ฟุ้งซ่านนนน คิดเยอะ คิดมาก ควรระงับยังไงดี?

27 มิ.ย. 24

ฟุ้งซ่าน

 

การคิดใคร่ครวญ และไตร่ตรองอย่างระมัดระวังวังนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การใช้เวลานานนับชั่วโมง เพื่อตัดสินใจเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่โดยปกติน่าจะผ่านมันไปได้ง่าย ๆ แต่ครั้งนี้กลับคิดเยอะ คิดวนซ้ำไปซ้ำมา รู้สึกจิตใจอ่อนไหวง่ายต่อคำพูดคน และยังอาจจะหวั่นวิตกมากขึ้นกว่าเดิมเรื่อย ๆ ด้วย แต่ไม่ต้องกังกวลจนเกินไป เพราะ ในโลกใบนี้ยังมีคนอีกมากที่ชอบคิด ฟุ้งซ่าน วันนี้ Ged Good life ได้รวบรวมวิธีแก้คิดมาก คิดเยอะ มาให้คุณดู และลองเอาไปปรับใช้กันแล้ว

decolgen ดีคอลเจน

10 วิธีง่าย ๆ ระงับความคิด ฟุ้งซ่าน

1. สังเกตความคิดของตัวเอง

สิ่งสำคัญที่สุดของการทำสมาธิคือ การปล่อยให้ความคิดลอยผ่านไป ไม่ยึดติดอยู่กับความคิดนั้น การฝึกสมาธิแบบเจริญสติ หรือ Mindfulness Meditation เป็นสิ่งที่สามารถช่วยให้ หยุดหมกมุ่นกับเรื่องในอดีตได้ ให้คุณลองสังเกตความคิดของตัวเอง เข้าใจในความคิด โดยอาจพิจารณาจากมุมมองของบุคคลที่ 3 แทนที่จะจมอยู่กับมัน

2. กำหนดช่วงเวลาสำหรับ ใช้ความคิด และหยุดความคิด

การกำหนดช่วงเวลาสำหรับหยุดใช้ความคิด จะช่วยห้ามไม่ให้คุณหมกมุ่น กับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น การไม่คิดถึงเรื่องงาน หรือเรื่องยาก ซับซ้อน หลังสองทุ่ม เพื่อไม่ให้เรื่องเหล่านี้รบกวนเวลานอนหลับ ในทางกลับกัน คุณอาจแบ่งเวลาช่วงหนึ่งของวัน เพื่อนั่งคิดโดยเฉพาะ ปล่อยให้ตัวเองวิตกกังวล ครุ่นคิด และฟุ้งซ่านได้อย่างเต็มที่ และเมื่อหมดเวลา ก็เปลี่ยนไปทำสิ่งอื่นที่มีประโยชน์กว่า แบบนี้ เมื่อคุณเริ่ม ฟุ้งซ่าน อีก ก็สามารถบอกตัวเองได้เวลา เก็บไว้คิดในช่วงเวลาที่แบ่งเอาไว้แล้วได้

3. เบี่ยงเบนความคิดของตัวเอง

หากคุณรู้สึกว่า ความคิดของตัวเองกำลังหมกมุ่น อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปแล้ว ให้ลองหากิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองดู เพราะการจดจ่อกับสองสิ่งพร้อมกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยให้เลือกกิจกรรมที่ใช้ทั้งร่างกาย ความคิด และมีการร่วมทำร่วมกับผู้อื่น เช่น เล่นเกม หรืออกไปทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ หรือครอบครัว

4. ตั้งมั่นกับสิ่งที่ทำได้ในปัจจุบัน

วิธีแก้ฟุ้งซ่าน วิธีหนึ่งก็คือ เลิกคิด แล้วลงมือทำไปเลย ไม่ต้องสนใจว่าคุณจะต้องทำอะไร และมันจะให้ผลลัพธ์แบบไหน เลิกสนใจในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ และสิ่งที่ยังไมได้เกิดขึ้น หรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แล้วจดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ในปัจจุบันก็พอ ไม่ว่าจะใหญ่ หรือเล็กแค่ไหนก็ตาม เลิกคิด แล้วลงมือทำซะ

5. เขียนสิ่งที่คิดอยู่ออกมา

อีกวิธีหนึ่ง ที่อาจช่วยหยุดความคิดฟุ้งซ่านของคุณได้ ก็คือ การระบายความคิด ให้กับคนที่มีมุมมอง และวิธีคิดต่างจากคุณฟัง หรือจะเขียนระบายความคิดของตัว ลงไปในกระดาษก็ได้ การเขียนจะทำให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบ ถ้าคุณเก็บความคิดเหล่านั้นเอาไว้แต่ในหัว มันก็จะทำให้คุณวนกลับมาคิดเรื่องเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น

6. เลิกคิดถึงความผิดพลาดในอดีต

การเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตเป็นสิ่งที่ดี และเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่การนั่งคิดถึงเรื่องผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกวนไปวนมา เฝ้าโทษตัวเองซ้ำ ๆ อยู่อย่างนั้น เป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ เพราะนอกจากคุณจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ยังทำให้ตัวเองคิดมาก และเครียดโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

7. ลดความคาดหวังต่อผลลัพธ์ลงบ้าง

บ่อยครั้ง ที่ความฟุ้งซ่าน ก็เกิดจากการที่เราหวาดกลัวต่อผลลัพธ์มากเกินไป คิดมากเกินไป กลัวว่าจะทำไม่ได้อย่างที่หวัง กลัวว่า เรื่องต่าง ๆ จะไม่เป็นอย่างที่คิด ปล่อยวางบ้าง ทำเท่าที่จะทำได้ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น คุณต้องฝึกยอมรับว่า เรื่องทุกอย่าง อาจไม่เป็นอย่างที่คาดเอาไว้ ไม่ว่าจะทำอะไร หรือคิดมากแค่ไหน ก็มีสิ่งที่คาดเดาไม่ได้เกิดขึ้นได้เสมอ

8. ลดการวิเคราะห์ลงบ้าง

ปล่อยกาย ใจ และความรู้สึก ให้ผ่อนคลายมากขึ้น บอกตัวเองว่า คุณต้องรู้จักการพอ ยอม และไม่เอาตัวเอง ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เพราะทุกคนต่างก็มีขีดจำกัด และเงื่อนไขในการทำสิ่งต่าง ๆ เป็นของตนเอง และต่างกันออกไปทั้งนั้น

9. การตัดสินใจที่ผิดพลาด สามารถเปลี่ยนแปลงได้

เป็นเรื่องปกติ ที่คุณจะกังวลว่าอาจเลือกงานผิด แต่งงานกับคนที่ไม่ใช่ หรือแม้แต่ขับรถผิดทาง แต่ความผิดพลาดมากมาย ก็ไม่ได้นำไปสู่หายนะเสมอไป มีเรื่องจำนวนมาก ที่ถึงทำผิดพลาดไปแล้ว ก็สามารถแก้ไขได้ โดยไม่เกิดผลเสียอะไรมากนัก และบางครั้ง ความผิดพลาดนั้น ก็อาจเป็นโอกาสให้คุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

10. ใช้ธรรมะเข้าช่วย

ว่ากันว่า ธรรมะ คือทางออกที่ดีที่สุด สำหรับคนที่กำลังมีความคิดฟุ้งซ่าน วิตกจริต โดยการทำสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก (อานาปานสติกรรมฐาน) หายใจเข้า รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก ก็ให้รู้ว่า กำลังหายใจออก หรือ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ก็จะเป็นการทำสมาธิแบบง่าย ๆ แต่ได้ผลดีทีเดียว แถมยังสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็น ยืน เดิน นั่ง นอน รับรองว่าหายฟุ้งซ่านแน่นอน!

อารมณ์วิตกจริต คิดนั่นนี่ ฟุ้งซ่านไปเรื่อย ถ้าไม่รีบแก้ไข อาจนำพาโรคต่าง ๆ มาสู่เราได้ เช่น โรคซึมเศร้า ไมเกรน ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อรู้ตัวว่าตัวเองกำลังคิดมาก คิดเยอะ ให้ลองนำ 10 ข้อนี้ไปปฎิบัติดู เชื่อว่าจะช่วยได้มากเลยทีเดียว…


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save