เคยรู้สึกแสบร้อนกลางอก จุกแน่นที่ลิ้นปี่ หรือหายใจไม่สะดวกกันไหม อาการเหล่านี้อาจดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นสัญญาณของ กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ หรือแม้แต่ปัญหาหัวใจ ถ้าเป็นบ่อยหรือรุนแรงขึ้น อย่าปล่อยผ่าน! มาเช็กกันว่าอันตรายแค่ไหน และต้องรับมืออย่างไรให้ถูกต้อง
แสบร้อนกลางอก จุกลิ้นปี่ เกิดจากอะไร
อาการ แสบร้อนกลางอกและจุกลิ้นปี่ มักเกิดจาก กรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน และแน่นบริเวณกลางอก นอกจากนี้ อาจเกิดจาก อาหารไม่ย่อย หรือปัญหาหัวใจ ได้เช่นกัน
อาการของโรคกรดไหลย้อน มีกี่ประเภท
โรคกรดไหลย้อนสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ประเภทหลัก ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบ
1. อาการของหลอดอาหาร
แสบร้อนกลางอก (Heartburn) และรู้สึกเปรี้ยวในคอ กลืนลำบาก เจ็บคอ หรือมีอาการไอเรื้องรังจากการระคายเคืองของกรด
-
- แสบร้อนกลางอก (Heartburn): อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่
- เรอเปรี้ยว: รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในคอ มักเกิดหลังอาหารหรือเวลานอน
- แน่นหน้าอก จุกเสียด: อาการคล้ายอาหารไม่ย่อย
- กลืนลำบากหรือเจ็บเวลากลืน: บางครั้งรู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ
2. อาการนอกหลอดอาหาร
เสียงแหบ ไอแห้ง หรือมีเสมหะในลำคอโดยไม่ทราบสาเหตุ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก คล้ายโรคหืด โดยเฉพาะตอนกลางคืน
-
- ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เสียงแหบ เจ็บคอเรื้องรัง
- กลืนอาหารลำบากหรือรู้สึกติดในลำคอ
- หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบหืดกำเริบ
- รู้สึกเหมือนมีก้อนในลำคอ (Globus sensation)
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
อาการกรดไหลย้อนมักถูกกระตุ้นจาก พฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
- กินอาหารรสจัด อาหารมัน ของทอด หรือช็อกโกแลต ซึ่งกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น
- ดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และน้ำอัดลม ที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง
- กินอาหารมื้อใหญ่ หรือกินแล้วนอนทันที ทำให้แรงดันในกระเพาะเพิ่มขึ้น
- ความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ
อาการกรดไหลย้อนแบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์
หากมีอาการกรดไหลย้อนเล็กน้อย อาจบรรเทาได้ด้วยการปรับพฤติกรรม แต่หากอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
วิธีป้องกันอาการแสบร้อนกลางอก
การป้องกัน อาการแสบร้อนกลางอก สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต เพื่อลดโอกาสที่กรดในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนขึ้นมาระคายเคืองหลอดอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้น: ลดการกินอาหารรสจัด ของทอด อาหารมัน ช็อกโกแลต คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจกระตุ้นให้กรดไหลย้อนขึ้นมา
- แบ่งมื้ออาหารให้เล็กลง: หลีกเลี่ยงการกินมื้อใหญ่ และรับประทานอาหารช้า ๆ เพื่อช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น
- ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร: ควรเว้นระยะ 3-4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน เพื่อลดความเสี่ยงของกรดไหลย้อน
- ควบคุมน้ำหนักตัว: น้ำหนักเกินอาจเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้ง่าย
- นอนในท่าที่เหมาะสม: ยกศีรษะสูงประมาณ 6-8 นิ้ว เพื่อลดโอกาสที่กรดในกระเพาะจะไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร
- เลิกสูบบุหรี่และลดแอลกอฮอล์: บุหรี่ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง ส่วนแอลกอฮอล์กระตุ้นให้หลั่งกรดมากขึ้น
- ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ: ความเครียดอาจกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก
หากปรับพฤติกรรมแล้วยังมีอาการบ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาทางรักษาที่เหมาะสม
แสบร้อนกลางอก ทำอย่างไรดี
หากมีอาการ แสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน สามารถใช้ เมอร์จีล เจล (Mirgeal Gel) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ลดอาการกรดไหลย้อน ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และอาการอื่น ๆ โดยมีความปลอดภัย แต่ควรระวังในผู้ที่มีอาการแพ้ชะเอมเทศ หรือผู้ที่ทานยาบางชนิด เช่น ยาลดกรด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ!
อาการแสบร้อนกลางอก มักเกิดจาก กรดไหลย้อน หรือการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถกระตุ้นได้จาก อาหารรสจัด ของทอด คาเฟอีน หรือพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม วิธีดูแลและป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และใช้ยาลดกรดหรือเจลเคลือบ หากอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะส