ระบบย่อยอาหาร เป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ และตับอ่อน ล้วนมีผลต่อสุขภาพของเราทั้งนั้น… วันนี้ GedGoodLife จึงขอแนะนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “ระบบย่อยอาหาร” และ “เคล็ดลับดูแลระบบย่อยอาหาร” ให้สุขภาพดี ห่างไกลโรคร้ายต่าง ๆ จะมีอะไรบ้างนั้น… มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย!
ระบบย่อยอาหาร คืออะไร?
ระบบย่อยอาหาร หรือระบบทางเดินอาหาร (Digestive System) การทำงานของระบบทางเดินอาหารนั้นจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ที่ปาก และเรื่อยไปจนจบกระบวนการที่ทวารหนัก โดยอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารจะมีหลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
ปาก (Mouth) – การเคี้ยวอาหารจะช่วยแยกอาหารออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการย่อยอาหารในลำดับต่อไป น้ำลาย (Saliva) ที่อยู่ในปากจะทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหาร เพื่อให้อาหารง่ายถูกลำเลียงไปยังระบบทางเดินอาหารส่วนอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น
ลำคอ (Throat) – เมื่อกลืนอาหารที่เคี้ยวลงไปแล้ว อาหารจะถูกส่งผ่านไปยังลำคอ หรือส่วนที่เรียกกันว่าคอหอย (Pharynx) และจากคอหอยอาหารจะค่อย ๆ ถูกลำเลียงเข้าสู่หลอดอาหาร
หลอดอาหาร (Esophagus) – เป็นกล้ามเนื้อยาวประมาณ 9 นิ้ว ทำหน้าที่นำเอาอาหารที่ย่อยแล้ว ลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการหดตัวแบบลูกคลื่น
กระเพาะอาหาร (Stomach) – เป็นส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร มีลักษณะยืดหดได้ สามารถบรรจุได้ประมาณ 1,500 ซีซี. ในแต่ละวันจะมีน้ำย่อยอาหารถูกขับออกมาจากกระเพาะอาหารเพื่อย่อยอาหาร (Digest) หลังจากนั้น อาหารก็จะผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งจะมีน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีช่วยย่อยอาหารต่อไป
ลำไส้เล็ก (Small Intestine) – หลังจากอาหารถูกย่อยที่กระเพาะอาหารเรียบร้อยแล้ว ก็จะถูกส่งต่อมายังลำไส้เล็ก ซึ่งมีขนาดยาวประมาณ 6 เมตร (20 ฟุต) โดยกระบวนการย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กนี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เริ่มตั้งแต่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) —> มายังลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) —> และเข้าสู่สำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum)
ลำไส้ใหญ่ (large intestine) – อาหารที่ไม่สามารถย่อยได้อีกต่อไปจากลำไส้เล็ก จะถูกส่งมายังลำไส้ใหญ่ และจะถูกเรียกว่ากากอาหาร… ลำไส้ใหญ่ ยาวประมาณ 1.5 เมตร (5 ฟุต) มีหน้าที่สำคัญ คือ ดูดซึมสารเหลว ส่วนกากที่เหลือนั้น จะกลายเป็นอุจจาระอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ่ายออกมาทางทวารหนัก
ทวารหนัก (Anus) – เมื่อกากอาหารจากลำไส้ใหญ่เดินทางมาถึงทวารหนักแล้ว ตัวรับสัญญาณที่ทวารหนักจะส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อทำการประเมินว่ากล้ามเนื้อหูรูดพร้อมที่จะปล่อยกากอาหารออกจากทวารหนักหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณเดียวกับที่เรารู้สึกปวดท้อง และอยากเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายอุจจาระนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ที่ช่วยย่อยอาหารในทางอ้อม ได้แก่ ตับ ตับอ่อน และต่อมน้ำลาย ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จะทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบย่อยอาหาร เช่นกัน
5 โรคยอดฮิตในระบบทางเดินอาหาร และอาการที่พบบ่อย
โรคในระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่พบมากในคนไทย เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย และเป็นโรคที่นำพาคนไข้มาหาแพทย์อยู่เป็นประจำ
โดยศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร และตับ จากโรงพยาบาลเปาโล ได้คัดเลือก โรค TOP 5 ของโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ไว้ดังนี้…
อันดับ 1 โรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร มักมีอาการปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียด หรือจุกแน่น บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาเจียนเป็นเลือด มีอาการปวดได้ทั้งก่อนกินอาหาร หรือ หลังกินอาหารใหม่ ๆ และเวลาที่ท้องว่าง หรือหิว อาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ เป็นได้วันละหลายครั้ง หรือตามมื้ออาหาร มักปวดนาน 15 – 30 นาที และอาการจะบรรเทาลง เมื่อกินอาหาร ดื่มนม หรือกิน ยาลดกรด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ —>
– โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร กินยาอะไรดี?
– 10 วิธี เลี่ยงโรคกระเพาะอาหาร
อันดับ 2 โรคกรดไหลย้อน
ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ รู้สึกจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ และรู้สึกเหมือนมีอะไรติดคออยู่ตลอดเวลา มีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ในผู้ป่วยที่มีการขย้อนน้ำ และอาหารขึ้นมาขั้นรุนแรง อาจทำให้เกิดการสำลักเข้าไปในปอด จนเกิดอาการปอดอักเสบได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ —>
– รวม คำถามเรื่องกรดไหลย้อน มีคำตอบที่ GED : Ask Expert
– ทำตาม 15 วิธีนี้ กรดไหลย้อนหายชัวร์ !
– โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร แตกต่างกันอย่างไร?
อันดับ 3 ท้องเสีย อุจจาระร่วง
ผู้ป่วยจะถ่ายเป็นน้ำบ่อย ๆ และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย หากอาการรุนแรงอาจ มีไข้ ตัวร้อน และอาเจียนได้ มักจะมีอาการประมาณ 1-2 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ —>
– ท้องเสีย กินอะไรให้หายดี? สาเหตุ อาการ วิธีรักษาอาการท้องเสีย
อันดับ 4 ภาวะลำไส้แปรปรวน
โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคเรื้อรังที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต มักเป็น ๆ หาย ๆ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ปวดท้อง โดยอาการมักจะดีขึ้นหลังขับถ่าย แล้วก็กลับมาปวดท้องใหม่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ —>
– อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ต้องการความใส่ใจมากกว่าที่คิด
อันดับ 5 ไวรัสตับอักเสบบี
โรคนี้ค่อนข้างน่ากลัวมาก เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากมารดาสู่ทารกขณะคลอด อาการที่พบ เช่น มีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ตามมาด้วยตัวเหลือง ตาเหลือง
นอกจากโรค top 5 ที่เกิดจากระบบทางเดินอาหารแล้ว ก็ยังมีโรคอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น นิ่ว,โรคตับอักเสบ, โรคของท่อน้ำดี และถุงน้ำดี, มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร, ตับแข็ง, ท้องผูก, โรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น
- คลื่นไส้ ท้องอืด แน่นท้อง หน้าเหลือง อาจเสี่ยงเป็น “นิ่วในถุงน้ำดี”
- “ลำไส้อักเสบ” หายยากไหม สามารถกินอะไรได้บ้าง?
8 เคล็ดลับดูแลระบบย่อยอาหาร ให้แข็งแรง
1. รับประทานอาหารที่สะอาด และมีคุณค่าทางโภชนาการ – เลือกกินเนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ หรือจะเป็นเนื้อปลาก็ยิ่งดี เพราะย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลี่ยง เนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูป เพราะทำให้ย่อยได้ลำบาก
2. กินผัก และผลไม้เป็นประจำ – เพราะมีไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง โดยเฉพาะไฟเบอร์ มีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร และช่วยป้องกันอาการท้องผูกด้วย
- “สับปะรด” มีเอนไซม์ช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหาร
- “มะละกอ” ช่วยให้ลำไส้สะอาด และย่อยอาหารได้ดี
- “ถั่วแดง ถั่วฝักยาว ฝรั่ง มะม่วง” มีกากใยสูง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด – เพราะไม่เป็นมิตรต่อระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้เกิดกรด และแสบท้องได้
4. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด – เป็น เคล็ดลับดูแลระบบย่อยอาหาร ที่หลายคนมองข้ามไป การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ก็เพื่อให้อาหารถูกย่อยได้ง่ายขึ้น ทำให้ระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว – เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารลำเลียงอาหาร และสารอาหารได้ดีขึ้น
6. ไม่เครียดจนเกินไป และพักผ่อนให้เพียงพอ – เพราะความเครียดจะมีผลต่อกระบวนการย่อยอาหาร รวมถึงส่งผลต่ออาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ด้วย
7. ขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน – เพื่อขับถ่ายของเสีย และสารพิษออกจากร่างกาย
8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ – เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายจะกระตุ้นระบบเผาผลาญ และการย่อยอาหาร ทั้งยังช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วย
แพทย์แนะนำ พรีไบโอติกส์ และโปรไบโอติกส์ ช่วยเสริมให้ระบบย่อยดีขึ้น
นายแพทย์สยาม ศิรินธรปัญญา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้พรีไบโอติกส์ (Prebiotic) และโปรไบโอติกส์ (Probiotic) ว่า สามารถให้ผลทั้งในแง่การป้องกัน และรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย เช่น…
1. ช่วยปรับปรุงการทำงานของลำไส้ซึ่งส่งผลต่อระบบการขับถ่าย
2. ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร
3. ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้
4. ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในลำไส้
5. การรักษาการอักเสบของลำไส้
6. ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคอ้วน
7. ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
8. ช่วยส่งเสริมการดูดซึมแร่ ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก
ทั้งนี้นายแพทย์สยาม ได้กล่าวย้ำว่าพรีไบโอติกส์ และโปรไบโอติกส์แต่ละชนิดให้ผลที่แตกต่างกัน จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมในแต่ละกรณี สำหรับการเลือกใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นอกจากการเลือกชนิดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แล้ว ควรพิจารณาจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพ ไว้วางใจได้ และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ
นูโทรเพล็กซ์ โอลิโกพลัส วิตามินรวมสำหรับเด็ก ช่วยดูแลระบบทางเดินอาหารให้ลูกรัก
นูโทรเพล็กซ์ โอลิโกพลัส วิตามินรวมสำหรับเด็ก มีโอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี
- รีวิว วิตามินรวมนูโทรเพล็กซ์ ยืนหนึ่งในใจแม่ ตัวช่วยเมื่อลูกกินยาก มีปัญหาขับถ่าย
- รวมข้อสงสัยของ Nutroplex วิตามินเสริมสำหรับเด็ก กินแล้วดียังไง?
- 5 อาหาร “พรีไบโอติก” ดูแลลำไส้ ดีกับระบบขับถ่ายลูก
ติดตามสาระ ประโยชน์ดีดี พร้อมกิจกรรมและโปรโมชั่นมากมายจาก Nutroplex ได้ที่นี่ คลิก —> Nutroplex Club
อ้างอิง :
1. โรงพยาบาลเปาโล 2. สสส. 1/2 3. Helloคุณหมอ
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี