ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณเตือนโรคอะไรหรือเปล่า?

28 มิ.ย. 24

 

เคยไหม ปัสสาวะออกมาแล้วมีกลิ่นเหม็น / เหม็นกลิ่นฉี่ตัวเอง จนไม่อยากจะหายใจขณะปัสสาวะเลย! และเป็นปัญหาที่ใครหลายคนสงสัยว่าทำไม ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น เกิดจากอะไร บ่งบอกโรคอะไรหรือเปล่า? มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กับ Ged Good Life กันได้เลย

สีของปัสสาวะ สามารถบอกโรคเราได้ด้วยนะ!
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นเรื่องปกติ หรือเป็นโรคกันแน่?
• โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คืออะไร จะรู้ได้ยังไงว่าติดเชื้อ?

decolgen ดีคอลเจน

ปัสสาวะ มาจากไหน?

ปัสสาวะ หรือ ฉี่ เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือด และขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้าง และสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือด

ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น บอกอะไรเราบ้าง ?

ปัสสาวะของคนเรา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ล้วนมีกลิ่นคาว เพราะมีกรดยูเรียอยู่ภายในปัสสาวะ และถ้าตั้งทิ้งไว้ค้างคืน จะมีกลิ่นแอมโมเนีย ส่วนอาหาร และยาทำให้กลิ่นปัสสาวะเปลี่ยนแปลงได้ เช่น สะตอ สตือ ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน

ทั้งนี้อาการปัสสาวะมีกลิ่น สามารถเกิดขึ้นได้จากการเป็นโรค และไม่ใช่โรค ดังนี้

1. กลิ่นปัสสาวะที่ไม่ได้เกิดจากโรค

– กลิ่นจากอาหารที่กิน เช่น อาหารประเภทหัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง เครื่องเทศ

– กลิ่นจากจากยาบางชนิด เช่น วิตามินต่าง ๆ

– ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำน้อย

เบื้องต้นแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ 8-10 แก้ว / วัน อย่าทานอาหารที่มีกลิ่นแรง และลองหยุดยา หรือวิตามินต่าง ๆ ที่กินอยู่สัก 1 วัน แล้วลองดมกลิ่นปัสสาวะ / กลิ่นฉี่ ตัวเองดูอีกครั้ง ถ้ายังมีกลิ่นเหม็นอยู่ อาจเกิดจากโรคต่าง ๆ ดังด้านล่างนี้ได้

2. ปัสสาวะมีกลิ่นที่อาจเกิดจากโรค

– ปัสสาวะมีกลิ่นผลไม้ เกิดจากคีโตนบอดีส์ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

– ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น พบได้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอสเชอริเชียโคไล หรืออีโคไล E และภาวะพร่องเอนไชม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน หรือโรคฟินิลคีโตนูเรีย เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะมีกลิ่นแตกต่างจากภาวะปกติ

– กลิ่นเหม็นอับเกิดจากโรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง กลิ่นเหม็นเน่า เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ

– กลิ่นอุจจาระ เกิดจากมีรูทะลุระหว่างสำไส้ใหญ่ และทางเดินปัสสาวะกลิ่นเหมือนน้ำตาลไหม้ เกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเผาผลาญโปรตีน / กรดอะมิโน บางชนิดเรียกว่า โรคปัสสาวะน้ำเชื่อมเมเพิล ซึ่งพบได้น้อยมาก

– กลิ่นที่ผิดปกติอื่น ๆ เช่น กลิ่นคล้ายเบียร์ กลิ่นเหงื่อจากเท้า กลิ่นกะหล่ำปลี กลิ่นปลากลิ่นซัลเฟอร์

 

นพ. นิวัตน์ ลักษณาวงศ์ รพ. เจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพฯ กล่าวว่า หากปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นฉุนรุนแรง หรือกลิ่นลักษณะผิดปกติไป อาจบ่งบอกถึงภาวะหรือ โรคบางอย่างได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ แบ่งได้ 2 ประการหลัก ๆ คือ

1. สาเหตุที่พบได้บ่อยแต่ไม่อันตราย

  • เครื่องดื่ม หรืออาหารบางชนิด เมื่อรับประทานเข้าไปจะส่งผลต่อกลิ่นของปัสสาวะได้ เช่น กาแฟ หน่อไม้ฝรั่ง ยา หรือวิตามินบางชนิด
  • ดื่มน้ำน้อย ก็จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้นขึ้น (ปริมาณน้ำลดลงแต่ของเสียมากขึ้น) จึงมีกลิ่นฉุนขึ้น

ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดย ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 2 ลิตรต่อวัน และลองสังเกตตัวเองว่าถ้าไม่ทานอาหาร หรือเครื่องดื่มเหล่านี้แล้ว กลิ่นดีขึ้นหรือไม่

2. สาเหตุที่ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • เบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสูง
  • โรคตับ
  • กระเพาะปัสสาวะมีรูรั่วต่อกับลำไส้หรือช่องคลอด
  • โรคพันธุกรรมบางชนิด ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยกรดอะมิโนบางชนิด และเกิดการสะสมของสารดังกล่าวในน้ำปัสสาวะจำนวนมาก จนเกิดกลิ่นผิดปกติ โดยกลิ่นจะมีลักษณะอับ หรือ กลิ่นเหมือนน้ำเชื่อม

ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ ปัสสาวะของคนไข้มีกลิ่นฉุนที่รุนแรงผิดปกติ หรือ ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนร่วมกับมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีไข้ ปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะกลิ่นหวาน (เบาหวาน) คลื่นไส้ อาเจียน อาการสับสน ตัวเหลือง-ตาเหลือง (โรคตับ) ฯลฯ ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษา

ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น

ข้อแนะนำในการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

กรมวิทยาศาสตร์บริการ แนะนำถึงการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อการวินิฉัยโรค ว่า

1. กรณีต้องตรวจสอบสีของปัสสาวะ ควรจะต้องงดอาหาร และยาที่ทำให้เกิดสีเป็นเวลา 1-2 วัน

2. ควรเก็บปัสสาวะเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ก่อนรับประทานอาหาร หรือน้ำ

3. ควรทำความสะอาดบริเวณช่องขับถ่าย กรณีที่ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดสำหรับผู้หญิงให้เช็ดจากด้านหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากช่องคลอดหรือทวารหนัก

4. ควรเก็บปัสสาวะระยะกลาง ๆ ของการขับถ่าย และส่งตรวจทันทีภายใน 3 ชั่วโมง

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ท่านสามารถใช้ประกอบการสังเกตความผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ หากพบความผิดปกติก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ และรักษาต่อไป

โรคสังเกตได้จากการขับถ่ายปัสสาวะ

สสส. ให้ข้อมูลถึงการปัสสาวะในแต่ละวันว่าบอกโรคได้ ดังนี้

1. โดยปกติคนทั่วไปจะมีการขับถ่ายปัสสาวะวันละ 3 ถึง 5 ครั้ง

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายปัสสาวะควรเป็นเวลากลางวัน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าถึงก่อนเข้านอน ส่วนเวลากลางคืนหลังเข้านอนแล้ว ไม่ควรขับถ่ายปัสสาวะอีกไปจนกว่าจะถึงเช้า ยกเว้นเด็กเล็ก หรือดื่มน้ำมากเกินไป คิดมาก นอนไม่หลับ อาจทำให้มีการขับถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืนได้

2. การขับถ่ายปัสสาวะบ่อย ๆ อาจเป็นเพราะมีความวิตกกังวล

ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้อยากขับถ่ายปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นโรคไต หรือโรคทางเดินปัสสาวะก็ได้ ถ้าปัสสาวะกะปริบกะปรอยบ่อยเป็นประจำ อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง

3. ปกติเด็กอายุ 1 ถึง 6 ขวบ จะขับถ่ายปัสสาวะในวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามส่วนของหนึ่งลิตร

(ประมาณ 1 แก้วครึ่ง) และไม่ควรมากกว่าหนึ่งลิตร เด็กอายุ 6 ถึง 12 ขวบ ควรขับถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่าครึ่งลิตร และไม่ควรเกินสองลิตร ส่วนวัยผู้ใหญ่ควรขับถ่ายปัสสาวะวันละเกือบถึงหนึ่งลิตร และไม่ควรเกินสองลิตร

4. การขับถ่ายปัสสาวะน้อยไปส่วนใหญ่เกิดจาการดื่มน้ำปริมาณน้อย

ซึ่งเกิดจากการเสียน้ำภายในร่างกายจากทางอื่น เช่น เหงื่อออกมาก ท้องเดินท้องร่วง อาเจียนมาก เป็นต้น ส่วนน้อยที่จะเกิดจากโรคไต โรคหัวใจ และอื่น ๆ ถ้ามีการขับถ่ายปัสสาวะมากไปส่วนใหญ่มักเกิดจากาการดื่มน้ำปริมาณมาก หรือพบในโรคเบาหวาน เบาจืด โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไตพิการเรื้อรังบางระยะ การกินยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

5. บางครั้งพบว่าไม่มีการขับปัสสาวะออกมาเลย

ทั้งวันขับถ่ายปัสสาวะได้น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วนของลิตร (น้อยกว่า 1 ถ้วยแก้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ, โรคเป็นพิษเนื่องจากปรอท, โรคไตอักเสบอย่างรุนแรง, ภาวะช็อค (เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ) เป็นต้น

สำหรับอาการผิดปกติในการขับปัสสาวะ เช่น ปวดท้องน้อยในขณะถ่ายปัสสาวะ แสบที่ช่องถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแล้วรู้สึกไม่สุดอยากจะถ่ายอีกทั้ง ๆ ที่ไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขัด อาจมีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

อ้างอิง : 1. wikipedia 2. thailandonlinehospital   3. tuanet   4. dss  5. สสส.


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save