ไอไม่มีเสมหะ
ไอแห้ง ๆ แต่ไม่มีเสมหะ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อากาศ มลภาวะ ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง เป็นอาการไอที่ต้องปรึกษาคุณหมอว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ส่วนใหญ่จะได้รับยาที่กดอาการ หรือยับยั้งอาการไอ
การเลือกใช้ยาแก้ไอยับยั้งการไอ ถ้าไอไม่มีเสมหะ อาจจะต้องใช้ยาแก้ไอที่ช่วยออกฤทธิ์ยับยั้งการไอ เป็นยาที่ใช้ในกรณีที่ไอไม่มีเสมหะ ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ต้องปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง ตัวอย่าง เช่น ยา Dextromethophan ซึ่งหากใช้ผิด หรือใช้เกินขนาดอาจส่งผลข้างเคียงรุนแรงได้
ไอแบบมีเสมหะ
การไอแบบมีเสมหะ เป็นกลไกของร่างกายที่พยายามกำจัดของเสียหรือสิ่งแปลกปลอมที่สร้างความระคายเคือง ซึ่งก็คือเสมหะ ให้ออกไปจากหลอดลม เป็นอาการไอที่เจอกันได้บ่อย ๆ ภูมิแพ้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไอมีเสมหะ
การเลือกใช้ยาแก้ไอขับเสมหะ ยาขับเสมหะจะเป็นยาที่ไปทำให้กระเพาะระคายเคืองและหลั่งสารที่มีน้ำออกมา ทำให้เสมหะขับออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ใช้แรก ๆ จะทำให้มีเสมหะมากขึ้น แต่ก็มีอาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
การเลือกใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะ
ยาแก้ไอละลายเสมหะ เป็นยาที่อันตรายน้อยกว่า ยาแก้ไอขับเสมหะ โดยยาจะทำให้ความข้นหนืดของเสมหะลดลง เราจึงไอเอาเสมหะออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างของยาละลายเสมหะ คือ Carbocisteine อาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้น้อยมาก ซึ่งยาแก้ไอละลายเสมหะ มีทั้งของเด็ก และของผู้ใหญ่ และมีทั้งแบบเม็ด และแบบน้ำ ที่มีรส มีกลิ่นผลไม้ต่าง ๆ
http://www.gedgoodlife.com/our-products/solmax/
ถ้าไอแบบมีเสมหะ ไม่ควรเลือกยาที่ไปกดอาการไอ แต่ควรเลือกยาที่ช่วhttp://www.gedgoodlife.com/our-products/solmax/ยละลายและขับเสมหะออกมาให้หมด เพราะถ้าเสมหะไม่ถูกขับออกมาจะยิ่งสะสมมากขึ้นในหลอดลม อาจทำให้เกิดหลอดลมอุดตันและเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงได้
การป้องกัน และดูแลตัวเองเมื่อมีอาการไอ
- เมื่อมีอาการไอ แต่ไม่มีอาการเจ็บป่วย อาจรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นด้วยการปรึกษาเภสัชกรเพื่อใช้ยาแก้ไอ ละลายเสมหะเพื่อรักษาอาการไอ
- ไม่นอนทันทีหลังมื้ออาหาร และนอนยกศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย ป้องกันอาการกรดไหลย้อน
- งดอาหารมัน ๆ ทอด ๆ
- ดื่มน้ำอุ่น เยอะ ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
อาการไอบางชนิดถึงแม้จะรักษาได้ด้วย ยาแก้ไอ แต่ต้องระวังว่า หากใช้เวลารักษานานกว่า 2 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะมีเลือดปน มีอาการไข้ อาการไอเจ็บแน่นหน้าอก ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อวินิจฉัย และรักษาต่อไป
ขอขอบคุณบทความดีดี โดย http://www.babymemom.com
http://www.babymemom.com/lifestyle/knowledge/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AD-%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B0/
“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี