ความรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยว… อาจเสี่ยงเป็นโรคได้นะ!

27 มิ.ย. 24

ความเหงา

 

คุณอาจเคยได้ยินใครสักคนรำพึงรำพันว่า เหงาจะตายอยู่แล้ว พอกันทีกับชีวิตที่แสนโดดเดี่ยว เดียวดายแบบนี้ นั่นก็เพราะ ความเหงา ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกายของคนเราได้ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะ!

ความเหงา ก็เหมือนยาพิษ!

“คนที่โดดเดี่ยวมาก ๆ จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มากกว่าคนทั่วไป” Bruce Rabin ผู้อำนวยการโครงการ Healthy Lifestyle Program จาก University of Pittsburgh Medical Center ได้กล่าวเอาไว้

ความเหงา สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระดับยีน และสารเคมีในสมอง ทำให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาง่ายขึ้น และเมื่อเราเครียด ร่างกายก็จะหลั่งอะดรีนาลีน และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์หดหู่อย่าง คอร์ติซอล ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเรา จนก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้

ทำไมเหงาแล้วจึงป่วย?

• เสี่ยงที่จะละเลยเรื่องการดูแลตัวเอง
คนที่กินข้าวคนเดียวบ่อย ๆ มีโอกาสสูงกว่าที่จะเลือกกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คนโสด หรือผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว มักกินอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่างผักผลไม้น้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แต่งงาน เพราะเมื่อทำอาหารกินเองคนเดียว คนเรามักจะเน้นที่ความง่าย และความสะดวก ในขณะที่เมื่อต้องเผื่อคนอื่นด้วย ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่อาหารเหล่านั้นจะเป็นเมนูที่มีประโยชน์มากกว่า

• ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอาจอ่อนแอลง
ความเหงา ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณได้ คนที่อยู่ในภาวะเหงา ซึมเศร้า จะเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่2 โรคไขข้ออักเสบ และโรคอัลไซเมอร์ มากกว่าคนทั่วไป• เมื่อโรคหัวใจตามความเหงามา
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในปี 2012 พบว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนที่อาศัยอยู่ตามลำพัง มีความเสี่ยงถึง 24 % ที่จะเกิดอาการ หัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกมากมาย ที่บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้ที่อยู่คนเดียว จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงได้มากกว่า ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ไม่มีคนให้คุยด้วย ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสม และเชื่อมโยงไปถึง การเพิ่มการสะสมของ คอเลสเตอรอลในหัวใจให้สูงขึ้น

• แค่เหงาก็เสี่ยงอัลไซเมอร์
ความรู้สึกเหงา สามารถส่งผลกระทบไปยัง สารสื่อประสาทในสมองให้เปลี่ยนไปได้ ลดการทำงานของสมอง ด้านกระบวนการรับรู้ได้ราว 20% และทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ เร็วกว่าที่ควรจะเป็นตามปกติราว 12 ปี นอกจากนี้ การอยู่คนเดียว ยังลดโอกาสได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับคนอื่นน้อย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมได้

• เมื่อเหงา ก็เท่ากับติดเชื้อไวรัส
ผู้ที่รู้สึกเหงา อ้างว้าง และโดดเดี่ยวอยู่เสมอ มีแนวโน้มจะติดเชื้อไวรัส ได้เร็วกว่าคนที่ไม่เหงา เพราะ ความเหงา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแย่ลง จนทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ความเครียด และอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ได้ง่ายกว่าปกติ

• เสียสุขภาพจิต
ในทางจิตวิทยา ความรู้สึกเหงาชนิดเรื้อรัง เป็นความเหงาที่เกิดจาก ความอ้างว้างโดดเดี่ยวนอกจากจะทำให้สุขภาพจิตแย่ลงแล้ว ยังอาจผลักดันให้เกิด พฤติกรรมแปลกแยก หรือการทำร้ายตัวเองได้ เช่น ความเหงาในวัยเด็ก อาจทำให้เด็กขาดทักษะการเข้าสังคม รู้สึกแปลกแยก และกลายเป็นคนต่อต้านสังคมไป ในขณะที่ความเหงาในผู้ใหญ่ อาจพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้า หรือติดสุราเรื้อรัง นอกจากนี้ คนที่เหงามาก ๆ มักมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับสูงอีกด้วย

จะเอาชนะความเหงาได้อย่างไร?

การทำงานอาสาสมัคร หรือออกไปช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง สามารถช่วยยกระดับทางอารมณ์ของคุณให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ งานอาสา ยังเป็นการสร้างเครือข่าย ที่ทำให้คุณได้รู้จักกับคนดี ๆ ที่ช่วยให้คุณต้องเผชิญหน้า กับความเหงาน้อยลง

การฝึกทำสมาธิ ให้สติจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า-ออก จะทำให้เลิกคิดมาก ไม่ฟุ้งซ่าน ให้หมั่นทำเป็นประจำทุกวัน ก่อนนอน หรือเวลาว่างก็ได้

– ให้กำลังใจตัวเอง ว่าเราสามารถเอาชนะความเหงาได้ มองชีวิตในแง่บวกเข้าไว้ และพยายามอย่าบ่นว่า เหงา เพราะจะเป็นการบั่นทอนจิตใจเราเอง

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save