก่อนจะโกรธเคืองใคร พึงหันไปมอ งหรือระลึกถึงความดี หรือจุดอื่นที่ดี ๆ ของเขา ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะให้มองเอาจริง ๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่ ! น่าสงสาร ต่อไปคนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่าง ๆ เพราะความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรก อาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น
๓. พึงสอนตนว่า “ความโกรธคือการทำความทุกข์ให้ตนเอง”
ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู เพราะ คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้แก่ตัวเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทําอะไรให้ลําบากก็ได้สมใจของเขา
๔. พิจารณาความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน
พึงพิจารณาว่า ทั้งเรา และเขาต่างก็มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทํากรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทําอะไร การกระทําของเรานั้นเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป
๕. พิจารณาถึงความประพฤติในกาลก่อนของพระศาสดา
พระพุทธเจ้าของเรานั้น ทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายามปลง พระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทนที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทําร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงทําดีต่อเขาต่อไป
๖. พิจารณาถึงความที่เคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่า สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นมิตร การที่จะทําใจร้าย และแค้นเคืองต่อบุคคลเช่นนั้นไม่เป็นการสมควร
๗. พิจารณาอานิสงส์เมตตา
ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ เมตตา ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสียแล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกําจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว
๘. ใช้วิธีแยกธาตุ
ชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุ หรือขันธ์ หรือนามธรรม และรูปธรรมต่าง ๆ มาประกอบกันเข้า แล้วเราก็มาติดสมมตินั้น ยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวายทําตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไปการที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียด งุ่นง่านเคืองแค้นกันไป ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง
๙. การให้ หรือแบ่งปันสิ่งของ
การให้ หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีแก้ความโกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทําให้ศัตรูกลายเป็นมิตร พระพุทธเจ้ากล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทาน คือการให้นั้นว่า “การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สําเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ ฝ่ายผู้ได้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา” เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน
๘ พุทธศาสนสุภาษิต เรื่องความโกรธ
๑. โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
๒. โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ
ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
๓. โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ
คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง
๔. ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ
ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
๕. อนตฺถชนโน โกโธ
ความโกรธก่อความพินาศ
๖. หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ
ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้
๗. ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ
ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
๘. หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ
ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้
ความโกรธ ทำลายสุขภาพเรายังไงบ้าง? ดับมัน ก่อนที่มันจะทำลายเรา!
หากปล่อยให้อารมณ์โกรธสะสมในจิตใจนาน ๆ จะยิ่งก่อใหเ้กิดผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายได้มากมาย เราจึงควรดับความโกรธ ก่อนที่ความโกรธจะทำลายเรา!
๑. โรคหัวใจ เพราะอารมณ์โกรธจะกระตุ้นให้หัวใจคุณบีบตัวเร็ว และแรงขึ้น
๒. โรคความดันโลหิตสูง ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ
๓. โรคเครียด และปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ตามมา
๔. โรคไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง หนักสุดเส้นเลือดในสมองอาจแตกได้
๕. ความผิดปกติของผิวหนัง ผิวพรรณหมองคล้ำลง หน้าตาดูไม่สดใส
๖. ปัญหาทางเดินอาหาร คนที่ท้องเสียบ่อย ๆ เวลามีอารมณ์โกรธ ต้องควบคุมรักษาทางจิตอารมณ์ด้วย
อ้างอิง : 1. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ 2. kanlayanatam 3. เพจคำคมธรรมะเตือนใจ 4. doisaengdham 5. ครูบ้านนอก
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife