ปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่เป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น ซึ่งโรคซึมเศร้าสามารถพบเจอได้ทุกช่วงวัยไม่จำกัด แต่ผู้สูงอายุอาจจะมีปัจจัยที่เป็นได้มากกว่า เช่น พอไม่ได้ทำงาน หรือมีเวลามากขึ้น ไม่ได้ออกไปทำกิจกรรม เข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูงเหมือนเดิม หรือลูก ๆ หลาน ๆ ไม่มีเวลาให้ก็จะเริ่มมีความเครียด วิตกกังวล สะสมจนส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งต้องระวังว่าภาวะโรคซึมเศร้าอาจจะมีโอกาสเสี่ยงให้เกิด โรคอื่น ๆตามมา ซึ่งอาจรุนแรงจนมีผลร้ายแรงต่อชีวิต และบทความต่อไปนี้จะแสดงถึงสาเหตุและ การรักษาโรคซึมเศร้า
สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคซึมเศร้า
- ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายในร่างกายเอง
- ความเครียด ปัจจัยภายนอกที่มากระทบไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ปัญหาจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ การทำงาน สะสมเป็นเวลานาน ๆ
- ทัศนคติ หรือบุคลิกภาพบางอย่าง ก็ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เช่น ขี้วิตกกังวล ขาดความมั่นใจ
- เหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต บางคนอาจเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ หรือญาติพี่น้องเสียชีวิตกระทันหัน ก็ทำให้เข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้
การดูแล-รักษาโรคซึมเศร้า ทำอย่างไรได้บ้าง?
ถ้าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับให้สารสื่อประสาทในสมองเข้าสู่ภาวะปกติ ภาวะของโรคซึมเศร้าก็จะหายไปได้ ทั้งนี้การใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตามดุลยพินิจของแพทย์ อาจจำเป็นต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หากมีการปรับพฤติกรรมรวมถึงรับประทานยาอย่างต่อเนื่องก็สามารถหายเป็นปกติได้
โรคซึมเศร้าที่เกิดจากภาวะความเครียด หรืออาการเจ็บป่วยทางสภาพจิตใจ จำเป็นต้องดูแลเยียวยาภาวะความเครียดนั้นควบคู่ไปกับการใช้ยาด้วย ทั้งนี้คนใกล้ชิด ครอบครัวเพื่อนฝูงก็เป็นส่วนสำคัญที่จะรับฟัง ช่วยเหลือ บางทีคนที่มีอาการเศร้า หรือมีความเครียดเรื่องต่าง ๆ อยู่อาจจะไม่ต้องการคำแนะนำ แต่แค่ต้องการคนรับฟัง หรือชวนทำกิจกรรม ใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน
ทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า —> คลิกที่นี่
เราต้องคอยสังเกต หากเห็นว่าคนใกล้ชิด มีแนวโน้มมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า ไม่ควรนิ่งเฉย หรือแค่ให้กำลังใจ แต่ควรพยายามชักจูงให้ผู้ป่วยเข้ารับการวินิจฉัย หรือรักษาโรคซึมเศร้า เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีอาการมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็มีกลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ ที่ไปรับฟังกลุ่มคนที่มีภาวะซึมเศร้า หรือมีสภาวะทางใจที่ไม่สู้ดีเพื่อลดโอกาสการฆ่าตัวตาย หรือการพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้ความเข้าใจเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราสามารถช่วยเหลือกลุ่มคนที่ประสบปัญหาให้สามารถผ่านสภาวะนี้ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขตามปกติ
เรียบเรียงจาก ภญ. วรินทร ศรีประโมทย์
บริษัท เกร๊ต อิสเทอร์น ดรั๊ก จำกัด
ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี