ต้องเสพทุกกระแส ไม่พลาดสักข่าว! อาจเสี่ยงเป็น FOMO “อาการกลัวตกกระแส”

10 ก.ค. 24

FOMO

 

คุณมีความรู้สึกแบบนี้อยู่หรือไม่? หงุดหงิดที่ตามเทรนด์ไม่ทัน หรือนับตั้งแต่ตื่นนอน ก็ต้องหยิบมือถือขึ้นมาเช็คเทรนด์ต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดียเป็นประจำทุกวัน… ต้องระวัง! เพราะอาการเหล่านี้กำลังบ่งบอกว่า คุณอาจเสี่ยงกับ FOMO หรือ โรคกลัวตกกระแส โดยไม่รู้ตัว!

decolgen ดีคอลเจน

FOMO คืออะไร?

FOMO เป็นคำย่อมาจาก Fear of Missing Out หรือ “อาการกลัวตกกระแส” (อาจเรียกได้ว่า เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน)  เป็นความวิตกกังวลทางสังคมแบบหนึ่ง กลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ กลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ จึงต้องคอยเช็คข่าวสารตลอดเวลา ฉันต้องรู้ก่อนใคร ฉันจะต้องแชร์ ฉันจะต้องได้ไลค์เยอะ ๆ พอพลาดอะไรไป หรือไม่ได้ดั่งใจก็จะเกิดอาการเครียด วิตกกังวล กระสับกระส่ายขึ้นมา

ด้วยเหตุนี้ การเฝ้ามองหน้าจอสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นการบั่นทอนทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ส่งผลให้ชีวิตขาดความสมดุลเนื่องจากต้องแบ่งเวลากิน เวลาทำงาน เวลาครอบครัว และเวลาพักผ่อนไปให้กับโลกโซเชี่ยลเสียหมด

ในขณะเดียวกันการจดจ่ออยู่กับกระแสข้อมูลข่าวสารทำให้ขาดสมาธิ และขาดประสิทธิภาพในการเรียน และการทำงาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความก้าวหน้าในอนาคต

อาการที่เข้าข่ายFOMO

ข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้ระบุถึงอาการที่เข้าข่ายFOMO ไว้ดังนี้

  1. อารมณ์แปรปรวนง่าย เมื่อไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต หงุดหงิดใจ กระวนกระวาย
  2. หมดเวลาไปกับการใช้สมาร์ทโฟน มากกว่า 6 ชม. ต่อวัน
  3. ติดการใช้งาน Facebook , Twitter ฯลฯ ต้องเล่น ต้องเช็ค ทุกวัน เกือบจะทุกเวลา
  4. กลัวตกกระแส และรู้ข่าวช้ากว่าเพื่อน ๆ
  5. เวลามีคนมาคอมเม้นต์ หรือพูดถึง จะกังวลเมื่อถูกตำหนิบนโซเชียลมีเดีย
  6. รู้สึกด้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนบนโลกออนไลน์ คนอื่นมีโน่นมีนี่ ไปกินอาหารดี ๆ ทำไมเราถึงไม่ได้ทำแบบเขา

ซึ่งผลจากการวิจัย มีถึง 64% มีอาการ FOMO เมื่อไม่สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่ง 80 % เป็นชาวเอเชีย และ 56 % กลัวการตกข่าว หรือกระแสหากไม่ได้เข้ามาอัพเดทบ่อย ๆ

FOMO มีผลเสียต่อสุขภาพกายอย่างไรบ้าง?

  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ นอนดึก นอนหลับยาก
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนไหวในแต่ละวันที่ลดลง
  • มีปัญหาด้านร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดไมเกรน ปวดตา และความเหนื่อยล้า เป็นต้น
  • รู้สึกโกรธหากมีใครไม่สนใจ ไม่เห็นด้วย หรือโต้แย้งความคิดเห็นของตัวเอง
  • มีปัญหาด้านภาวะทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย เสี่ยงต่อโรคเครียด โรคซึมเศร้า เป็นต้น
FOMO

Social Detox วิธีบำบัดปัญหาสุขภาพจากโลกโซเชียล

มีคนดังมากมายระดับโลก หรือแม้แต่ดาราไทยเอง ที่ได้หันมาใช้ Social Detox หรือการประกาศหยุดพัก (ออกห่าง) จากโซเชียลมีเดีย เพื่อบำบัดการเสพติดเทคโนโลยี หรือสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการตัด และลดบทบาทการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง

โดยหลายคนใช้บำบัดตัวเองเนื่องจากได้รับผลกระทบจากบนโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความคิดเห็น หรือคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่ดี ไปจนถึงพฤติกรรมการเสพสื่อทั่วไปมากจนเกินไป ด้วยเหตุนี้ Social Detox จึงเป็นวิธีที่เข้ามามีบทบาทในยุคนี้มากขึ้น

วิธีรับมือกับอาการFOMO

1. ยอมรับก่อนว่าตัวเองติดโซเชี่ยล เพราะเมื่อไหร่ที่เรายอมรับ เมื่อนั้นเราก็พร้อมจะเปลี่ยน

2. หากิจกรรมอื่นที่เหมาะสมมาทดแทน อาทิ กำหนดกิจกรรมภายในครอบครัวเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด การพักผ่อน ออกไปท่องเที่ยว หรือทำงานที่จะช่วยพัฒนาทักษะความสามารถของตัวเอง

3. ตั้งเป้าหมายในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยกำหนดช่วงเวลา และระยะเวลาในการใช้งานให้ชัดเจนพิจารณาตามความจำเป็นของแต่ละคน โดยทั่วไปเวลาที่เหมาะสมคือ ใช้งานวันละไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง

4. กำหนดให้ห้องนอนเป็นพื้นที่ No mobile หลีกหนีจากโทรศัพท์แล้วมาพักผ่อนดีกว่า

5. ทำ Social detox ออกห่างจากโลกโซเชียลสักระยะ เมื่อคุ้นชินกับการไม่ได้เล่นโซเชียลแล้ว ก็จะทำให้อาการ fomo หายไปเอง

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save