อาการไอขั้นไหน อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรง?

27 มิ.ย. 24

ไอร้ายแรง

 

อาการไอ แม้ว่าจะทำให้เกิดความทรมาน และรำคาญใจ แต่ก็เป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสิ่งผิดปกติ หรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ การไอมีหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีสาเหตุแตกต่างกัน แต่อาการไอแบบไหนล่ะที่เสี่ยงเป็นโรคร้ายแรง มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

ไอ แบบไหนบอกสัญญาณอันตราย!

โดยทั่วไปแล้ว ถ้าอาการไอที่ไม่รุนแรงจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายไปเอง แต่ถ้าพบว่ามีอาการไอเรื้อรังไม่หายสักที มีเลือดปน ร่วมกับมีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่ ต้องระวังเป็นโรคร้ายแรง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ในทางการแพทย์นั้น ไอเรื้อรัง คือการไอติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์ และหากพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจไม่ใช่โรคทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีไข้ร่วมด้วย ควรเข้ารับการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างวัณโรคปอด กับมะเร็งปอด

ไอ หมายถึงโรคอะไรได้อีกบ้าง?

อาการไอสามารถนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้หลายโรค ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดา ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ การติดเชื้อในหลอดลม วัณโรค ถุงลมโป่งพอง หอบหืด ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส ไปจนถึงโรคมะเร็งปอด เพราะฉะนั้นการไอไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ยิ่งไอเรื้อรังยิ่งต้องให้ความสำคัญมาก ควรสังเกตอาการไอให้ดี และรีบปรึกษาแพทย์หากรู้สึกผิดปกติ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้าย

อ่านบทความเพิ่มเติม : ไอเรื้อรังอาจเกิดจากยาลดความดัน ได้นะ!

โรคที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดการไอเรื้อรัง แต่ผลเอ็กซเรย์ปอดเป็นปกติ ได้แก่

โรคหอบหืด

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอาการไอ เหนื่อยง่าย และหายใจมีเสียงวี๊ด แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคหอบหืดชนิดไม่รุนแรง และอาจไม่เคยมีอาการหืดจับ หรือเหนื่อยง่ายเลย มีเพียงอาการ ไอเรื้อรัง และจะพบว่าหลอดลมมีความไวต่อสิ่งเร้าเมื่อตรวจปอดเท่านั้น

โรคแพ้อากาศ และจมูกอักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยพวกนี้จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และมีน้ำมูกไหลลงในคอเวลานอน ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจมีไซนัสอักเสบร่วมด้วย โดยที่สาเหตุของโรคเป็นภูมิแพ้เช่นกัน อาจพบโรคหอบหืดในผู้ป่วยโรคแพ้อากาศได้

กรดไหลย้อน

ผู้ป่วยกรดไหลย้อน ก็สามารถมีอาการไอเรื้อรังได้  อาการไอหลังกินอาหารเกิดจากอาหารทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น  จนกรดไหลลงไปในหลอดลมได้ ส่วนการที่มีเสมหะอยู่ในคอตลอด เกิดจากการที่กรดไหลขึ้นมา แล้วไปกระตุ้นเส้นประสาทในคอ อาจทำให้มีอาการคันคอ แสบคอ เจ็บคอ หรือระคายคอได้

โรคหลายชนิดที่เริ่มมาจากการไอเรื้อรังนั้น เป็นโรคที่ยิ่งทิ้งไว้นานจะยิ่งรักษาให้หายยาก หรือไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังจึงไม่ควรนิ่งนอนใจจนเกินไป และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริง อาการไอ


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save