“ฝันร้าย” เพราะอะไร!?

27 มิ.ย. 24

 

“ไม่เป็นไรนะ มันก็แค่ฝันร้าย ไม่ใช่เรื่องจริง” เชื่อว่าใครหลาย ๆ คน คงเคย “ฝันร้าย” กันมาบ้างแล้ว โดยส่วนมาก อาการฝันร้ายจะเป็นเรื่องของ การฝันเห็นผี เรื่องน่ากลัว ชวนขนลุก หวาดหวั่น ตกใจจนต้องตื่นจากฝัน หรือแม้กระทั่งฝันเห็นคนที่เรารักไปแอบมีใครอื่น เป็นต้น

ถ้าหากไม่อยากฝันร้าย ก็ต้องรู้สาเหตุให้ได้เสียก่อน… วันนี้ GedGoodLife ได้หาคำตอบมาให้แล้ว ไปติดตามกันได้เลย

ฝันร้าย เพราะอะไร?

ฝันร้าย (nightmare) เป็นความฝันที่ทำให้เกิดอารมณ์เชิงลบที่มีความเหมือนจริงมาก และทำให้คุณต้องสะดุ้งตื่นจากการนอนหลับ เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในช่วงการหลับแบบ REM หรือหลับตื้น ซึ่งมักอยู่ในช่วงเช้ามืด

สาเหตุของฝันร้ายจะต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล โดยมากมักเกิดจากความเครียดในจิตใจของเราเอง โดยเฉพาะเมื่อเราเก็บความรู้สึกที่ไม่ดี สิ่งที่กังวล หรือเรื่องที่หวาดกลัว ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเราเอาไว้ในใจ โดยที่ไม่ได้ระบายออกมา สิ่งเหล่านี้จะกลับมาหาเราอีกครั้ง ในรูปแบบของฝันร้าย

ฝันร้ายในวัยเด็ก – เด็ก ๆ มักจะฝันร้าย เพราะกลัวเรื่องเล่าสยองขวัญจากผู้ใหญ่ และเพื่อน ๆ ในกลุ่ม หรือจากการดูหนังสยองขวัญผ่านทางทีวี จนฝังใจเก็บเอาไปฝันว่าตัวเองกำลังโดนผีหลอกบ้าง มีคนจะมาเอาชีวิตบ้าง เป็นต้น

สำหรับในผู้ใหญ่ – ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างหนัก มีความเครียด เช่น ประสบอุบัติเหตุเฉียดตาย ถูกทำร้ายร่างกาย หรือชีวิตต้องพบเจอแต่เรื่องแย่ ๆ จนกระทั่งเคยเห็นผีมาหลอก เป็นต้น จึงทำให้มีอาการวิตกกังวล เก็บงำเอาไปฝันร้ายได้

สถิติชี้! ฝันร้ายเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

ข้อมูลอ้างอิงจากกรมสุขภาพจิต และจากข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสาร J of clinical sleep เดือนธันวาคม ปี 2018 พบว่า มีรายงานการศึกษากว่า 100 รายงานที่พบอุบัติการณ์ฝันร้ายผิดปกติ (nightmare disorder) มีข้อมูลรายละเอียดว่า พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบความถี่สูงในช่วงวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ร้อยละเฉลี่ย 1.5-1 ขณะที่ช่วงอายุ ซึ่งฝันร้ายมักเกิดขึ้นในวัยเด็กราวร้อยละ 50 และมีมากกว่าร้อยละ 20 ที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

กระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

ผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีความเครียดสูง เมื่อต้องเผชิญกับการฝันร้ายบ่อยครั้ง ก็ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจเป็นอย่างมากได้ และแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน แต่ฝันร้ายก็มีความเชื่อมโยงกับการฆ่าตัวตายอยู่ด้วยเช่นกัน

หากคุณฝันร้ายบ่อยครั้ง หรือฝันร้ายต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนฝันร้ายนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การไปพบแพทย์เพื่อสืบหาที่มาของฝันร้ายก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการอดนอนที่เกิดขึ้นจากฝันร้าย สามารถทำให้คุณป่วยเป็นโรคได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า หรือภาวะอ้วน

ไม่อยากฝันร้าย ควรทำอย่างไรดี?

การหยุดฝันร้าย หรือทำให้ฝันร้ายน้อยลง สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

  • หากฝันร้ายของคุณมีสาเหตุมาจากการกินยาบางตัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนชนิดของยา
  • งดการกินอาหารก่อนเข้านอน เพราะการเข้านอนในระหว่างที่ยังอิ่มจัด จะทำให้ระบบย่อยอาหาร และสมองเกิดความตื่นตัว แม้ว่าคุณจะหลับไปแล้วก็ตาม
  • เข้านอน-ตื่นนอน ให้เป็นเวลา รวมถึงการออกกำลังกาย สามารถช่วยลดการเกิดฝันร้ายที่เกิดจากความเครียดได้
  • จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศผ่อนคลาย สงวนพื้นที่ภายในห้องนอน สำหรับกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและพักผ่อนเท่านั้น เพื่อลดความเชื่อมโยงถึงความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างวันในช่วงที่คุณนอนหลับ
  • หากฝันร้ายของคุณเกิดจากความเครียด ภาวะซึมเศร้า หรือโรค PTSD สิ่งที่ช่วยคุณได้คือ การทำพฤติกรรมบำบัด เช่น การพยายามเปลี่ยนตอนจบของฝันร้ายด้วยตัวเอง
  • ไม่ควรดูหนังสยองขวัญ หรือใช้ยาเสพย์ติด เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เราฝันร้ายได้
  • หมั่นทำจิตใจให้สงบ นั่งสมาธิ / คิดถึงสิ่งดี ๆ ที่เคยทำมาก่อนเข้านอน ก็จะช่วยให้ฝันดี แทนฝันร้ายได้

อย่างไรก็ตาม หากอาการฝันร้ายไม่ลดลงไปหลังสามเดือน อาการเหล่านี้อาจกลายมาเป็นอาการเรื้อรังได้ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิต และพูดคุยเกี่ยวกับการบำบัดทางพฤติกรรมที่คุณเองกำลังเผชิญอยู่อย่างละเอียด เพื่อจะได้ไม่กลับมาฝันร้ายอีกนั่นเอง

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save