ลักษณะการแพร่กระจายของ เชื้อโรคในอากาศ มีกี่แบบ? พร้อมวิธีป้องกันที่ถูกต้อง

28 มิ.ย. 24

เชื้อโรคในอากาศ

 

เคยไหมเวลามีคนใกล้ ๆ ไอ จาม สร้างความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจให้กับเรา เพราะความกังวลว่าเชื้อจากคนข้าง ๆ อาจกำลังแพร่เข้าเข้าสู่ร่างกายของเราโดยไม่สามารถล่วงรู้ทัน ซึ่งความกังวลเหล่านั้น สามารถลดลงได้หากคุณได้ทราบข้อมูล และปฏิบัติตามวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง โดยในบทความนี้ เราจะพูดถึง เชื้อโรคในอากาศ มีกี่แบบ พร้อมวิธีป้งกันที่ถูกต้อง มาฝากกัน

ดีคอลเจน

เชื้อที่ก่อให้เกิดโรค (Infectious Agents) ในมนุษย์ มีอะไรบ้าง?

ก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องลักษณะของการแพร่กระจาย เชื้อโรคในอากาศ การเรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติ และแหล่งที่มาของเชื้อนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี เรียกว่ารู้หน้ารู้ตัวข้าศึกกันก่อน ที่จะหาวิธีการป้องกัน

1. เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน ไม่มีเยื่อแบ่งบริเวณนิวเคลียส (Nucleus) แบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้าง แคปซูล (Capsule) หรือชั้นเมือก (Slime Layer) หรือขนขนาดเล็ก (Pili) ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว และการยึดเกาะเซลล์โฮสต์ อาศัยอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ทั้งใต้พื้นดิน ในน้ำ ในอากาศ รวมไปถึงตามร่างกายของพืช สัตว์ และมนุษย์

ตัวอย่างโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก เช่น การอักเสบติดเชื้อในลำคอ, อาการเจ็บคอ, วัณโรค (Tuberculosis), และอหิวาตกโรค (Cholera) นั่นเอง

2. เชื้อรา (Fungi) คือ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีขนาด และรูปร่างในหลายลักษณะ เช่น ยีสต์ และเห็ดรา มีองค์ประกอบสำคัญที่เรียกว่า “ไฮฟา” (Hypha) ลักษณะคล้ายเส้นใยขนาดเล็กที่อยู่รวมกันเป็นก้อน หรือถักทอเป็นร่างแห (Mycelium) เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายพืช และอาศัยการแบ่งตัว การขาดออกเป็นท่อน รวมไปถึงการสร้างสปอร์ (Spore) ที่สามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศเพื่อการสืบพันธุ์

ตัวอย่างโรคที่เกิดจากเชื้อรา ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot) โรคกลากและเกลื้อน (Tinea) รวมถึง โรคผื่นภูมิแพ้ ทางผิวหนังต่าง ๆ อย่างรังแค และผื่นภูมิแพ้ที่ใบหน้า เป็นต้น

3. ไวรัส (Virus) คือ สิ่งอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 20 ถึง 400 นาโนเมตร ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ สารพันธุกรรม (Genetic Materials) หรือกรดนิวคลิอิก (Nucleic Acids) ที่เรารู้จักกันดีในชื่อดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ห่อหุ้มด้วยโปรตีน (Capsid) และไขมันด้านนอกสุดของเปลือกหุ้ม (Envelope) ที่สำคัญไวรัสมีความสามารถในการกลายพันธุ์ และวิวัฒนาการตนเอง

ตัวอย่างโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่เรารู้จักกันดีคือ ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) หรือ ล่าสุด โรคโควิด-19 (Coronavirus Disease-2019) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบหายใจ เป็นไวรัสที่เกิดจากการติดเชื้อผ่านละอองฝอย (Droplets) และการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส นั่นเอง

นอกจากเชื้อที่กล่าวมาดังนี้แล้วยังมีเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดโรค Normal flora ซึ่งสามารถแพร่กระจายออกไปได้ผ่านทางช่องทางวิธีต่าง ๆ เช่นละอองเกสรดอกไม้ เศษอินทรียวัตถุจากการเผาไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการภูมิแพ้ในคนที่แพ้ต่อสารชนิดนั้น ๆ


กลไกการแพร่เชื้อโรคระหว่างคนสู่คน เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการใด?

แม้ว่าบทความนี้ต้องการจะสื่อถึงการแพร่กระจาย ของ เชื้อโรคในอากาศ เป็นสำคัญ แต่คงหลีกเลี่ยงที่จะอธิบายกลไกการแพร่กระจายของเชื้อโรคในภาพรวมไม่ได้ เพราะการติดต่อรับเชื้อนั้นสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง

ซึ่งการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยภาพรวมนั้นเกิดขึ้นได้ 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. Contact transmission การแพร่กระจายเชื้อที่เกิดจากการสัมผัส สามารถแบ่งย่อยออกเป็น

1.1 Direct contactst transmission คือกระบวนการแพร่ของโรคโดยการสัมผัสกับเชื้อของผู้มีเชื้อโดยตรง เช่น การสัมผัสทางผิวหนัง สารรคัดหลั่งต่าง ๆ โดยปราศจากการสวมอุปกรณ์เครื่องมือป้องกัน

1.2 Indirect contact transmission คือการแพร่ของเชื้อโรคที่เกิดจากการสัมผัสทางอ้อม  คือผู้รับเชื้อไม่ได้ทำการสัมผัส กับแหล่งโรคโดยตรง เช่น การถูกเข็มที่ปนเปื้อนเลือดตำ การสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน

2. Vectors

หมายถึง ลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโดยมีสัตว์เป็นพาหะ เช่น ยุงลาย หนู ไร แมงหวี่ พบโรคทั่วไปที่พบมากผ่านวิธีการแพร่กระจายเชื่อโดยสัตว์เป็นพาหะได้แก่ โรคไข้เลือดออก อหิวาตกโรค เป็นต้น

3. Droplet transmission

คือ ลักษณะการแพร่กระจาย ของเชื้อโรคในอากาศ เกิดขึ้นจากการที่เชื้อโรคแพร่กระจายไปกับฝอยละอองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกการแพร่เชื้อที่พบมากในกลุ่ม โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ อาทิ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก (avian influenza) severe acute respiratory syndrome (SARS) เป็นต้น หรือแม้แต่โรคอุบัติใหม่ยอดฮิตอย่างโควิด-19

ผลการศึกษาในเบื้องต้นก็บ่งชี้ว่า เชื้อโรคตัวนี้สามารถที่จะแพร่สู่คนได้ โดยผ่านฝอยละอองจะมีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ซึ่งจะฟุ้งอยู่ในอากาศไม่นาน และสามารถแพร่ไปไม่ไกลกว่าระยะ 2 เมตร จึงเป็นที่มาของวิธีการป้องกัน ที่เราได้ยินได้ฟังกันจนคุ้นหูว่าให้สวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างออกจากกันให้เกิน 2 เมตร นั่นเอง

4. Airborne transmission

คือลักษณะของการแพร่กระจายของเชื้อโรค ของเชื้อโรคในอากาศอีกลักษณะหนึ่ง ที่เชื้อมีการแฝงตัวไปกับฝอยละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งด้วยขนาดที่เล็กมากนั้น ทำให้ฝอยละอองที่มีเชื้อปะปนอยู่นั้นสามารถกระจายตัวไปได้ไกลในอากาศ โดยเฉพาะในบริเวณที่อากาศไม่สามารถถ่ายเทหมุนเวียนได้อย่างเหมาะสม

โรคที่ติดต่อกันโดยวิธีดังกล่าวนี้ที่พบเห็นได้บ่อยในคนทั่วไป ได้แก่ วัณโรคของระบบทางเดินหายใจ โรคหัด (measles) โรคอีสุกอีใส และจากผลการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เองก็ยังไม่มีส่วนชี้ชัดว่า วิธีการนี้เป็นส่วนในการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้มากน้อยเพียงใด

เชื้อโรคในอากาศ

วิธีการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง เวลาต้องอยู่ใกล้ชิด หรือมีความเสี่ยงสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ

จากความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเดินหายใจในปัจจุบัน ได้พบว่า เชื้อก่อโรคต่าง ๆ อาจจะมีวิธีการในการติดต่อเข้าสู่ร่างกายคนได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง เช่น เกิดจากการสัมผัสเชื้อแบบทางตรง โดยการที่มือไปสัมผัสกับสารคัดหลั่ง อย่าง น้ำมูก น้ำลาย ของเหลวของผู้มีเชื้อ พร้อม ๆ กับการได้รับเชื้อผ่านละอองขนาดใหญ่ Droplet transmission ที่ได้รับจากการพูดคุยอยู่ใกล้ ๆ กัน และมีการหายใจรับเอาละอองดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย

ดังนั้น การป้องกันที่ถูกต้อง และดีที่สุด จึงควรมีการป้องกันในทุก ๆ จุดสัมผัส และช่องทาง จึงจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด โดยสามารถปฏิบัติตามได้โดยวิธีการดังนี้

1. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสิ่งแรกที่ทุกคนควรทำ เพราะหากไม่เชื่อว่า เชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ ยกเว้นเครื่องมือปลอดเชื้อ หรือห้องที่ปลอดเชื้อ การระมัดระวังอย่างต่อเนื่องจะไม่เกิดขึ้นตามมา เพราะเชื้อโรคเป็นสิ่งที่ตาเปล่าของเราไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นความเข้าใจที่ถูกต้องตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันคุณเป็นอันดับแรก

2. การล้างมือบ่อย ๆ มือเป็นอวัยวะที่มีการสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคงไม่มีวิธีการใดที่สำคัญกว่าการหมั่นทำความสะอาดมือ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ แม้ว่าโดยปกตินั้นการล้างมือด้วยสบู่ น่าจะเพียงพอในการหยุดยั้งเชื้อโรคชนิดทั่วไป

แต่ในเชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอย่างโรคโควิด-19 นั้น การทำความสะอาดมือด้วย สารทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลส์ที่เหมาะสม เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 นาที จึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้แล้วควรพกแอลกอฮอล์เจล หรือสเปรย์ (ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมคือ 70-90% โดยปริมาตรในน้ำ) ติดตัวไว้ทำความสะอาดมือ ในระหว่างการเดินทาง

3. การสวมหน้ากากอนามัยป้องกันอย่างถูกวิธี ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ต้องอยู่ใกล้ชิดสัมผัสกับผู้อื่น เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าคนที่อยู่ใกล้ ๆ เรานั้นมีเชื้อที่พร้อมจะปล่อยออกจากร่างกายผ่านฝอยละอองขนาดใหญ่ Droplet หรือ แม้แต่ฝอยละอองขนาดเล็ก Airborne ที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ

วิธีใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

  • ทำความสะอาดมือก่อนใส่หน้ากาก
  • หันด้านที่มีสีออกข้างนอก หันด้านสีขาวเข้าตัว
  • จับสายจากด้านข้างแล้วคล้องที่หลังหู
  • กดแกนโลหะด้านบนให้แนบกับหน้า
  • ดึงหน้ากากด้านล่างให้ถึงใต้คาง

วิธีถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

  • ใช้นิ้วเกี่ยวสายคล้องเพื่อทิ้งลงถังขยะ
  • ห้ามสัมผัสหน้ากากโดยตรง
  • หากสัมผัสหน้ากากที่ใช้แล้ว ให้ล้างมือให้สะอาด

ซึ่งนอกจากคำแนะนำที่กล่าวมานี้แล้ว สิ่งอื่นที่ควรปฏิบัติอยู่เป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อผ่านการแพร่กระจายของ เชื้อโรคในอากาศ เช่น ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนที่ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หรือ อยู่ในสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่อากาศไม่ถ่ายเท หมุนเวียน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันจึงจะสามารถช่วยป้องกันการติดต่อรับเชื้อที่เกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศได้

และนี่คือสาระดี ๆ ที่เรารวบรวมนำมาฝากกันในวันนี้ เพื่อคลายข้อสงสัยและความกังวลใจ เกี่ยวกับการลักษณะการแพร่กระจาย ของเชื้อโรคในอากาศพร้อมวิธีป้องกันที่ถูกต้อง หวังว่าจะทำให้ทุก ๆ ท่านใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขแม้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังดำเนินอยู่ในตอนนี้

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save