ติดบุหรี่ เสี่ยงติดโควิดสูง! พร้อมชี้โทษร้าย และวิธีเลิกบุหรี่ I 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

28 มิ.ย. 24

ติดบุหรี่

 

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้คนมีความเครียดที่อาจเกิดจากการ WFH หรือการเรียนออนไลน์ ซึ่งทำให้คนที่ ติดบุหรี่ มีพฤติกรรมการสูบบุรี่จัดมากขึ้นไปอีก แต่รู้หรือไม่ว่า การติดเชื้อโควิด-19 พบในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 14 เท่า เลยทีเดียว!

การสูบบุหรี่จะมีโทษร้ายอะไรบ้าง และจะมีวิธีเลิกบุหรี่ให้หายขาดได้อย่างไร GedGoodLife มีคำตอบรออยู่แล้ว มาติดตามกันเลย!

31 พฤษภาคมของทุกปี คือ วันงดสูบบุหรี่โลก

ดีคอลเจน

WHO เผย! ติดบุหรี่ เสี่ยงติดโควิดสูง การติดเชื้อโควิด-19 พบในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 14 เท่า!

ติดบุหรี่ เสี่ยงติดโควิดสูง จริง! องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะติดโรคโควิด-19 ซึ่งจะมีอาการรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสารพิษจากควันบุหรี่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ผู้สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ วัณโรค รวมถึงโควิด-19 การติดเชื้อโควิด-19 พบในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 14 เท่า

งานวิจัย ยืนยัน! สูบบุหรี่หากติด โควิด-19 จะมีอาการป่วยมากกว่าคนไม่สูบถึง 5 เท่า

งานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก ที่เผยแพร่ใน Journal of Adolescent Health เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2563 ยืนยันเช่นกันว่า

ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสติดเชื้อ โควิด-19 มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ 5 เท่า! และหากสูบทั้งบุหรี่มวนร่วมกับบุหรี่ไฟฟ้า มีแนวโน้มติดเชื้อไวรัส โควิด-19 มากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 6.8 เท่า โดยในทั้ง 2 กลุ่มนี้ หากติด โควิด-19 จะมีอาการป่วยมากกว่าคนไม่สูบถึง 5 เท่า

ซึ่งเป็นผลการสำรวจจากแบบสอบถาม ในกลุ่มประชากร ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า และเข้ารับการตรวจ โควิด-19 อายุ 13 – 24 ปี จำนวน 4,351 คน ที่อาศัยอยู่ใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวเสริมอีกว่า รายงานจากประเทศสรุปตรงกันว่า คนที่สูบบุหรี่เสี่ยงที่จะป่วยเป็นโควิดรุนแรง และเสียชีวิต โดยสหรัฐอเมริกา พบว่า

วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 5-7 เท่า และยังมีงานวิจัยพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าทำอันตรายต่อเซลล์บุทางเดินหายใจ ทำให้เม็ดเลือดขาวสู้กับเชื้อโรคได้น้อยลง ทำให้ขนเล็ก ๆ บนผิวเซลล์ที่โบกขจัดของเสียทำงานลดลง ภูมิต้านทานปอดลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดผิดปกติ โควิด-19 จึงจู่โจม และทำอันตรายจนปอดบวม

ติดบุหรี่ เสี่ยงติดโควิดสูง อินโฟกราฟิก


ติดบุหรี่ เสี่ยงสารพัดโรครุมเร้า!

นอกจากการสูบบุหรี่จะเสี่ยงติดโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไปแล้ว การติดบุหรี่ยังส่งผลต่อโรครุมเร้าสารพัด เช่น

1. มะเร็ง การสูบบุหรี่มีผลเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งได้มากถึง 12 อวัยวะ และทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% ไม่เพียงแต่มะเร็งปอด แต่ยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ มะเร็งหลอดอาหาร  อีกด้วย

2. ถุงลมโป่งพอง หากสูบบุหรี่จำนวนมากเป็นระยะเวลานาน ควันที่มีสารพิษจะไปทำลายผนังถุงลม ส่งผลให้เกิดภาวะถุงลมบวมอักเสบ และฉีกขาด ไม่สามารถฟอกเลือดได้ตามปกติ และทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ

3. โรคหัวใจ และหลอดเลือด จากการศึกษาพบว่าผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจประมาณ 20% มีความเชื่อมโยงกับการสูบบุหรี่โดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดหรือเป็นโรคเบาหวาน หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

4. โรคเบาหวาน จากงานวิจัยของ ศูนย์การแพทย์ทางทหารเบอร์มิ่งแฮม (Birmingham) รัฐอลาบามา พบว่าอาสาสมัคร 22% ของกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคเบาหวาน และ 17% ของกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย แต่ได้รับควันบุหรี่เสมอ ๆ เริ่มจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่เคยสูบบุหรี่ และเลิกสูบไปแล้วกลับมีแค่เพียง 14%

5. โรคภูมิแพ้ ควันบุหรี่เป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้อาการของโรคภูมิแพ้รุนแรงขึ้น ควันบุหรี่ทำให้ขนเล็ก ๆ ที่ผิวหลอดลมไม่ทำงาน เกิดการระคายเคืองกับผิวหลอดลม โดยปกติขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่โบกพัดฝุ่น และเสมหะออกจากหลอดลม เมื่อควันบุหรี่ทำให้ขนเล็ก ๆ ไม่ทำงาน ฝุ่น และเสมหะจะตกค้างในหลอดลม

6. ตั้งครรภ์ยากขึ้น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และสูบบุหรี่จะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าทารกปกติประมาณ 170 กรัม นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น


ติดบุหรี่ เสี่ยงติดโควิดสูง

อยากเลิกบุหรี่ ทำไงดี?

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า…

การเลิกบุหรี่มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับการติดนิโคติน และความตั้งใจที่จะเลิก ซึ่งวิธีการเลิกบุหรี่มีทั้งการรักษาด้วยบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ โดยให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลร่วมกับใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ เช่น หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นแปะนิโคติน ตลอดจนยารับประทาน

ส่วนผู้ที่ติดบุหรี่ยังไม่ถึงระดับการติดนิโคติน สามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

1. วางเป้าหมาย และเตรียมตัวให้พร้อมในการเลิกบุหรี่ โดยต้องกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทิ้งบุหรี่ และที่เขี่ยบุหรี่ให้พ้นสายตา

2. หายใจ ลึก ๆ ช้า ๆ ติดต่อกัน ต่อเนื่องประมาณ 5 นาทีทุกวัน

3. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว การดื่มน้ำจะทำให้รู้สึกสบาย และช่วยกำจัดนิโคตินออกจากร่างกาย

4. เลือกรับประทานอาหารที่ถูกโภชนาการครบทุกหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงแทน

5. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จให้รีบหางานอดิเรกทำ เพราะคนที่เคยสูบบุหรี่ จะติดนิสัยเคยชินในการสูบบุหรี่หลังจากการรับประทานอาหาร

6. อาบน้ำ หรือแช่น้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นใช้น้ำเย็นราดตามตัว จะทำให้ร่างกายสดชื่น และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกอยากสูบบุหรี่

7. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ หรือสถานที่เคยไป

วิธีเลิกบุหรี่ตามแบบฉบับ สสส.

คู่มือ เลิกบุหรี่ “ชีวิตปลอดบุหรี่ การเตรียมตัวและชีวิตใหม่” ของสสส. กล่าวว่า การเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ต้องรู้จักวิธีการจัดการกับนิสัย หรืออารมณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นการสูบ

อาการของผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่ จะรู้สึกอยากบุหรี่อย่างรุนแรง หงุดหงิด โกรธง่าย เครียด เศร้าหดหู่ ปวดมึนศรีษะ นอนไม่หลับ หิวบ่อย รับประทานอาหารจุขึ้น ท้องผูก เป็นต้น

ซึ่งการเผชิญหน้าจัดการกับอาการดังกล่าวที่เกิดขึ้น สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

1. อาการหงุดหงิดเมื่ออยากบุหรี่ เมื่อมีอาการแบบนี้ควรเบี่ยงเบนความอยาก ด้วยการหากิจกรรมอย่างอื่นทำ อย่าให้มือว่าง และหายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ อย่างน้อย 3 ครั้ง ให้สมองได้รับออกซิเจน จะรู้สึกผ่อนคลาย แนะนำว่าให้ดื่มน้ำ โดยน้ำอมไว้ในปากสักครู่ แล้วจึงกลืน ดื่มอย่างช้า ๆ

อีกวิธีหนึ่งก็คือ หามะนาวที่มีเปลือกสีเขียวหั่นชิ้นเล็ก ๆ ให้มีเปลือกติดมาด้วย ขนาดเท่าเมี่ยงคำ แล้วอมทั้งเปลือก ค่อย ๆ ดูดความเปรี้ยวอย่างช้า ๆ นาน 3-5 นาที จากนั้นเคี้ยวทั้งเปลือก จะทำให้ลิ้นขม เฝื่อน จะช่วยลดความอยากลงได้ โดยสามารถใช้ผลไม้ชนิดอื่นแทนได้ เช่น ส้ม มะนาว มะยม มะดัน มะม่วง เป็นต้น ซึ่งมีความเปรี้ยวมาก ๆ สามารถอมได้ทุกครั้งที่มีอาการอยากบุหรี่

2. รู้สึกโกรธ ขุ่นเคืองง่าย การเลิกบุหรี่จำเป็นต้องใช้ความพยามเป็นมาก ต้องใช้ความอดทนกับอารมณ์ของตัวเรา ด้วยการเตือนตัวเอง ตั้งใจมั่น เลิกให้ได้ บอกคนข้างเคียงให้ทราบว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นผลของพยายามเลิกบุหรี่ ตั้งใจทำสิ่งดี ๆ ต่อตนเองและครอบครัว ขอให้เขาเป็นกำลังใจและเข้าใจด้วย ลองพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ เพื่อระบายความหงุดหงิดไปบ้าง

3. อาการเครียด หากรู้สึกตัวว่ามีอาการเครียดให้หยุดพักสมองชั่วครู่ นวดคอ ศีรษะ หรือเปลี่ยนอิริยาบถ หายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ หรือทำสมาธิ พูดคุยกับคนรอบข้าง โทรศัพท์หาเพื่อน หากำลังใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์

เช่น เดินเล่น ทำงานบ้าน งานอดิเรก ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เป็นต้น และย้ำเตือนตัวเองเสมอว่า ความเครียดเป็นธรรมดาของคนที่พยายามเลิกบุหรี่ คนที่ไม่สูบไม่บุหรี่ก็มีความเครียดเช่นกัน บอกตัวเองว่าต้องไม่ยอมแพ้ อีกไม่นานอาการจะดีขึ้น

4. รู้สึกเศร้า หดหู่ เมื่อตัวเองรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ ให้คิดถึงความสุขที่เกิดขึ้นในอนาคตเมื่อเราเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ หรือออกไปสูดอากาศบริสุทธ์ หากิจกรรมทำเพื่อกระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวา เช่น ออกกำลังกาย ร้องเพลง หรือพักผ่อนด้วยการนอนหลับ

5. หิวบ่อย รับประทานมากขึ้น เมื่อพยายามเลิกบุหรี่ อาจมีความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น แต่หากเรารับประทานอหารมากเกินไปก็อาจทำให้อ้วนได้ แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ดื่มน้ำผลไม้ไม่หวาน หรือดื่มเครื่องดื่มพลังงานน้อย ควรรับประทานผัก และผลไม้ให้มาก เมื่อรับประทานเสร็จลุกออกจากโต๊ะทันที

6. อาการปวดหัว มึนศรีษะ เมื่อมีอาการแบบนี้ให้อาบน้ำ ล้างหน้า หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า หรือดมยาดม ยาสมุนไพร และนอนพัก แนะนำให้ลองหันมาออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินเล่น ยกน้ำหนัก แกว่งแขน ในที่ทีมีอากาศบริสุทธิ์

7. อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เมื่อมีอาการดังนี้แนะนำให้จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้สงบ แสงสว่างไม่มาก ก่อนนอนให้ลองอาบน้ำอุ่น และดื่มน้ำ หรือนมอุ่น ๆ งดการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือสารกระตุ้นทุกชนิดหลังเที่ยงวัน เข้านอนทันทีเมื่อรู้สึกง่วง ถ้านอนไม่หลับให้ลุกไปทำกิจกรรมอื่นที่สบายใจ เมื่อง่วงจึงกลับมานอนใหม่

8. อาการท้องผูก การเลิกบุหรี่อาจะทำเกิดอาการท้องผูกด้วย แนะนำให้ดื่มน้ำ 1 แก้ว หรือ 2 แก้วทันที่ตื่นนอน และเข้าห้องน้ำเวลาเดิมให้สม่ำเสมอ อีกทั้งควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผลไม้ ผักสด ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น

อยากเลิกบุหรี่ : โทร 1600
หรือปรึกษาออนไลน์ เพียงแอดไลน์ (LINE) : quitline1600


อ้างอิง :
1. hfocus 2. thaipbs 3. thailandquitline 4. thaihealth 5. mw-wellness 6. healthchoicebysamitivej 7. chulacancer

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save