ไข้ทับระดู (Period Flu) อาการเป็นอย่างไร รักษายังไงได้บ้าง?

27 มิ.ย. 24

 

ไข้ทับระดู (Period Flu) คือ การมีไข้ขณะมีประจำเดือน เพราะคำว่า ระดู หมายถึง เลือดประจำเดือน โดยผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายมักจะอ่อนแอลง ภูมิต้านทานการติดเชื้อลดลง โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ

ไข้ทับระดูในอดีต เป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัวเป็นแล้วอาจจะเสียชีวิตได้ เพราะเทคโนโลยีการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ทันสมัย เวลาเจ็บป่วย เป็นไข้ หรือติดเชื้อ ก็อาจจะรุนแรง จนเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

สาเหตุของไข้ทับระดู

– ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เนื่องจากขณะมีประจำเดือนร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตเจนและโปรเจสเตอโรน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ระบบร่างกายเสียสมดุล

– มีภูมิต้านทานลดน้อยลง เป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานการติดเชื้อลดลง จึงมีโอกาสที่จะเกิดเจ็บป่วย เป็นไข้ หรือติดเชื้อง่ายกว่าปกติ

– รักษาความสะอาดไม่ดี ช่วงมีประจำเดือน มีโอกาสติดเชื้อในมดลูก และปีกมดลูกได้มากกว่าปกติอีกด้วย โดยเฉพาะหากรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ ช่องคลอดไม่ดี


ไข้ทับระดู สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ไข้ทับระดู ที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง

– มีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ไม่รุนแรง
– มีไข้
– ปวดหัว ตัวร้อน
– อ่อนเพลีย

การรักษา

– กินยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ปวดลดไข้ หากมีอาการไข้หวัด
– นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ไม่หักโหม ออกแรง
– เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ หรือ เมื่อเริ่มรู้สึกเปียกชื้น
– รักษาความสะอาดอวัยวะเพศ ช่องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรืออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ

2. ไข้ทับระดู ที่มีสภาวะโรคแอบแฝง

– มีอาการไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ปวดหลัง
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ปวดท้องน้อย อาจเป็นได้ทั้ง 1 หรือ 2 ข้าง
– มีตกขาวปนหนองออกมา ระหว่างมีประจำเดือน
– เจ็บลึก ๆ ขณะมีเพศสัมพันธ์
– เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
– ประจำเดือนอาจมากผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น

หากมีอาการจะรุนแรงของไข้ทับระดู อาจเป็นสัญญาณของโรคที่แอบแฝง เช่น “ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ” (Pelvic inflammatory disease/ PID) คือ ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน คือ บริเวณมดลูก (endometritis) ท่อนำไข่ (salpingitis) รังไข่ (oophoritis) และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic peritonitis)

การรักษา

– หากมีอาการไข้สูง หรือ มีความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ควรไปให้หมอตรวจ
– ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
– งดมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะรักษาหายขาด
– พาคู่นอนไปรักษาด้วย เมื่อหายขาดแล้วจะได้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

อ่านบทความ ไข้ทับระดู ฉบับเต็มได้ที่ -> โรคที่ผู้หญิงต้องรู้! “ไข้ทับระดู” คืออะไร รักษาอย่างไรดี?


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save