ป่วยเป็นหวัดหลังเล่นน้ำสงกรานต์ อยากหายหวัดไวไว ควรทำไงดี?

1 ก.ค. 24

อยากหายหวัดไวไว

สงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ไทย ที่คนไทยพร้อมใจกันออกมาเล่นน้ำกันในช่วงอากาศร้อนจัด แต่หลังจากผ่านช่วงเวลาความสุขไปไม่ทันไร อาจจะเจอกับอาการป่วยเป็นหวัดเล่นงานได้ เช่น น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ และอาจเป็นไข้อีกด้วย! ฉะนั้นใครที่ป่วยอยู่ อยากหายหวัดไวไว ต้องอ่านเคล็ดลับเหล่านี้ มาติดตามกันเลย!

ป่วยเป็นหวัดหลังเล่นน้ำสงกรานต์ อยากหายหวัดไวไว ควรทำไงดี?

1. กินยาลดไข้ บรรเทาหวัด

โดยทั่วไปยาที่ใช้เมื่อเป็นหวัดจะเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาตามอาการ เนื่องจากไม่มีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสโดยตรง แพทย์จึงแนะนำให้รับประทานยาลดไข้ บรรเทาหวัด เช่น ยาพาราเซตามอล  หรือใครที่มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย สามารถเลือกกินยาแก้หวัดสูตรผสม ที่มียาพาราเซตามอลที่ช่วยบรรเทาหวัด ลดไข้ และ คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต ช่วยบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ ในเม็ดเดียว ยกตัวอย่างยี่ห้อยาแก้หวัดสูตรผสม เช่น ดีคอลเจน (Decolgen)

วิธีกินยาแก้หวัดพาราเซตามอล อย่างถูกต้อง

  • ควรกินห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวด หรือมีไข้
  • เด็ก : 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ไม่ควรกินเกิน 5 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ : 500 มิลลิกรัม ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน (8เม็ด / วัน)
  • ไม่กินยาร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาเฉพาะเวลามีอาการ

อ่านเพิ่มเติม -> ยาแก้หวัดสูตรผสม พาราเซตามอล+คลอร์เฟนิรามีน มีสรรพคุณ วิธีใช้อย่างไร?

อยากหายหวัดไวไว

2. นอนพักผ่อนให้มาก ๆ

ข้อนี้เรียกว่าสำคัญมาก ควรนอนในห้องที่มีอุณหภูมิไม่สูง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและอากาศบริสุทธิ์ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กลับมาแข็งแรง ลดกิจกรรมในการใช้พลังงานลง เป็นการลดการใช้ออกซิเจน การเผาผลาญอาหารของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเย็นลง ถ้าจะเปิดพัดลม ให้เปิดทางปลายเท้าห่างจากผู้มีไข้ และให้ส่ายไปมา

3. ดื่มน้ำมาก ๆ

นพ.พจน์ อินทลาภาพร หัวหน้างานโรคติดเชื้อกลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี แนะนำให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องธรรมดา เวลาร่างกายมีไข้ อุณหภูมิสูงขึ้นก็จะทำให้ร่างกายขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อน มีน้ำระเหยออกมา ร่างกายก็จะสูญเสียน้ำอยู่แล้ว การดื่มน้ำก็เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง ทดแทนน้ำในร่างกายที่ระเหยออกไปเป็นเหงื่อ ร่างกายก็คล้ายเครื่องจักร หากขาดน้ำจะยิ่งทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำร้อนหรือน้ำที่เย็นจัด

3. เช็ดตัว ลดไข้

นพ.พจน์ อินทลาภาพร กล่าวว่า การเช็ดตัวเป็นวิธีการลดไข้ที่ดีอย่างหนึ่ง ให้เช็ดตัวโดยใช้น้ำประปาอุณหภูมิปกติ ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น หรือน้ำเย็น โดยเช็ดบริเวณที่อุณหภูมิสูง เช่น ศีรษะ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ประคบไว้สักระยะจะช่วยลดไข้ได้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ใช้น้ำอุณหภูมิปกติแล้วยังมีไข้สูง สามารถใช้เจลแช่ตู้เย็นลดไข้ได้ โดยพันเจลไว้ด้วยผ้าขนหนูบาง ๆ แล้วใช้ในบริเวณ รักแร้หรือขาหนีบ แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำแข็ง

4. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการทำความสะอาดโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ร้อยละ 0.9 ถึงร้อยละ 3 เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก หวัด หรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยเฉพาะกรณีที่มีมูก สิ่งคัดหลั่ง หรือคราบต่าง ๆ ที่ค้างในจมูก น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นสูงกว่า อาจลดอาการคัดจมูกได้ดีกว่า ทั้งนี้น้ำเกลือไม่สามารถฆ่าเชื้อเแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส รวมถึงเชื้อโควิด-19 ได้ แต่จะช่วยลดอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ และทำให้การติดเชื้อบางอย่างดีขึ้น

5. กินอาหารอ่อนปรุงสุกใหม่

หากเด็กป่วยเป็นหวัด หรือผู้สูงวัย แนะนำให้กินอาหารอ่อนปรุงสุกใหม่จะได้สบายท้อง ทั้งนี้ในบางครั้งเวลาเด็กเป็นหวัดอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวร่วมด้วย การกินอาหารอ่อนที่ปรุงสุกใหม่ช่วยดูแลร่างกายได้

อ่านเพิ่มเติม -> 8 อาหารควรกินเมื่อป่วยเป็นไข้หวัด ช่วยฟื้นร่างกายให้ดีขึ้นเร็ววัน!

6. เลี่ยงอาหารกระตุ้นการไอ รวมถึงงดกิจกรรมชวนไอ

ในช่วงที่ยังเป็นไข้หวัด และมีอาการไอร่วมด้วย (หรืออาจไม่มีก็ตาม) ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ อาหารกรอบแห้งแข็ง และอาหารหรือเครื่องดื่มเย็น เพราะกระตุ้นการไอในเด็กให้ไอมากขึ้นได้ และไม่พูดตะโกน เสียงดัง ออกกำลังกาย เป็นต้น แนะนำให้งดจนกว่าจะหายดี

จำไว้เลย! ยาปฏิชีวนะไม่ช่วยให้ไข้หาย

เมื่อเป็นหวัดจากไวรัส จำไว้เลยว่า ห้ามกินยาปฏิชีวนะ นอกจากจะไม่ช่วยให้ไข้หวัดหาย ยังก่อปัญหาจากฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยา เช่น อาเจียน ท้องเสีย และการดื้อยาอีกด้วย ยาปฏิชีวนะใช้เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม (เช่นหูหรือไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบจากแบคทีเรีย) ฉะนั้นก่อนกินยาปฏิชีวนะ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว หวัดที่ติดมาจากช่วงสงกรานต์ มักเกิดจากไวรัสมากกว่าแบคทีเรีย

อ่านเพิ่มเติม -> หวัดจากเชื้อ ไวรัส VS แบคทีเรีย แตกต่างกันยังไง? แบบไหนรุนแรงกว่ากัน!

อาการแทรกซ้อนที่ควรระวัง เมื่อมีไข้หวัด

อาการแทรกซ้อนของไข้ที่ต้องระวัง คือ การชักจากไข้สูง ซึ่งพบในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 6 ปี เด็กที่เคยชักเวลามีไข้สูง หรือมีประวัติชักในครอบครัวเมื่อไข้สูง ต้องระวังการมีไข้เป็นพิเศษ โดยรีบให้ยาลดไข้ และรีบเช็คตัว ขณะรอยาแก้ไข้ออกฤทธิ์ (กินเวลา 30-45 นาที) ต้องไม่รอจนไข้ขึ้นสูง

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์?

หากอาการไข้เกิดขึ้นติดต่อกันเกิน 3-4 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ไอมากขึ้น เหนื่อยหอบ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง

อ้างอิง : 1. หมอชาวบ้าน 2. hfocus 3. chulalongkornhospital 4. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save