จุก เสียด แน่นท้อง มีกี่ชนิด และมีวิธีดูแลอย่างไร ให้รู้สึกสบายท้อง?

28 มิ.ย. 24

จุก เสียด แน่นท้อง

 

ด้วยภาวะที่เร่งรีบของสังคมเมืองในปัจจุบัน ที่ต้องฟันฝ่าตั้งแต่เช้า กับปัญหาด้านการจราจร ตลอดจนความเคร่งเครียดจากการทำงาน การประชุม หรือต้องไปปาร์ตี้ต่อในรอบเย็นและดึกก็ตาม เหล่านี้ หลายครั้ง อาจนำมาซึ่งความผิดปกติของการทำงานของร่างกาย อาการหนึ่งที่เราทุกคนเคยผ่านมาแล้วทั้งสิ้น นั่นก็คือ อาการ จุก เสียด แน่นท้อง

โดยที่อาการเหล่านี้ หลายคนเกิดขึ้นบ่อย บางคนอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ระบุหาสาเหตุที่มาไม่ได้ชัดเจน วันนี้เราจึงจะมาชวนทุกท่านไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการ จุก เสียด แน่นท้องกัน ว่าลักษณะของอาการนั้น มีกี่ชนิด มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และจะมีวิธีการดูแลอย่างไร ให้บรรเทาอาการ และรู้สึกสบายท้อง

จุก เสียด แน่นท้อง มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง?

อาการจุก เสียด แน่นท้องนั้น ส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามกลุ่มอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้

1. อาหารไม่ย่อย (Indigestion)

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยประสบกับภาวะจุกเสียดท้องเพราะอาหารไม่ย่อยแน่นอน โดยสาเหตุหลัก มาจากพฤติกรรมการรับประทานเป็นส่วนใหญ่ เช่น รับประทานเร็ว ไม่เป็นเวลา อาหารมีไขมันเยอะ ท้องผูก ความเครียด หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ก็อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อยได้ เหล่านี้เป็นต้น

ดังนั้นจะมาดูกันว่า อาการของอาหารไม่ย่อย และวิธีการดูแล ควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อห่างไกลอาการนี้

ลักษณะอาการ

– ปวดท้อง โดยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ พะอืดพะอม คลื่นไส้ อยากอาเจียน เพราะรู้สึกอึดอัดที่บริเวณท้องมาก พุงจะป่องอย่างเห็นได้ชัด และจะอิ่มเร็ว หลังจากเริ่มรับประทานอาหารไม่นาน หรืออาจรู้สึกไม่อยากอาหารเหมือนปกติ เพราะไม่สบายท้องเนื่องจากอาการที่รับประทานลงไปก่อนหน้ายังไม่ถูกย่อยเลย

– จุกเสียด แน่นท้อง และบางครั้ง รู้สึกถึงแก๊สในกระเพาะที่ดันขึ้นมา บริเวณหลอดอาหาร จึงทำให้เกิดอาการจุกลิ้นปี่ อาการนี้ จะไม่ได้เป็นตลอดเวลา แต่จะเป็นเฉพาะเวลาที่รับประทานอาหารลงไป ซึ่งจะต่างจากกรดไหลย้อน ที่จะกล่าวต่อไป

– แสบร้อนกลางอกจนถึงกระเพาะอาหาร เรอบ่อย เรอเปรี้ยว เนื่องมาจากกรดในกระเพาะมีปริมาณมากเพราะร่างกายหลั่งน้ำดีออกมาปริมาณมากเพื่อย่อยอาหาร ที่ย่อยยาก มีไขมันสูง จึงทำให้รู้สึกแสบกระเพาะอาหาร และกรดอาจไหลย้อนขึ้นมาถึงกลางอก ทำให้รู้สึกแสบบริเวณกลางอกได้ แต่อาการนี้จะพบได้น้อยกว่าอาการท้องอืด พะอืดพะอม

จุก เสียด แน่นท้อง

วิธีการดูแล  

ด้วยสาเหตุหลักของอาหารไม่ย่อย มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การทานอาหารเร็ว การเคี้ยวไม่ละเอียด และภาวะความเครียด ดังนั้น วิธีการดูแลของผู้ที่มีอาการดังกล่าวเนื่องจากอาหารไม่ย่อย จึงควรปฏิบัติดังนี้คือ

– ปรับประเภทอาหาร ควรเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น อาหารที่เน้น ปลา ผัก ผลไม้ เพราะจะถูกดูดซึมสู่ร่างกายได้ง่าย และควรรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของไฟเบอร์ เพื่อช่วยในการย่อยและขับถ่ายด้วย เช่น ธัญพืช หรืออาหารไม่ฟอกสี เพราะอุดมด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย และควรเสริมด้วย นม หรือโยเกิร์ต เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ดี หรือที่เรียกกันว่า Probiotics ให้แก่กระเพาะอาหาร และลำไส้ เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร

– ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานให้ตรงเวลา ให้มีสมาธิในการรับประทาน เคี้ยวให้ละเอียด ไม่รับประทานเร็ว หรือช้าจนเกินไป เพราะสมองจะใช้เวลาในการรับรู้ถึงความอิ่ม ดังนั้นหากรับประทานเร็วไป สมองยังไม่ทันได้รับรู้ถึงอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย ก็จะทำให้รับประทานไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่รู้สึกอิ่ม จึงทำให้เกิดอาการของอาหารไม่ย่อยได้ง่าย และที่สำคัญคือ ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะหากเข้านอนทันทีหลังรับประทานเสร็จ การเดินทางของอาหารสู่กระเพาะอาหาร และระบบการย่อยจะทำงานช้า ทำให้อาหารไม่ย่อยนั่นเอง

– บริหารความเครียด เพราะความเครียดเป็นศัตรูตัวร้ายของทุกระบบในร่างกาย ดังนั้น หากมีความเครียดเกิดขึ้นแล้วไม่ว่าจะเกิดจากเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว ควรหาทางกำจัดให้เร็วที่สุด วิธีง่ายที่สุดคือ ออกกำลังกายให้เหงื่อออก ก็จะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นมา กระปรี้กระเปร่า เจริญอาหาร  หรือจะใช้สมาธิบำบัดก่อนเข้านอน หรือจะเล่นโยคะตอนตื่นเช้าก็ย่อมได้เช่นกัน

จุก เสียด แน่นท้อง

2. กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease, GERD)

เป็นโรคที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร ลำคอ และช่องปาก เกิดเนื่องจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร หรือการบีบตัวของหลอดอาหาร หรือ การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก และจุกแน่นลิ้นปี่ โรคฮิตของคนยุคใหม่ มีผลสำรวจว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นโรคนี้ ในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยด้วยอาการกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี โดยพบในวัยทำงาน และวัยเด็ก สูงขึ้นเรื่อย ๆ มาดูกันว่าอาการ และแนวทางดูแล ควรทำอย่างไร

ลักษณะอาการ

– แสบร้อนกลางอก จุก เสียด แน่นท้อง ขณะและหลังรับประทานอาหาร หรือขณะที่นอนหงาย หรือยกของหนัก และจะเกิดบ่อยกลางดึก

– เรอเปรี้ยว ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพราะกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหาร ลำคอ จนมาถึงช่องปาก ในบางรายอาจพบอาการ ฟันกร่อน ปากมีรสขม มีกลิ่นปาก และฟันกร่อน ร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล้านี้เป็นอีกลักษณะเฉพาะของผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน

– รู้สึกคล้ายมีก้อนในคอ หรือแน่นคอ หรือกลืนติด ๆ ขัด ๆ หรือกลืนลำบาก คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมในคอ เนื่องจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และจะมีอาการ หอบหืด ไอแห้ง ๆ และเจ็บคอประกอบ เพราะกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดอาการกล่องเสียอักเสบ

– ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ อาจปวดเป็นพัก ๆ หรือปวดตลอดทั้งวัน หายใจไม่สะดวก ซึ่งหากเป็นอาการแบบนี้ของผู้ป่วยกรดไหลย้อน เป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่งว่า อาจเป็นขั้นรุนแรงแล้ว

วิธีการดูแล  

– เลือกประเภทอาหารที่รับประทาน ควรเน้นอาหารที่ย่อยง่าย มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือไขมันสูง และอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เพราะจะกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น

– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นในปริมาณมาก และควรรับประทานก่อนเข้านอน อย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่า อาหารจะถูกย่อยก่อนเข้านอน โดยควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อให้อาหารถูกย่อยง่าย

– ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 8 แก้ว (ขนาด 200 มิลลิลิตร) โดยปริมาณน้ำอาจยืดหยุ่นได้ตามน้ำหนักตัว

– หากรู้สึกขมปาก อาจเคี้ยวหมากฝรั่ง ที่มีส่วนผสมของไซลิทอล (xylitol) ช่วยเพื่อให้ลมหายใจสดชื่นมากขึ้น และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายในช่องปาก เพื่อเคลือบลิ้น และฟัน ช่วยลดความขมจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาในช่องปากได้ หรือจะรับประทานอาหารผลไม้ที่ออกรสหวาน และมีน้ำมาก เช่น จำพวกแตง แตงโม แคนตาลูป แตงไทย แก้วมังกร ก็ช่วยได้เช่นกัน

– นอนโดยปรับศีรษะให้สูงกว่าลำตัว บางคนอาจใช้หมอนเป็นตัวช่วยในการหนุนคอ และหลังให้สูงกว่าช่วงท้อง หรือใช้เตียงที่สามารถปรับหัวเตียงให้สูงได้ โดยไม่ควรสูงจนทำให้ปวดคอ และหลัง การนอนศีรษะสูงจะช่วยป้องกัน ไม่ให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมายังหลอดอาหาร และไหลสู่ลำคอได้ ซึ่งจะช่วยลดอาการของกรดไหลย้อนเวลานอนได้มากทีเดียว

บริหารจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน อาจใช้สมาธิบำบัด การทำโยคะช่วย เพราะลดความเครียด ที่จะกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมาในกระเพาะอาหารมากเกินไป จนทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมทุกประเภท

จุก เสียด แน่นท้อง

3. โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

เป็นโรคที่รู้จักกันมานาน โดยโรคกระเพาะอาหาร ก็คือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรืออาจเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ มักพบบ่อยในผู้ที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือ ผู้ที่ทานยาบางประเภท เช่น ยารักษากระดูก ซึ่งทำให้ระคายเคืองกระเพาะจนเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ หรืออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางประเภท

ลักษณะอาการ

– จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ ปวด และแสบท้อง หรือแบบบิดมวน บางครั้งอาจปวดบริเวณชายโครงซ้าย หรือปวดร้าวไปด้านหลัง โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นทั้งก่อน และหลังรับประทานอาหาร อาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนร่วมด้วย เพราะน้ำย่อยในกระเพาะที่มีมาก ทำให้รู้สึกพะอืดพะอม

– อุจจาระสีดำ ซึ่งบ่งบอกได้ว่า มีเลือดออกที่กระเพาะอาหาร ซึ่งจะแตกต่างจากหากอุจจาระเป็นสีแดงสด แสดงว่า อาจมีแผลที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หรือทวารหนัก อันเนื่องมาจากริดสีดวงทวารหนัก

– หากเป็นขั้นกระเพาะทะลุแล้ว อาจทำให้มีอาเจียนเป็นเลือดได้ ปวดท้องมาก กดลงไปบริเวณท้องจะรู้สึกเจ็บมาก

การดูแล

– รับประทานอาหารให้ตรงเวลา โดยรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ปลา ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำต้มข้าว น้ำซุป และควรรับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อย ๆ เพื่อลดการทำงานหนักของกระเพาะอาหาร

– หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ โซดา และการสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งกัดกระเพาะ ทำให้เกิดแผลและการอักเสบมากยิ่งขึ้น

– บริหารความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ ด้วยสมาธิบำบัดหรือโยคะ เพื่อลดน้ำย่อยที่จะหลั่ง และทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองได้

– หากจำเป็นต้องรับประทานยาเกี่ยวกับกระดูก ซึ่งส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ควรรับประทานอาหารก่อนยาเสมอ หรือรับประทานยาเคลือบกระเพาะก่อนยากระดูกทุกครั้ง

จะเห็นได้ว่า โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และการย่อยอาหาร ซึ่งมีอาการร่วมกันอย่างหนึ่ง คือ จุก เสียด แน่นท้องนั้น ล้วนมีปัจจัยหลักมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยทั้งสิ้น ไม่ว่า การเลือกประเภทอาหาร การเคี้ยวอาหาร ช่วงเวลาในการรับประทาน หรือปริมาณอาหารที่รับประทาน

ดังนั้น เราสามารถป้องกันอาการจุก เสียด แน่นท้องได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมให้ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคร้ายได้แล้ว ยังช่วยให้รู้สึกสบายท้อง สดชื่น และมีพลังในการทำงาน การเรียน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันอีกด้วย อีกทั้ง คุณจะดูดีในสายตาของผู้อื่น ดังคำที่ว่า You are What you eat! นั่นเอง

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save