รวม “โรคติดต่อ ยอดฮิตในออฟฟิศ” ป้องกันสักนิด ก่อนป่วยยกแก๊งค์

27 มิ.ย. 24

โรคติดต่อในออฟฟิศ

 

คนทำงานส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอยู่ที่ออฟฟิศของตัวเองมากกว่าที่อื่น ๆ และบางคนก็แทบจะกินนอนกันอยู่ในออฟฟิศเลยทีเดียว และเนื่องจากออฟฟิศจำนวนมากเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศมากนัก ทำให้เมื่อคนหนึ่งป่วย คนอื่น ๆ ก็จะป่วยตามกันไปด้วย จึงเกิด โรคติดต่อในออฟฟิศ ขึ้นมาได้ง่าย ๆ งั้นมาทำความรู้จักโรคเหล่านี้กันดีกว่าว่า มีโรคอะไรบ้าง เกิดจากอะไร และเราควรป้องกันตัวเองยังไง

รวม โรคติดต่อในออฟฟิศ รู้ทัน ป้องกันได้

• ไข้หวัด (Common cold) และ ไข้หวัดใหญ่ (influenza)

แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโรคติดต่อยอดฮิตตลอดกาลของทุกออฟฟิศ เพราะ ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี แถมยังติดต่อได้ง่าย เมื่อมีใครสักคนเป็นหวัดขึ้นมา เชื้อก็จะแพร่กระจายไปทั่วทั้งออฟฟิศได้อย่างรวดเร็ว

แถมเมื่อออกจากร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสไข้หวัดก็ยังอยู่ได้นานอีกหลายชั่วโมง ทำให้โอกาสในการติดหวังเพิ่มสูงขึ้นไปอีก หากร่างกายไม่แข็งแรงพอ หรือไม่ได้รักษาความอบอุ่นของร่างกายอยู่เสมอแล้ว ก็นับถอยหลังเตรียม เป็นหวัด เตรียม ยาแก้หวัด คัดจมูก ติดโต๊ะเอาไว้กันได้เลย

• ไข้เลือดออก (Dengue Fever)

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ การกำจัดยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอยู่เสมอ คือการป้องกันที่ดีที่สุด เพราะโรคไข้เลือดออกนั้น ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ และตรวจพบเชื้อได้เมื่ออาการเริ่มรุนแรงแล้ว

โรคติดต่อในออฟฟิศ

ขอขอบคุณภาพอินโฟกราฟฟิคจาก กรมควบคุมโรค

ซึ่งผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 39-40 องศา มีเลือดออกเป็นจุดตามตัว อาจทำให้เกิดภาวะช็อค และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

• โรคตาแดง (pink eye)

โรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส โดยผู้ที่ได้รับเชื้อ จะมีอาการเคืองตา ตาขาวมีสีแดงเรื่อๆ เพราะเลือดออกที่เยื่อบุตาขาว น้ำตาไหล เจ็บตา มักระบาดในหน้าฝน เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และมักระบาดในที่ๆ มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากอย่างออฟฟิศ

โรคติดต่อในออฟฟิศ

• โรคพิษสุนัขบ้า (rabies, hydrophobia)

โรคพิษสุนัขบ้า ฟังดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับ โรคติดต่อในออฟฟิศ เท่าไร แต่รอบ ๆ ออฟฟิศของคุณมีหมาจรแมวจรอยู่รึเปล่า? ถ้ามี ก็ถือว่ามีความเสี่ยงแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ชอบให้อาหารสัตว์เหล่านี้ด้วยความสงสาร

หากคุณถูกข่วน กัด หรือแม้แต่น้ำลายของพวกมันไปโดนแผลบนร่างกาย ให้รีบล้างแผลฟอกสบู่ให้สะอาด ใส่ยารักษาแผลสดเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสที่แผล และไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้เร็วที่สุด

เพราะโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก และผู้ที่ติดเชื้อสามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ควรหลีกเลี่ยงไม่คลุกคลีกับหมาจรแมวจรเพื่อป้องกันการโดนกัด และหากทำได้ ก็ควรพาพวกมันไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเอาไว้เพื่อความปลอดภัย

โรคติดต่อในออฟฟิศ

• วัณโรค (Tuberculosis)

การติดต่อของเชื้อวัณโรค มักจะติดเชื้อผ่านทางการหายใจ สูดเอาเชื้อในฝอยละอองเสมหะขนาดเล็ก ที่ผู้ป่วยปล่อยออกมา จากการไอ จาม พูด หัวเราะ ร้องเพลง หรือหายใจ เชื้อจะเข้าไปภายในปอด และต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ได้ทั่วร่างกาย

แต่พบที่ปอดได้บ่อยที่สุด และมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเชื้อจะสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ โดยการ ไอ และเชื้อจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง

โรคติดต่อในออฟฟิศ

• อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)

อาหารเป็นพิษ สามารถเป็นโรคติดต่อได้ มักเกิดจากการรับประทานอาหารร่วมกัน โดยอาการของโรคนี้ คือ อาการท้องเสีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียร โดยมีสาเหตุมาจากอาหาร หรือ น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค และสารพิษ เป็นต้น

เลี่ยงการแพร่เชื้อต่าง ๆ สู่เพื่อนร่วมงานอย่างไร?

  1. ปิดปากตัวเองเวลาไอ หรือจาม ด้วยข้อศอก (ไม่ควรใช้มือปิดปาก หรือถ้าใช้มือไปแล้วก็ควรล้างมือ เช็ดมือให้สะอาด) หรือใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในออฟฟิศ
  2. ลดการพูดคุยกับผู้อื่นในระยะใกล้ รวมถึงงดการจับมือทักทายกับผู้อื่น
  3. ไม่ใช้ช้อน-ส้อม หรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่น ๆ ในออฟฟิศ
  4. พกกระดาษทิชชูเปียกที่มีสารฆ่าเชื้อโรค หรือเจลล้างมือตลอดเวลา เริ่มไอเริ่มจามเมื่อไร ก็ให้รีบเช็ดทันที
  5. อย่าลืมทานยาให้ตรงเวลา ห้ามขาดยาเด็ดขาด
  6. ลาป่วย ถ้าพบว่าตัวเองไม่ไหว อาการหนักขึ้นเรื่อยๆ ควรลาป่วยจนกว่าอาการจะหายดี แล้วจึงกลับมาทำงาน

เกร็ดความรู้

โรคติดต่ออันตราย มีทั้งหมด 13 โรค (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559)

คือ กาฬโรค, ไข้ทรพิษ, ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก, ไข้เวสต์ไนล์, ไข้เหลือง, ไข้ลาสซา, โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์, โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก, โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา, โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา, โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส), โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 22 มกราคม 2561)

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save