ปวดท้องน้อย อาการเตือนที่สาว ๆ ที่ต้องรู้! • สาเหตุ • อาการ • วิธีรักษา

27 มิ.ย. 24

 

ประจำเดือนมาทีไร ต้องร้องโอย… โอย… ทุกที เพราะ มันเกิดอาการ ปวดท้องน้อย หน่ะสิ!! ผู้หญิงบางคน ที่ไม่เคยปวดท้องน้อยมาก่อน แต่จู่ ๆ วันหนึ่งดันปวดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน คงสงสัยว่า มันเป็นเพราะอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไรสินะ!? ไม่ต้องกังวลจนเครียดเกินไป วันนี้ GedGoodLife มีคำตอบมาฝากแล้ว ใครที่มีอาการปวดอยู่ ต้องไม่พลาด… มาติดตามกันเลย!

บริเวณท้องน้อย อยู่ตรงไหนกันนะ?

เบื้องต้น เรามาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน ว่าท้องน้อยอยู่บริเวณไหนจะได้ไม่สับสน…

ท้องน้อยอยู่บริเวณช่องท้องส่วนล่างนับตั้งแต่ตำแหน่งสะดือลงมา จนถึงขอบบนของกระดูกเชิงกราน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อยู่บริเวณใต้สะดือ

และบริเวณนี้ ยังมีอวัยวะต่าง ๆ อีกมาก ที่มีส่วนทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ เช่น มดลูก, ปีกมดลูกทั้งสองข้าง, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้ทั้งเล็ก ลำไส้ใหญ่, ไส้ติ่ง, ท่อไต, ทุกอวัยวะดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ทั้งสิ้น ! โดยอาจจะเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเป็นเนื้องอก หรือเป็นมะเร็ง เป็นต้น


ปวดท้องน้อย มีสาเหตุจากอะไร?

ปวดท้องน้อย, ปวดอุ้งเชิงกราน (Pelvic Pain) คือ อาการปวดจากอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในส่วนของท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity) ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเป็นเนื้องอก หรือเป็นมะเร็ง เป็นต้น สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือปวดแบบเรื้อรังนาน ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกันไป…

โดยอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณท้องน้อย สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ทั้งสิ้น เช่น มดลูก, ปีกมดลูกทั้งสองข้าง, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้ทั้งเล็ก ลำไส้ใหญ่, ไส้ติ่ง, ท่อไต เป็นต้น


สาเหตุ และ อาการปวดท้องน้อย มีอะไรบ้าง?

อาการปวดท้องน้อย สามารถแยกออกได้เป็น 2-3 กลุ่ม คือ 1. ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน 2. ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ 3. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง

กลุ่มที่1 ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute pelvic pain)

สาเหตุ – มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้อง หรืออวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น มดลูกอักเสบ เนื้องอกรังไข่ ท้องนอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่แตก รั่ว หรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต ปวดประจำเดือน

อาการ – มีอาการปวดแบบทันทีทันใด มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย หรืออาจเป็นลม

กลุ่มที่2 ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ (Recurrent Pelvic Pain)

  • ปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก (Mittelschmerz) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสาร โพสตร้าแกลนดิน (Prostaglandin) ออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้น ๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

กลุ่มที่3 ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain)

เป็นอาการปวดบริเวณเชิงกราน ท้องน้อย หรือบริเวณใกล้เคียงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เป็นอาการปวดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียงานเสียการ อาจถึงขั้นลาออกจากงานเลยทีเดียว! เพราะไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติทั่วไป และอาจเกิดโรคซึมเศร้า มีอารมณ์แปรปรวนได้

อาการปวดอาจเกิดจากสาเหตุเดียว หรือเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุร่วมกันก็ได้ เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ แล้วต่อมาจะปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดเป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้

หากอาการปวดเกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะก็จะเกี่ยวข้องกับการถ่าย-การอั้นปัสสาวะ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยมาก และปวดมาก บางรายถ่ายปัสสาวะวันละ 40-50 ครั้ง เลยทีเดียว!

ตัวอย่างของโรค หรือภาวะที่ทำให้เกิดอาการ  ได้แก่

  • มดลูก และรังไข่มีการอักเสบติดเชื้อเป็นถุงหนอง ซึ่งมักมีไข้ต่ำ ๆ และตกขาวผิดปกติร่วมด้วย
  • มีพังผืดในช่องท้อง เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • เนื้องอกมดลูก มักจะมีประจำเดือนที่ผิดปกติร่วมด้วย
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักมีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นมูกเลือดร่วมด้วย
  • เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดในขณะยืน และเมื่อนอนพักอาการจะดีขึ้น
  • ช็อกโกแลตซีสต์
  • มดลูก และปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง
  • ลำไส้แปรปรวน

ปวดท้องน้อย

การวินิจฉัยโรคปวดท้องน้อย

เนื่องจากการ ปวดท้องน้อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ แพทย์อาจต้องใช้เวลาในการหาสาเหตุที่ถูกต้อง เริ่มต้นจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจภายใน ซึ่งการซักประวัตินั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดว่า ลักษณะการปวดเป็นอย่างไร เช่น

• ปวดแบบแปลบ ๆ ปวดแบบบีบ ๆ ปวดแบบมวน ๆ ปวดแบบตื้อ ๆ ปวดดิ้น หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ
• ปวดตื้น ๆ หรือปวดลึก ๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่
• ปวดเป็นพัก ๆ หรือปวดตลอดเวลา
• ปวดมากน้อยเพียงใด ปวดจนเป็นลมหรือไม่
• ช่วงเวลาที่มีอาการปวด ระยะเวลาที่ปวด มีอาการปวดมากเวลาใด
• ตำแหน่งที่ปวดอยู่ที่เดียว หรือมีการเปลี่ยนตำแหน่ง
• อาการปวดเริ่มที่บริเวณใด แล้วปวดร้าวไปที่บริเวณใดบ้างหรือไม่
• เริ่มปวดเมื่อไร ปวดมาแล้วกี่วัน ปวดมานานแล้วหรือยัง เคยปวดในลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่
• อะไรที่ทำให้อาการปวดดีขึ้น หรือแย่ลง เช่น เมื่อนอนพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่จะปวดในขณะที่ยืน
• อาการปวดสัมพันธ์กับอะไรบ้างหรือไม่ เช่น สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์ การกลั้นปัสสาวะ อาหาร การยืน การเดิน การก้าวขา หรือการนอน

นอกจากนี้ อาจต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อความมั่นใจในการวินิจฉัย เช่น

• การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์ เพื่อให้เห็นลักษณะของมดลูกและปีกมดลูกได้
• การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ
• การตรวจทวารหนัก และส่องตรวจสำไส้ใหญ่
• การส่องตรวจทางหน้าท้องดูในอุ้งเชิงกราน
• การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอ MRI
• การฉีดสีดูระบบทางเดินปัสสาวะ
• การกลืนแป้ง หรือสวนแป้งเอกซ์เรย์ดูทางเดินอาหาร

ปวดท้องน้อย

การรักษาอาการปวดท้องน้อย

1. ใช้ยารักษา เช่น ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีการอักเสบติดเชื้อ เช่น มดลูกอักเสบ ยาลดการอักเสบ ถ้ามีการอักเสบที่ไม่ติดเชื้อ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ หรืออาจให้ยาฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด เพื่อลดอาการปวดประจำเดือน ส่วนใหญ่การให้ยาในโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ หรือเนื้องอกมดลูก มักเป็นการรักษาแบบชั่วคราว เมื่องดยาอาการอาจกำเริบขึ้นอีก

2. การผ่าตัด โรคบางอย่างต้องรักษาโดยการผ่าตัด เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้องผ่านช่องท้องจะทำให้รู้สาเหตุ และรักษาบางอย่างไปพร้อมกันได้ในคราวเดียว เช่น เนื้องอกมดลูก หรือมีถุงน้ำรังไข่ ซึ่งสามารถทำการวินิจฉัยก่อนผ่าตัดได้ โดยแพทย์จะอธิบายให้ฟังก่อนการผ่าตัด ถึงความจำเป็น ผลดี และโรคแทรกซ้อน ตามอาการของโรคที่เป็น

3. รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การให้ทำกายภาพบำบัด ให้ยาคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ฉีดยาชาเฉพาะที่ รวมทั้งการสอนให้มีการออกกำลังกาย การฝึกท่าทางการเดินการนั่ง เป็นต้น


GedGoodLife สรุปให้…

1. ท้องน้อยอยู่บริเวณช่องท้องส่วนล่างนับตั้งแต่ตำแหน่งสะดือลงมา จนถึงขอบบนของกระดูกเชิงกราน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อยู่บริเวณใต้สะดือ

2. สาเหตุที่ทำให้ปวดท้องน้อย เกิดจากอาการปวดจากอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในส่วนของท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity) ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเป็นเนื้องอก หรือเป็นมะเร็ง เป็นต้น

3. อาการปวดท้องน้อย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน 2. ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ 3. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง

4. วิธีรักษา ใช้ยารักษา, ผ่าตัด, รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด ฉีดยาชาเฉพาะที่ เป็นต้น

5. ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจเกิดความผิดปกติขึ้นนั่นเอง

ฉะนั้นเมื่อมีอาการปวดท้องน้อย อย่าย่ามใจไป เนื่องจากอาการนี้เป็นได้หลายสาเหตุ ทางที่ดีที่สุด ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

อ้างอิง :
1. โรงพยาบาลเจ้าพระยา 2. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 3. โรงพยาบาลกรุงเทพ 4. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save