วิธีสยบ ไมเกรน แบบไม่ต้องใช้ยา

27 มิ.ย. 24

ไมเกรน

 

ไมเกรน (Migraine) คือ อาการปวดศีรษะข้างเดียว ซึ่งเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณบ่า คอ ท้ายทอย และเกิดก้อนเนื้ออักเสบที่เรียกว่า Trigger Point บริเวณดังกล่าว มีผลทำให้เลือด และออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณศีรษะได้ไม่สะดวก

เมื่อมีความเครียด มี ‘ แสง สี เสียง กลิ่น ‘ รบกวน  พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เป็นประจำ จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น จึงเกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือไม่ก็ปวดสลับข้าง หรือมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้

ปวดตุ้บ ๆ เป็นจังหวะ ปวดมากขึ้นเมื่อขยับร่างกาย ปวดมากจนไม่เป็นอันทำอะไร ทนแสงแดดจ้าหรือเสียงดังไม่ค่อยได้  มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยเป็นบางครั้ง จะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 – 72 ชั่วโมง

รู้ได้อย่างไรว่าเป็น ไมเกรน

สังเกตตัวเองเวลาปวดศีรษะ เมื่อกินยาแก้ปวดศีรษะแล้วไม่หาย  ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ และมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น เข้าข่ายเป็นโรค ‘ไมเกรน’ ค่ะ

ตัวเร่งที่ไปกระตุ้นการเกิดไมเกรน มีดังนี้

  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงช่วงมีประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน หรือการกินยาเม็ดคุมกำเนิด
  • อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อกโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ
  • การกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นบุหรี่ กลิ่นฉุนต่างๆ
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น นอนดึก นอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไป
  • สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ฝุ่นควัน
  • ความเครียดไม่ได้ทำให้เป็นไมเกรนแต่อย่างใด แต่ด้วยพันธุกรรมทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อไมเกรนอยู่แล้ว เป็นไมเกรนขึ้นมาได้
  • เมื่อใดก็ตามที่เครียด จะปวดหัวได้ 2 แบบ แบบแรก คือมึน ๆ เรียกปวดหัวเครียด และแบบสอง คือปวดหัวแบบไมเกรน หรือแบบผสม เช่น ปวดตุ้บ ๆ คลื่นไส้ อาเจียน

การรักษาไมเกรน 

ยังไม่มีวิธีการรักษาใด ๆ ที่ช่วยให้หายขาดได้  เพียงแค่บรรเทาอาการปวดศีรษะให้ทุเลาลงเท่านั้น

  1. ราดน้ำบนศีรษะด้วยน้ำเย็นต่อเนื่องกัน 5 -10 นาที หรือแปะด้วยถุงเจลแช่เย็น (Cold Pad) บริเวณหน้าผากและเบ้าตา  และรีบนอนทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ
  2. กายภาพบำบัด หรือนวดกดจุดลดขนาดพังผืดบริเวณบ่า และกดเพื่อทำให้จุดกดเจ็บ (Trigger Point )ให้มีขนาดลดลง ตลอดจนกดจุดบริเวณบ่า คอ ไหล่ และบริเวณศีรษะด้านที่ปวด รักษาได้ทั้งอาการไมเกรนเฉียบพลัน และป้องกันการกลับมาของอาการไมเกรนได้ดี

รับมือกับไมเกรนอย่างไรไม่ให้ทรมาน

แม้ว่าอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนจะรักษาไม่หาย แต่สามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทา และลดความถี่ในการถูกกระตุ้นจนเกิดอาการปวดได้โดยปฏิบัติดังนี้

  • นอนหลับให้เพียงพอ ควรนอนให้ได้ประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน
  • หยุดพักร่างกายเมื่อมีอาการ ทำสมาธิ หรือนอนพัก ร่วมกับการประคบน้ำเย็นบริเวณต้นคอ พร้อมกับนวดบริเวณที่ปวดก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และลดความเครียดซึ่งอาจจะช่วยลดความถี่ของการปวดได้
  • จดบันทึกอาการปวดที่เป็น เช่น วัน เวลา ระยะเวลา ลักษณะอาการปวด อาหารที่รับประทาน รวมถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่ทำให้เป็น

เมื่อไรควรรีบไปพบแพทย์

ถ้ามีอาการปวดศีรษะ แล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง ตาเห็นภาพซ้อน ตาเหล่ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แบบนี้ไม่ใช่ไมเกรนแน่ แต่เป็นความผิดปกติทางระบบประสาท หรืออาการปวดศีรษะแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน เช่น ปวดต่อเนื่องยาวนานไม่ดีขึ้นแม้ใช้ยา แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก พูดไม่ออก ถ้ามีอาการแบบนี้ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

แม้อาการปวดศีรษะแบบไมเกรนจะไม่น่าคบหาสมาคม แต่เมื่อเป็นแล้วรู้จักรับมืออย่างถูกวิธี ไมเกรนก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันแต่อย่างใดนะคะ

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save