เสียงหาย ไอ เจ็บคอ มีไข้ต่ำ อาจเสี่ยงเป็น “กล่องเสียงอักเสบ”

1 ก.ค. 24

กล่องเสียงอักเสบ

 

กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) คือ ภาวะอักเสบของกล่องเสียง มักจะเกิดจากการใช้เสียงมากเกินไป และการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย วัณโรค เป็นต้น หรือเกิดจากการใช้เสียงมากเกินไปก็ได้ โดยเฉพาะ อาชีพนักร้องที่มักมีข่าวเรื่องโรคนี้บ่อย ๆ หรือผู้ที่ต้องใช้เสียงดังเป็นประจำทั้งวัน บางรายอาจเกิดจากการระคายเคือง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา

หากการอักเสบ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เชื้อจะแพร่กระจาย ไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนอื่นได้ ในกรณีที่กล่องเสียงอักเสบ เกิดจากภาวะเส้นเสียงเป็นอัมพาต อาจส่งผลกระทบต่อการกลืน ทำให้อาหาร หรือเครื่องดื่มเข้าไปในกล่องเสียงและปอด จนเกิดอาการไอ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบจากการลำลักได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการ กรดไหลย้อนเรื้อรัง และไม่ได้รักษาให้หายขาด กรดจากกระเพาะอาหาร อาจไหลย้อนผ่านกล่องเสียง หรือเข้าไปที่ปอด จนเกิดภาวะปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้เช่นกัน

อาการของ กล่องเสียงอักเสบ

ผู้ป่วยกล่องเสียงอักเสบ ส่วนใหญ่มักเป็นแบบเฉียบพลัน และมีอาการแย่ลงภายในเวลาไม่กี่วัน อาการหลักที่พบได้บ่อยคือ เสียงแหบ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

• เสียงหาย เสียงแหบ
• พูดไม่ชัด
• เจ็บคอ ไอ
• ระคายเคืองคอ รู้สึกอยากกระแอมไอตลอดเวลา
• มีไข้ต่ำ
• กลืนลำบาก หายใจติดขัด

อาการของโรคกล่องเสียงอักเสบ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. กล่องเสียงอักเสบแบบเฉียบพลัน
2. กล่องเสียงอักเสบแบบเรื้อรัง

นอกจากนี้ ภาวะ กล่องเสียงอักเสบ มักเกิดขึ้นร่วมกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น

• ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่
• คออักเสบ หรือทอนซิลอักเสบ
• ปวดหัว
คัดจมูก
• ต่อมน้ำเหลืองบวม
เจ็บคอขณะกลืน รู้สึกเหนื่อย และปวดตามร่างกาย เป็นต้น
• หากเกิดในเด็ก อาจส่งผลให้กล่องเสียงบวม จนหายใจลำบาก

สาเหตุของ กล่องเสียงอักเสบ

กล่องเสียงอักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามที่กล่าวไปข้างต้น ก็คือ กล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน กับ กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง

1. กล่องเสียงอักเสบชนิดเฉียบพลัน

เป็นภาวะอักเสบบริเวณเส้นเสียง ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และมีอาการติดต่อกันเพียงไม่กี่วัน สาเหตุที่ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบชนิดเฉียบพลัน ได้แก่

• ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
• ใช้เสียงมากเกินไป หรือใช้เสียงผิดวิธี
• ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

2. กล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง

มีเสียงแหบเป็นระยะเวลานาน เค้นเสียงเวลาพูดรู้สึกเมื่อยที่คอ และเหนื่อยง่ายเวลาพูด หากตรวจดูกล่องเสียงจะพบว่า สายเสียงบวมหนา มีขนาดโตขึ้น ส่วนใหญ่มักมีอาการนานเกิน 3 สัปดาห์ มักเป็น ๆ หาย ๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง ได้แก่

• ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน
• ได้รับสารพิษ จากมลพิษทางอากาศ หรือสูดดมควันบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ไอเรื้อรัง
กรดไหลย้อน
• มีอาการระคายเคืองที่เส้นเสียงเรื้อรัง จนเกิดติ่งเนื้อ หรือตุ่มเล็ก ๆ ที่เส้นเสียง ทำให้เส้นเสียงไม่สามารถสั่นได้ตามปกติ และเกิดอาการเสียงแหบตามมา
• ใช้เครื่องพ่นยาทางจมูก ติดต่อกันเป็นเวลานาน
• ใช้เสียงมากเกินความจำเป็น หรือใช้เสียงผิดวิธีติดต่อกัน
• ป่วยด้วยภาวะเส้นเสียงอัมพาต หรือเป็นมะเร็งกล่องเสียง

การรักษากล่องเสียงอักเสบ

ภาวะกล่องเสียงอักเสบ ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องรับการรักษาจากแพทย์ โดยการกินยา และดูแลตัวเอง ดังต่อไปนี้

• พักการใช้เสียง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

• ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน

• กลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือ หรือใช้ยาอมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ

• หลีกเลี่ยงการพูดในกรณีที่ไม่จำเป็น เวลาพูด ควรพูดด้วยเสียงธรรมดา ไม่ควรกระซิบ เพราะจะยิ่งทำให้เส้นเสียง ได้รับการกระทบกระเทือนมากขึ้น

• รับประทานยาแก้ปวด แก้ไข้หวัด ในกรณีที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหัว เป็นไข้ เป็นต้น

• หลีกเลี่ยงการใช้ยา แก้คัดจมูก เนื่องจาก อาจทำให้คอแห้งยิ่งขึ้น

• หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นควัน และมลพิษทางอากาศ

• ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นภายในห้อง หรือน้ำมันหอมระเหย เพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น

สำหรับผู้ที่มีอาการ กล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์จะรักษาตามสาเหตุ และอาจมีการใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการอักเสบด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะกล่องเสียงอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยกำจัดเชื้อ และลดการอักเสบได้

การป้องกันกล่องเสียงอักเสบ

ภาวะ กล่องเสียงอักเสบ สามารถป้องกันได้โดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และดูแลรักษาเส้นเสียง ด้วยวิธีต่อไปนี้

• ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อลดมูก หรือเสมหะภายในลำคอ และช่วยให้ขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น

• งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ หรือการรับมลพิษทางอากาศ เพราะจะทำให้เส้นเสียงระคายเคืองได้

• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เพราะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้นได้

• หลีกเลี่ยงการตะโกน หรือพูดเสียงดังเป็นเวลานาน เพื่อไม่ให้เส้นเสียง และกล่องเสียง กระทบกระเทือนจนเสียหาย

• หลีกเลี่ยงการขากเสมหะ เนื่องจากจะทำให้เส้นเสียงสั่นผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการบวม และอักเสบตามมาได้

• หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้ หวัด หรือผู้ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้กล่องเสียงอักเสบ

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ อี ซี อย่างเพียงพอ วิตามินเหล่านี้ จะช่วยให้เยื่อเมือกภายในคอชุ่มชื้นอยู่เสมอ

• หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก และกล่องเสียงอักเสบตามมาได้

 

อ้างอิง : si.mahidol / pobpad


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save