พูดถึงคำว่า “แท้ง” คงเป็นฝันร้ายของว่าที่คุณแม่ทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ เพราะนั่นหมายถึงว่าโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียลูกน้อยไป สำหรับภาวะแท้งนั้นมีหลายรูปแบบ เราจะพาไปทำความกับรู้จักภาวะแท้งที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในแม่ตั้งครรภ์ นั่นคือ “ภาวะแท้งคุกคาม”
ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) คือ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย โดยจะมีเลือดออกจากมดลูก โดยที่ปากมดลูกยังปิด ในช่วงอายุครรภ์ก่อน 20 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการเตือนเริ่มต้นว่าอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้ โดยในแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามถึง 25 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยเสี่ยง และสาเหตุของภาวะแท้งคุกคาม
อายุมาก แม่ตั้งครรภ์ที่อายุมาก คือ 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิดภาวะคุกคามได้สูง
มีประวัติเคยแท้งเองมาก่อน ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแท้งมาหนึ่งครั้งพบว่าจะเกิด
ความเสี่ยงในการแท้งครั้งต่อไป ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และจะเพิ่มเป็น 28 และ 43
เปอร์เซ็นต์ ถ้าเคยมีประวัติแท้งมาสองและสามครั้งตามลำดับ
สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ใช้สารเสพติด เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะแท้งคุกคามได้เช่นกัน และยังเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดด้วย
การใช้ยาบางชนิด การใช้ยาในกลุ่ม NSAID ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสาร prostaglandin จะทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานของสาร prostaglandin ที่หลั่งออกมาในช่วงที่ตัวอ่อนมีการฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการฝังตัวและเกิดการแท้งตามมาได้
ความพิการของทารกแต่กำเนิด อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อนเองหรือเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ได้รับสารเทอราโทเจน จากยา หรือสารเคมี หรือ การติดเชื้อจากแม่ขณะตั้งครรภ์
ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ พบได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนตัวอ่อนที่แท้งทั้งหมด
ท้องลม เป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนถึงครบกำหนดคลอด หรือเป็นการแท้งลูกแบบหนึ่ง ซึ่งมักเกิดในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ จะพบการตั้งครรภ์เกิดในโพรงมดลูกแต่ไม่มีตัวทารกในถุงการตั้งครรภ์
ความผิดปกติของมดลูก เช่น แม่มีมดลูกผิดปกติแต่กำเนิด คุณแม่มีเนื้องอกหรือพังผืดในมดลูก จึงทำให้การฝังตัวของรกไม่เป็นปกติ
ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีผลต่อการฝังตัว การขาดฮอร์โมน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาพอที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้ จึงทำให้เกิดการแท้งคุกคามได้
อาการของ ภาวะแท้งคุกคาม
มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ต้องรีบไปพบแพทย์
เลือดที่ไหลออกมาเป็นสีแดงสด อาจเกิดจากรกที่ลอกก่อนกำหนด ซึ่งทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามได้
ส่วนมากไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย หรือหากมีอาการเจ็บ อาจเป็นอาการเจ็บท้องเล็กน้อยบริเวณเหนือหัวหน่าว
การดูแลรักษาเมื่อเจอภาวะแท้งคุกคาม
- นอนพัก การรักษาการแท้งคุกคาม ส่วนใหญ่คุณหมอจะให้นอนพัก นิ่ง ๆ
- ห้ามเครียด พักผ่อนและทำใจให้สบาย เพราะหากยิ่งเครียดอาจส่งผลให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น
- อย่าเคลื่อนไหว เกร็งหน้าท้อง งดการมีเพศสัมพันธ์ การยกของหนัก การออกกำลังกาย
- เสริมวิตามินสำหรับคนท้อง เช่น ไอโอดีน เหล็ก และกรดโฟลิก
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด บุหรี่ หรืออาหารเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
หากแม่ท้องรู้ตัวว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้งคุกคาม ควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ไปฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ รวมทั้งไปหาหมอตามเวลานัด คอยสังเกตอาการของร่างกาย อย่านิ่งนอนใจ หากมีเลือดออก หรืออาการผิดปกติ ควรรีบไปหาคุณหมอทันที
“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี