ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหายใจลำบาก ออกซิเจนตก เหนื่อย-หอบ ง่าย จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนท่านอนใหม่ ด้วย “4 ท่านอน เมื่อป่วยโควิด-19” เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น และงดนอนหงายไปก่อนในขณะที่ยังหายใจลำบากอยู่ แต่สำหรับผู้ป่วยโควิด ที่สามารถหายใจได้ปกติ ไม่เหนื่อย ไม่หอบ ออกซิเจนยังปกติ (มากกว่า 95 ขึ้นไป) ก็สามารถนอนหงาย หรือนอนท่าปกติที่เคยนอนอยู่ประจำได้เลย
พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความรู้เรื่อง การนอนเมื่อป่วยโควิด-19 ไว้ดังนี้ …
การนอนคว่ำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น เนื่องจากเนื้อปอดมีการขยายตัวขึ้น และหัวใจตกไปอยู่ด้านล่างของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ถุงลมขยายตัวได้เต็มที่ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องออกซิเจนต่ำ และเกิดอาการปอดอักเสบทั้งสองข้าง อย่างไรก็ตามหากเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย และออกซิเจนไม่ต่ำ ยังสามารถนอนท่าที่ถนัดได้ตามปกติ
หากเป็นผู้ติดเชื้อด้วยโรคโควิด-19 จะเกิดการอักเสบของปอดทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน เพราะฉะนั้นการนอนคว่ำจะเป็นกระบวนการที่ดีที่สุด แต่หากบางคนเกิดอาการปอดอักเสบข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งพบได้น้อย แพทย์จะแนะนำให้นอนตะแคงในข้างที่ไม่ได้เกิดการอักเสบของปอด การนอนคว่ำจะเกิดประโยชน์ในกรณีที่ออกซิเจนต่ำ โดยคนปกติจะมีออกซิเจนจะอยู่ที่ 98-100 ถ้าออกซิเจนต่ำกว่านั้น การนอนคว่ำจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น และช่วยลดภาวะอาการเหนื่อยหอบได้
ผู้ป่วยโควิด-19 ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่เหมาะสม ทั้งนี้หากยังไม่พบอาการเหนื่อย และยังเป็นเหมือนคนปกติ ยังสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ ก็สามารถทำได้ตามขีดจำกัดที่เรามี เพราะจะเป็นตัวช่วยที่ทำภูมิของเราดีขึ้น
4 ท่านอน เมื่อป่วยโควิด-19 แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emerency Medicine เจ้าของเพจ “ห้องฉุกเฉินต้องรู้” ได้โพสต์ข้อความเรื่องท่านอน เมื่อป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไอ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ไว้ดังนี้
การนอนคว่ำช่วยให้อากาศเข้าไปในปอดได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายถึงนอนคว่ำไปนาน ๆ ควรเปลี่ยนท่าทางบ้างตามรูปนะครับ ตั้งนาฬิกาเลยก็ได้ครับ นอนคว่ำ นอนตะแคง ลุกขึ้นมานั่ง การนอนคว่ำก็มีข้อต้องระวัง เพราะถ้าหน้าคว่ำไปกับหมอน อาจอุดกั้นทางเดินหายใจได้ หรือเผลอหลับแล้วจมูกบี้ไปกับหมอน หยุดหายใจได้ครับ
ทางที่ดีก็ตะแคงหน้าเล็กน้อยปลอดภัยกว่าครับ ถ้าหายใจเข้าแล้วเจ็บหน้าอกมาก ลองหาหมอนมากอดไว้นะครับ เป็นการประครองซี่โครงไว้จะได้หายใจสบายขึ้น ไม่เจ็บมากนักพยายามใส่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วไว้ตลอดนะครับ ติดตามดูว่าตอนเปลี่ยนท่าทางการหายใจดีขึ้นไหม ค่าออกซิเจนปลายนิ้วดีขึ้นไหม หวังว่าคงจะเป็นคำแนะนำที่พอจะช่วยได้บ้างระหว่างกำลังรอเตียงนะครับ
ท่าที่ 1 : นอนคว่ำ ตะแคงใบหน้า
ระยะเวลา : 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 2 : นอนตะแคงขวา
ระยะเวลา : 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 3 : นั่ง
ระยะเวลา : 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 4 : นอนตะแคงซ้าย
ระยะเวลา : 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
หลังจากท่าที่ 4 ให้กลับมานอนคว่ำท่าที่ 1 ใหม่ และเปลี่ยนท่านอนไปเรื่อย ๆ ตามท่านอนที่ 1 ถึง 4
สำหรับใครที่ไม่ได้ป่วยโควิด-19 สามารถติดตามบทความ “นอนอย่างไรเพื่อสุขภาพดีดี” ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
– ฮาวทูนอน นอนเพื่อสุขภาพ ควรนอนอย่างไรดี?
– เซ็งไหมกับสามีที่ชอบ นอนกรน มาดูวิธีแก้ให้หายขาดกัน
– 10 วิธี แก้อาการ ง่วงนอนตอนบ่าย พร้อมแบบทดสอบอาการง่วงนอน เช็กเลยที่นี่!
นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผอ.สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า “การนอนพักผ่อนที่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อมูลวิชาการชี้ชัดว่า หากนอนไม่มีคุณภาพจะส่งผลกระทบทางสุขภาพและสังคม ทั้งก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ การด้อยประสิทธิภาพการทำงาน หรือการเกิดอุบัติเหตุ”
พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ชะลอวัยทางด้านสุขภาพของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับว่า “การนอนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้นั้นใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าอยากสวย มีงานวิจัยบอกว่า ควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมง เพราะในเวลาหลับร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่กำจัดสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ”
อ้างอิง : สำนักข่าวไทย / เพจห้องฉุกเฉินต้องรู้ / กรมสุขภาพจิต / ประชาชาติธุรกิจ
#อินโฟกราฟิก #อินโฟกราฟิกเพื่อสุขภาพ #อินโฟกราฟิกโควิด #อินโฟโควิด #อินโฟสุขภาพ #อินโฟกราฟิกไข้หวัด #อินโฟ #infographic #healthinfographic
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife