ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน

28 มิ.ย. 24

ฝุ่น PM2.5

 

ตื่นเช้ามา เห็นหมอกหนาทึบ ปกคลุมท้องฟ้า นึกว่าอากาศหนาว แต่ที่ไหนได้… มันกลับเป็น มลพิษร้าย PM 2.5 ที่แวะเวียนกลับมาเยือนเราทุกต้นปี! ฉะนั้นวันนี้ GedGoodLife จึงขอเล่าถึง ความร้ายกาจของเจ้า ฝุ่น PM2.5 นี้ให้หายสงสัยกัน ว่ามีสาเหตุจากอะไร ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเรายังไง มีผลต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 หรือไม่ มีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง? มาติดตามกันเลย!

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย อัลเลอร์นิค

ฝุ่น PM2.5 คืออะไร?

ตามคําจํากัดความของสํานักป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environmental Protection Agency ; US.EPA) ระบุว่า PM2.5 หมายถึง ฝุ่นละเอียด เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (ด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ เราจึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมาก ๆ เราจะเห็นคล้ายกับมีหมอก หรือควันบนท้องฟ้า)

ความร้ายแรงของเจ้าฝุ่นพิษนี้ คือ มันสามารถผ่านการกรองของขนจมูก และเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมา

เกร็ดความรู้ :

  • PM2.5 นี้ มีขนาดเล็กกว่าขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ถึงครึ่งหนึ่ง! ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอย และกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้
  • PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า!
  • PM 2.5 สามารถลอยอยู่ในอากาศได้เป็นวัน ถึงหลายสัปดาห์ และลอยไปจากแหล่งกำเนิดประมาณ 100 กิโลเมตร ถึง 1000 กิโลเมตร โดยประมาณ

*PM ย่อมาจาก Particulate Matters

ค่าฝุ่นPM2.5

แหล่งกำเนิดหลักของ ฝุ่น PM2.5 มีอะไรบ้าง?

– ควันเสียของรถยนต์
จากข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษ การเผาไหม้น้ำมันดีเซลบวกกับการจราจรที่ติดขัด น่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5

– โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม
การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะถ่านหิน

– ควันที่เกิดจากหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน การเผาในที่โล่ง
การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ของภาคการเกษตรเพื่อเตรียมการเพาะปลูก, การเผาป่า, และการเผาขยะ

– เกิดจากการทำปฏิกิริยาของก๊าซชนิดต่าง ๆ
เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซต์ของไนโตรเจน (NOX) และสารอินทรีย์ ระเหยง่าย (VOCs) ทําปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทําให้เกิดเป็นฝุ่นละเอียดได้อีกด้วย

อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 มีอะไรบ้าง?

ฝุ่น PM2.5 ทำร้ายสุขภาพเรา ยังไงบ้าง?

อย่าประมาทเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้ว่าจะไม่สามารถทำอะไรร่างกายเราได้ เพราะ มันร้ายกว่าที่เราคิดมาก! โดยฝุ่นจิ๋วนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และไปทำร้ายอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างรุนแรง ฉะนั้นการเผชิญกับฝุ่นPM2.5 อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราได้ ดังนี้

ฝุ่น PM2.5

• ทำร้ายระบบประสาท และสมอง
มีสติปัญญาด้อยลง สมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ ทำให้สมองส่วนเนื้อขาว มีการฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติ สมาธิสั้น ซึมเศร้า

• ทำร้ายปอด
ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาพอมีแทรกตัวผ่านด้านต่าง ๆ มาจนถึงปอด หาก PM2.5 สะสมอยู่ในร่างกายนาน จะเกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคหอบหืด โรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ

• ทำร้ายผิวหนัง
ใครที่แพ้ฝุ่นง่าย โรคภูมิแพ้ผิวหนังจะกำเริบ ทำให้ผิวหนังอักเสบ คัน สิวขึ้น ผมร่วง และเป็นโรคสะเก็ดเงินได้

• ทำร้ายดวงตา
ถ้าฝุ่นละออง PM2.5 เข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล ตาไม่สามารถสู้แสงแดดได้ และอาจเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแดง ต้อเนื้อ ต้อลม และตากุ้งยิงได้

• ทำร้ายจมูก และปาก
แสบจมูก น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ไอ จาม ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด

• ทำร้ายหัวใจ
อาการหนักของคนที่สูดดมเอาฝุ่นPM2.5 เข้าไปต่อเนื่อง จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

• ทำร้ายเด็กแรกเกิด
ละอองฝุ่นพิษ สามารถเข้าสู่ทารกผ่านทางกระแสเลือดในขณะที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ทำให้ทารกที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และมีผลต่อการพัฒนาสมองได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะความผิดปกติของปอด อาการหอบหืด ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงอาจเป็นสาเหตุของการโรคมะเร็งในเด็กได้

แพ้ฝุ่น จะเลือกกินยาแก้แพ้อย่างไรดี ?

อาการแพ้ฝุ่น คือหนึ่งในอาการของภูมิแพ้ หรือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ ซึ่งบางคนอาจจะมีอาการแพ้กับร่างกายได้หลายระบบ เช่น อาจมีอาการผื่นขึ้นที่ผิวหนังร่วมด้วย ซึ่งการรักษาด้วยยา ก็สามารถใช้ยาแก้แพ้ได้

ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสทามีน (Antihistamines) ใช้รักษา และระงับอาการโรคภูมิแพ้ รวมถึงอาการแพ้อื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการหลั่งสารฮิสตามีนออกมาเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดอาการคัน จาม มีน้ำมูก น้ำตาไหล

การใช้ยาลอราทาดีน

  • ทานยาพร้อมน้ำเปล่าเพียง วันละ 1 เม็ด เท่านั้น
  • ใช้ยาในปริมาณ และระยะเวลาตามฉลากกำกับ หรือ แพทย์สั่ง
  • อย่ากัด หรือเคี้ยวเม็ดยา ควรรับประทานโดยกลืนยาลงไปทั้งเม็ด
  • เมื่อลืมรับประทานยาให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลาของมื้อต่อไป ให้รอกินยาของมื้อต่อไป และไม่ควรกินยาเพิ่มเอง
  • ควรแจ้งแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
  • เก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส

*นักบิน หรือ ผู้ขับขี่รถยนต์ สามารถทานยาชนิดนี้ได้ เพราะไม่ทำให้ง่วงซึม

ขนาดและวิธีใช้ : สำหรับยาลอราทาดีน ขนาด 10 มล. ผู้ใหญ่ และเด็กอายุเกิน 12 ปี ทาน 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง

เมื่อมีอาการ แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ มีอาการคัน น้ำมูกไหล ไอจาม จากภูมิแพ้ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา เพื่อซื้อยาต้านฮีสทามีน หรือยาแก้แพ้กินได้เอง เช่น ยาลอราทาดีน แต่ควรกินตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือ แพทย์ด้วย

ใส่หน้ากากอนามัย หรือ หน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่นกันเถอะ!

ถึงแม้ฝุ่นร้ายนี้จะอันตรายแค่ไหน แต่ถ้าเรารู้จักป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกัน และลดปริมาณฝุ่นละอองเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

โดยหน้ากากอนามัย N95 จะเป็นหน้ากากที่เหมาะสมที่สุดในการป้องกันฝุ่น PM2.5 เพราะเป็นหน้ากากชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้

ทั้งนี้การสวมใส่หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป ถึงแม้จะมีความหนาน้อยกว่าหน้ากาก N95 แต่ก็สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ๆ ได้ดีเช่นกัน และหายใจสะดวกกว่าด้วย

รวม 10 วิธี ป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5

1. สวมใส่หน้ากากอนามัย N95 หรือหน้ากากอนามัยทั่วไป ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

2. กลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในสถานที่มีฝุ่นละออง PM2.5 เยอะ เช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น

3. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ หรือ เครื่องกรองอากาศ ไว้ภายในบ้าน และควรเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมกับห้องที่เราต้องการติดตั้ง เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น

4. ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน

5. ปลูกต้นไม้ที่สามารถดักจับฝุ่นละอองได้ ไว้ภายในบ้าน หรือบริเวณรอบบ้าน เช่น กระถิน มะขาม, ขนุน, มะม่วง, พลูด่าง, ไทรใบเล็ก, เศรษฐีเรือนใน, วาสนาอธิษฐาน, จั๋ง เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม –> 8 ต้นไม้ไล่ภูมิแพ้ ปลูกในบ้าน ฟอกอากาศดีเยี่ยม!

6. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานหนักนอกบ้าน

7. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อชำระล้างพิษในร่างกาย ให้ขับออกมาทางปัสสาวะ

8. งดสูบบุหรี่ในช่วงที่พบฝุ่นละอองในอากาศมาก

9. ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการปล่อยมลพิษ

10. ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่มีสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป

ฝุ่น PM2.5

PM 2.5 ส่งผลต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 หรือไม่?

ทิ้งท้ายด้วยประเด็นที่หลายคนกำลังสงสัยว่า PM 2.5 มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 (Covid-19) หรือไม่ มาดูคำตอบจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กัน

ถาม : โอกาสการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 จะมีสูงหรือไม่ในสภาพอากาศฝุ่น PM2.5 สูงขึ้น?

ตอบ : นพ.โอภาส การ์ยกวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า “ไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันชัดเจน อย่างไรก็ตาม ฝุ่นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นเซลล์ตรงเยื่อจมูกอ่อนแอลง ก็ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น แต่ปัจจัยทางสังคม เมื่อมีฝุ่นมากคนก็จะไม่ออกจากบ้าน หรือลดการทำกิจกรรมลง ก็ทำให้ความเสี่ยงลดลงด้วย ยกเว้นว่า หากรับเชื้อโควิด และรับฝุ่น PM2.5 เมื่อเข้าไปในปอดจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการสัมผัสฝุ่นละอองอย่างเหมาะสม โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้ที่แอปพลิเคชัน Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ

และขอให้ประชาชนลดการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น ลดการใช้รถยนต์ และรถที่มีควันดำ ลดการเผาขยะ หรือเผาในที่โล่งแจ้ง รวมถึงดูแลทำความสะอาดบ้าน ให้ปลอดฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด

ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกบ้านหรือทำกิจกรรม นอกบ้าน เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณหรือเส้นทางที่มีฝุ่นหนาแน่น หากจำเป็นควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด”

 

อ้างอิง : 1. http://hpc2.anamai.moph.go.th 2. hfocus.org 3. sikarin.com 4. bangkokhospital-chiangmai.com

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save