เสมหะ เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่เป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ในบางรายที่ต้องเผชิญกับอาการไอ มีเสมหะในคอตลอดเวลา เป็นเรื้อรังนานเป็นเดือน ขากก็ไม่ค่อยออก หายใจก็ไม่ค่อยสะดวก ต้องเช็กกันหน่อยว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะอาจเสี่ยงเเป็นโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ได้
- ไอบ่อย มีเสมหะ กลืนจนเจ็บคอไปหมด เป็นเพราะอะไร แก้ไขยังไงดี?
- วิธีลดหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้น้ำมูกอุดตัน ทำง่าย ได้ผลจริง!
- หวัดลงคอ ทั้งคัน คัดจมูก น้ำมูกไหล ควรดูแลตนเองอย่างไรดี?
เสมหะในคอ มาจากไหน?
เมือกที่หลั่งจากจมูก ไซนัส คอ หลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก เราเรียกเมือกนี้ว่า “เสมหะ – Phlegm” โดยปกติร่างกายเราจะมีการสร้างเมือก หรือเสมหะนี้อยู่แล้ว จากเซลล์ในจมูก ในทางเดินหายใจ และหลอดลมเล็ก เมื่อเกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะมีกลไกกระตุ้นการหลั่งเสมหะจากต่อมสร้างเสมหะออกมาเคลือบบริเวณลำคอ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเซลล์เยื่อบุ และหากหลั่งมากจะเกิดการรวมตัวเป็นเสมหะ หรือจับกันเป็นก้อนเหนียว
รู้หรือไม่? เสมหะก็มีประโยชน์ช่วยปกป้องทางเดินหายใจของเรานะ
เสมหะที่ติดอยู่ในคอเรา อาจจะสร้างความรำคาญใจให้แก่เราอยู่บ่อยครั้ง แต่รู้หรือไม่ว่า เสมหะในคอก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยหน้าที่ของเสมหะจะช่วยดักจับฝุ่น เขม่า ควันพิษ เชื้อโรคไวรัส แบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เพื่อปกป้องทางเดินหายใจของเรา ป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกาย เมือกเหล่านี้ถ้าอยู่ในจมูกก็จะเรียกว่า “น้ำมูก” ถ้าอยู่ในคอก็จะเรียก “เสมหะ”
มีเสมหะในคอตลอดเวลา อาจเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?
1. เป็นหวัด
หรือ โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้หลายชนิด และมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยร่างกาย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดทั้งปี! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการป้องกัน
2. โรคจมูกอักเสบ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้
เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ เนื้อเยื่อบุโพรงจมูกมักอ่อนไหวผิดปกติ ทำให้เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ จึงไปกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูก และอาจทำให้มีน้ำมูกไหลออกมาจมูกส่วนหน้า หรือมีน้ำมูกไหลลงคอได้ ซึ่งน้ำมูกที่ไหลลงคอ ก็จะกลายเป็นเสมหะ หรือเสลดในลำคอ
อ่านเพิ่มเติม : โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
3. โรคไซนัสอักเสบ
มีสาเหตุมาจากการอักเสบของเยื่อบุจมูก และไซนัส ทำให้ไปกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในโพรงจมูก และมีน้ำมูกไหลลงคอ ทำให้รู้สึกเหมือนมีเสมหะตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อนอนลง น้ำมูกก็จะไหลลงคอมากขึ้น
นอกจากนี้ สารคัดหลั่งที่ออกมาจากไซนัส อาจไหลผ่านรูเปิดของไซนัสออกมา ทำให้ไหลลงคอ และกลายเป็นเสมหะได้เช่นกัน และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คัดจมูก แน่นจมูก ได้กลิ่นลดลง ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ปวดศรีษะ ปวดตามโหนกแก้ม หน้าผาก เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : ไซนัสอักเสบ หายได้ถ้ารู้เท่าทัน!
4. โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหอบหืด จะทำให้เยื่อบุหลอดลมอักเสบ โดยมีสาเหตุมาจากเกิดการระคายเคืองต่อสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จนเกิดการอักเสบ และส่งผลให้ต่อมสร้างเสมหะ สร้างเสมหะขึ้นมาเพื่อเคลือบหลอดลมตลอดเวลา และมักมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก หายใจเสียงดังวี๊ด ๆ เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ร่วมด้วย
อ่านเพิ่มเติม : ไอเรื้อรัง มีเสลด และเลือด อาจเสี่ยงเป็น “โรคหลอดลมอักเสบ”
5. ภูมิแพ้อากาศ
เมื่อหายใจเอาสารเคมี มลพิษ ฝุ่นละออง ควันบุหรี่เข้าไปบ่อย ๆ จะเกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้มีน้ำมูกมาก และไหลลงคอจนเป็นเสมหะได้ มักมีน้ำมูกใส จาม คันจมูก คันหัวตา ร่วมด้วย
อ่านเพิ่มเติม : ภูมิแพ้อากาศ รวมปัจจัยกระตุ้น และ วิธีรักษาให้หายดี
6. โรคกรดไหลย้อน
เมื่อเป็นกรดไหลย้อน น้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณลำคอ จะทำให้เกิดการระคายเคืองคอ และมีเสมหะได้ และอาจมีอาการมากขึ้นเมื่อนอนลง อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น แสบร้อนจากช่วงอกไปจนถึงลิ้นปี่ เจ็บหน้าอก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในคอ เรอบ่อย เจ็บคอ ระคายเคืองคอ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : ทำตาม 15 วิธีนี้ กรดไหลย้อนหายชัวร์ !
7. ติดเชื้อเรื้อรังที่ลำคอ
การติดเชื้อในลำคอ อาจเกิดได้จากหลายโรค เช่น วัณโรค หรือมะเร็งในช่องคอ ซึ่งจะส่งผลให้ลำคอเกิดการอักเสบขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจึงจำเป็นต้องสร้างเสมหะออกมาเพื่อเคลือบลำคอ ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเรื้อรัง มักจะมีเสมหะอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะได้รับการกำจัดออกไป หรือได้รับการรักษาให้หายขาด
5 พฤติกรรม ทำให้เกิดเสมหะเรื้อรังในคอ
คนไข้บางคนไปตรวจสุขภาพมา แต่ก็ยังไม่รู้สาเหตุว่าการมีเสมหะในคอตลอดเวลา เกิดจากโรคอะไรกันแน่ คนไข้เหล่านี้อาจจะต้องย้อนกลับมามองดูพฤติกรรม หรือไลฟ์สไตล์ตัวเองว่า ก่อให้เกิดเสมหะในลำคอหรือไม่ เช่น
- สูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์จัด
- นอนดึก ตื่นเร็ว ภูมิต้านทานต่ำ
- กินอาหารเร่งรีบ ที่เต็มไปด้วยน้ำมัน กะทิ
- กินกาแฟที่มีน้ำแข็งเยอะ ๆ ใส่ครีม
บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมคนอื่นไม่เป็นล่ะ? ก็ต้องตอบว่า ร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน ถ้าเขาไม่เป็นแต่เราเป็น แสดงว่าร่างกายเราไวต่อสิ่งเหล่านี้มากกว่าคนอื่นนั่นเอง ลองหยุดพฤติกรรมข้างต้นนี้ดู อาการเสมหะในคอจะดีขึ้นได้แน่นอน
สีเสมหะ ก็สามารถบอกโรคต่าง ๆ ได้นะ
เสมหะสีใส – โรคภูมิแพ้ ปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ
เสมหะสีขาว – โรคหลอดลมอักเสบ กรดไหลย้อน ภาวะหัวใจล้มเหลว และปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว – โรคไซนัสอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม และโรคซิสติกไฟโบรซิส หรือโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้สารคัดหลั่งในร่างกายเหนียวข้น
เสมหะสีแดง – เป็นสัญญาณของภาวะเลือดออกในร่างกาย อาจเป็นอาการแสดงของ โรคมะเร็งในปอด ฝีในปอด ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด วัณโรค หรืออาการภาวะหัวใจล้มเหลว
เสมหะสีดำ – อาจเป็นสัญญาณของโรคฝีในปอด ฝุ่นจับปอด โรคที่เกิดจากการติดเชื้อราในปอด รวมไปถึงการสูบบุหรี่
วิธีกำจัดเสมหะในคอ
ไอให้เสมหะออกมา – สามารถใช้ได้เฉพาะในผู้ที่มีเสมหะในลำคอเท่านั้น โดยให้สูดหายใจเข้าไปลึก ๆ ให้ลมหายใจเข้าไปอยู่หลังเสมหะ โดยสามารถสังเกตได้จากทรวงอกที่ขยายออก ไหล่ไม่ยก คอไม่ยืด กลั้นหายใจไว้สักครู่ แล้วให้ไอออกด้วยแรงพอควร ก่อนจะบ้วนเสมหะทิ้งในที่ที่เหมาะสม
ขับน้ำมูก และเสมหะออกมา – การขาก หรือขับเสมหะออกมานั้น เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการกำจัดเสมหะ เนื่องจากการขับเสมหะ จะช่วยลดปริมาณเสมหะที่คั่งค้างอยู่ภายในออกมา ข้อควรระวังคือ อย่ากลืนเสมหะที่ค้างอยู่ในร่างกายกลับลงไป เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบในร่างกายได้
กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ – ใช้เกลือ ¼ ช้อนชา น้ำอุ่นแก้วใหญ่ ผสมกันแล้วนำมากลั้วคอ โดยเงยหน้าขึ้นระหว่างที่กลั้วคอไปด้วย เกลือจะช่วยกำจัดแบคทีเรีย ส่วนน้ำอุ่นจะช่วยในการละลายเสมหะ
ดื่มน้ำมาก ๆ – การดื่มน้ำ ก็เป็นอีกวิธีที่แก้ปัญหาเสมหะติดคอได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยไข้หวัด โดยให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่นทุก ๆ ชั่วโมง จะช่วยละลายเสมหะ คลายความเหนียว และสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ – เช่น น้ำขิง หรือซุปรสอ่อน จะสามารถช่วยกำจัดเสมหะได้ เนื่องจากอุณภูมิที่สูงกว่าปกติของน้ำ จะช่วยละลายเสมหะในคอได้เป็นอย่างดี
กินอาหารรสเผ็ด – เช่น ต้มยำ น้ำพริก เนื่องจากสมุนไพรในอาหารเหล่านี้ จะช่วยขับเสมหะ และเปิดทางให้ระบบทางเดินหายใจคล่องตัวมากขึ้น หากกินเผ็ดไม่ได้ สามารถเปลี่ยนเป็นต้มจืดร้อน ๆ แทนได้
ใช้สมุนไพรกำจัดเสมหะ – สมุนไพรหลายชนิด สามารถช่วยกำจัดเสมหะได้ เช่น มะนาว มะขามป้อง มะแว้ง เป็นต้น
ใช้ยาละลายเสมหะ – ยาแก้ไอละลายเสมหะ จะมีตัวยาที่ช่วยลดอาการไอ เช่น คาร์โบซีสเทอีน (Carbocisteine) เป็นสารละลายเสมหะ ทำให้เสมหะเหนียวข้นน้อยลง และทำให้ร่างกายกายยาขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
อ้างอิง : 1. โรคปอดและทางเดินหายใจ หมอวินัยโบเวจา 2. pobpad.com