เรื่องการ กินยาให้ได้ผลดี เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยควรใส่ใจ และศึกษาก่อนจะกิน เพราะถ้ากินยาเกินปริมาณก็จะมีโทษต่อร่างกายได้ แต่ถ้ากินยาไม่ถึงปริมาณที่ควรกิน โรคที่เป็นอยู่ก็จะไม่หาย กลายเป็นโรคเรื้อรังในภายหน้าได้เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ป่วย หรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลคนป่วย ก็ควรพิจารณาข้อมูลของยาให้ดี และควรปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้
กินยาให้ได้ผลดี ต้องกินอย่างไร?
1. อ่านฉลากยาอย่างละเอียด ปฏิบัติตามฉลาก อย่างเคร่งครัด
2. กินยาให้ถูกโรค โดยผู้ป่วยต้องกินยาตามข้อบ่งใช้ เช่น ยาต้านจุลชีพ มีข้อบ่งใช้แตกต่างกันไป ผู้ป่วยไม่ควร กินยาต้านแบคทีเรียหากเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อไวรัส เนื่องจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียพร่ําเพรื่อจะทําให้เกิด ปัญหาเชื้อดื้อยาได้ และไม่ควรกินยาระบายเพื่อลดน้ําหนัก
3. ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ยาแคปซูลควรกินทั้งแคปซูล ไม่ควรแกะแคปซูลออก และไม่ควรกินยาบางชนิดพร้อมกัน เพราะมีผลต่อการดูดซึมยาในทางเดินอาหาร เช่น ยาต้านจุลชีพบางประเภทไม่ควรกินพร้อมกับยาลดกรด ในกระเพาะอาหาร
4. ใช้ยาให้ถูกขนาด เช่น ขนาดหรือปริมาณยาที่ใช้ ในเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกัน
5. ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เนื่องจากยาบางชนิดไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มี โรคประจําตัวต่างๆ หรือหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่กําลังให้นม บุตร หรือผู้ที่มีความผิดปกติของตับหรือโต
6. ใช้ยาให้ถูกเวลา เพราะยาบางชนิดอาจถูกรบกวน โดยการดูดซึมของอาหารได้ และยาบางชนิดมีผลต่อ กระเพาะอาหาร
ดังนั้นวิธีการกินยาจึงมีความสําคัญ ควรทําความเข้าใจดังนี้
ยาก่อนอาหาร ควรกินยาก่อนอาหาร (รวมถึง นม ขนม) อย่างน้อย 30 นาที
ยาพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที มักจะเป็นยา ที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก ควรกินยาหลังอาหาร ทันที อาจกินพร้อมอาหารหรือกินอาหารคําสุดท้ายแล้ว กินยาทันทีพร้อมดื่มน้ําตามมาก ๆ
ยาหลังอาหาร มักจะเป็นยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรกินยาหลังอาหาร 15 – 30 นาที
ยาระหว่างมื้ออาหาร ควรกินก่อนหรือหลังอาหาร 1 – 2 ชั่วโมง
ยาก่อนนอน กินก่อนเข้านอน 15 – 30 นาที เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทําให้ง่วงนอน หรือวิงเวียนศีรษะ กรณียาที่ช่วยให้หลับจะใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาที ก่อนจะออกฤทธิ์
ยาที่กินสัปดาห์ละครั้ง หากกินยาวันใดควรกินวันนั้น ในทุก ๆ สัปดาห์ เช่น เริ่มกินยาวันอาทิตย์ก็ให้กินยานั้น ทุกวันอาทิตย์ เป็นต้น
ยาที่กินเมื่อมีอาการต่าง ๆ เช่น กินทุก 4 – 6 ชั่วโมง ทุก 8 ชั่วโมง หรือทุก 12 ชั่วโมง เมื่อมีอาการสามารถกินได้โดยไม่ต้องคํานึงถึงมื้ออาหาร
กรณีลืมกินยา ถ้าเป็นยาสามัญประจําบ้าน จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น หากเป็นยาที่ผู้ป่วยต้องกินเป็นประจํา เพื่อรักษาโรคประจําตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ถ้าลืมกินยา ให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกได้ใกล้กับมื้อถัดไป ให้ข้ามไปกินยามื้อถัดไป โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า แต่หากเป็นยารักษาเบาหวาน ให้กินยาในมื้อถัดไปที่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร ตามแพทย์สั่ง
นอกจากนี้ ถ้าผู้ป่วยต้องกินยาต้านจุลชีพ ควรกินติดต่อกันให้ครบกําหนดตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนํา หากลืมกินยาให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกได้ใกล้กับมื้อถัดไป ให้ข้ามไปกินยามื้อถัดไป โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า และกินยาติดต่อกันให้ครบกําหนด
“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
ขอขอบคุณบทความดีดี จากวารสารสำนักอนามัย “กินยาอย่างไรให้ได้ผลดี” หน้า 28