ถึงเธอจะลืมฉัน… แต่ฉันไม่เคยลืมเธอ “โรคอัลไซเมอร์” ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ และวิธีป้องกัน

27 มิ.ย. 24

โรคอัลไซเมอร์

 

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นอาการสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทําให้การทํางานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผู้ป่วย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

มีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายประการ ที่เพิ่มโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ และปัจจัยที่สําคัญมากที่สุด คือ อายุ ในคนอายุ 80 ปี ขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่มีอายุ 65 – 69 ปี ถึง 10 เท่า และอีกปัจจัยที่สําคัญคือ กรรมพันธุ์ โดยพบว่า ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

การประเมินความเสี่ยง โรคอัลไซเมอร์

ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถประเมินอาการแสดงเบื้องต้นได้ โดยดูจาก สัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ ดังนี้

1. หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ

2. การตัดสินใจแย่ลง เปลี่ยนใจง่าย

3. อะไรที่เคยทําอยู่ประจําจะกลายเป็นสิ่งที่ทําได้ยากขึ้น

4. วางของผิดที่ ผิดทาง สับสนเรื่องเวลา

5. สื่อสารกับคนอื่นยากขึ้น มักเรียงลําดับคําผิด

7. เดินออกไปข้างนอกอย่างไม่มีจุดหมาย

8. ไม่ค่อยดูแลตนเอง ชอบทําพฤติกรรมเหมือนเด็ก ๆ

9. แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พูดจาและแสดงอาการก้าวร้าว

10. รู้สึกหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา

11. นอนหลับยาก

12. ถอยห่างจากครอบครัว และเพื่อน

สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม

1. จากความเสื่อมของสมองโดยตรง หรือโรคอัลไซเมอร์ โดยสมองที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับความจําฝ่อลง

2. จากเส้นเลือดในสมองผิดปกติ เช่น สมองขาดเลือด เส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน ทําให้สมองไม่สามารถทํางานได้ปกติ

3. จากสาเหตุอื่น เช่น ต่อมไทรอยด์ฮอร์โมนทํางานผิดปกติ มีเนื้องอกที่สมอง การติดเชื้อในสมอง การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

รู้หรือไม่ ? – ทุกวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็นวันอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer’s Day)

วิธีการป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

1. ควรตรวจสุขภาพประจําปีอย่างสม่ําเสมอ และควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

2. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติด

3. รับประทานอาหารมีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

4. ควรมีกิจกรรมเข้าสังคม พบปะญาติพี่น้อง หรือเพื่อน

5. ทํากิจกรรมที่ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน

6. ฝึกบริหารสมองเป็นประจำเพื่อช่วยชะลอการเสื่อม

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=90U_V2vzPyE?ecver=1&w=854&h=480]

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักอนามัย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save