ท้องร่วง ท้องเสีย กินอะไรให้หายดี? และอาหารที่ควรกิน-ควรงด ขณะท้องร่วง

28 มิ.ย. 24

ท้องร่วง

 

ท้องร่วง ท้องเสีย เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถเกิดได้ในทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะร้อน หรือชื้น ถ้าเกิดท้องเสียไปแล้ว เราควรจะดูแลตัวเองยังไง และควรหรือไม่ควรกินอะไรบ้าง ตามมาดูคำตอบกันเลย!

แค่ไหนถึงเรียกว่า ท้องร่วง!? 

ท้องร่วง หรือ ภาวะอุจจาระร่วง (Diarrhea) หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติ และถ่ายมากกว่าวันละ 3 ครั้ง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. ท้องร่วงเฉียบพลัน 2. ท้องร่วงเรื้อรัง

1. ท้องร่วงชนิดเฉียบพลัน มักมีสาเหตุมาจากการกินอาหาร หรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อน หรือติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส แพ้อาหาร หรือความเครียด ผู้ป่วยจะถ่ายเป็นน้ำบ่อย ๆ และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย หากอาการรุนแรงอาจ มีไข้ ตัวร้อน และอาเจียนได้ มักจะมีอาการประมาณ 1-2 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

2. ท้องร่วงชนิดเรื้อรัง เกิดจากความแปรปรวนในระบบทางเดินอาหาร หรือลำไส้ ที่ไวต่อสิ่งเร้า แพ้อาหาร หรือส่วนประกอบในอาหาร หรือสารอาหารบางชนิด ขึ้งอยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละคน

ท้องร่วง ดูแลอย่างไร?

หากท้องร่วงไม่รุนแรงมาก ไม่ควรกิน “ยาหยุดถ่าย” ซึ่งเป็นตัวยาที่มีกลไกทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ส่งผลให้การขับอุจจาระลดลง เพิ่มมวลของอุจจาระ ลดการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ มักใช้กับอาการท้องเสียชนิดถ่ายเหลวมาก เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

สิ่งที่ควรทำ ในกรณีที่ท้องเสียไม่รุนแรง คือ ถ่ายอุจจาระออกให้หมด เพื่อกำจัดของเสีย หรือเชื้อโรคในลำไส้ให้หมดไป

ท้องร่วง

ORS ฮีโร่ตัวช่วยเรื่องท้องร่วง!

เมื่อมีอาการท้องร่วง ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ ให้ใช้ยาผงเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เนื่องจากผลิตมาจากสูตรขององค์การอนามัยโลกให้มีปริมาณโซเดียม โปแตสเซียม และกลูโคส ในสัดส่วนที่เหมาะกับโรคท้องร่วง ท้องเสีย

ผงเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) มีประโยชน์ในการป้องกัน และรักษาการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่จากท้องร่วง ท้องเสีย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่อย่างรุนแรง ทำให้ความดันเลือดตก และช็อคได้ โดยเฉพาะในผู้มีความเสี่ยงสูง คือเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

จิบเกลือแร่ออกกำลังกายแทนผงเกลือแร่ORS ได้ไหม?

คำตอบ : ไม่ได้ เพราะเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายทุกยี่ห้อ มีน้ำตาลในปริมาณสูง และมีโซเดียมในปริมาณต่ำกว่าผงเกลือแร่โออาร์เอสหลายเท่า ทำให้อาการท้องเสียเป็นมากขึ้นได้

ดื่มสไปรท์ใส่เกลือ ตามที่เขาแชร์กันในโลกออนไลน์ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ได้ไหม?

คำตอบ : ไม่ได้ จำไว้เลยว่า ถ้าท้องเสียต้องจิบเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เท่านั้น (ผงเกลือแร่โออาร์เอส สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป)

ท้องร่วง

เนื่องจากอาหารบางประเภท ยิ่งกินยิ่งทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้น ร่างกายเสียน้ำ และเกลือแร่มากขึ้น ผู้ที่มีอาการท้องเสีย จึงควรเลือกกินอาหารด้วยความระมัดระวัง

อาหารที่ควรกินเมื่อมีอาการ ท้องเสีย

  • อาหารอ่อน ๆ อาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำซุป ซึ่งทำให้การหดรัดตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง จึงช่วยให้การขับถ่ายลดลงไปด้วย
  • อาหารไขมันต่ำ เช่น ไก่ไม่มีหนัง เนื้อปลา กุ้งสับต้มสุก นอกจากย่อยง่ายแล้ว ยังทำให้การหดรัดตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง ส่งผลให้การ ขับถ่ายอุจจาระลดลงได้
  • น้ำมะพร้าว เนื่องจากในน้ำมะพร้าว มีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณสูง สามารถลดอาการอ่อนเพลียจากการสูญเสียน้ำได้ และยังมีคุณสมบัติขับสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย
  • น้ำสะอาด ถูกสุขอนามัย
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ดี ลำไส้เล็กดูดซึมสารอาหารได้ง่ายขึ้น
  • อาหารที่มีกากใย เมื่ออาการท้องเสียเริ่มดีขึ้น ควรเริ่มกินอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ (หลีกเลี่ยงผลไม้รสเปรี้ยว) ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ และควรงดอาหารรสจัดไปก่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • ในกรณีท้องเสียเรื้อรัง ควรสังเกตว่า อาหารประเภทใดที่สิ่งกระตุ้นให้มีอาการท้องเดิน แล้วหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนั้น ในกรณีท้องเสียเนื่องจากความเครียด ควรฝึกผ่อนคลายความเครียด และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ในกรณีที่ท้องเสียเนื่องจากกินยาปฏิชีวนะมากเกินไป ซึ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียฝ่ายดีถูกทำลาย และมีปริมาณน้อยลง การกินอาหารที่มีเชื้อจำพวก แล็กโตบาซิลลัส หรือ ไบฟิโดแบคทีเรีย ที่มักพบในนมเปรี้ยว และโยเกิร์ต จะช่วยทำให้ลำไส้ใหญ่มีเชื้อฝ่ายดีดังกล่าวเพิ่มขึ้น และอาการท้องเสียเรื้อรังดีขึ้นได้

อาหารที่ควรงดเมื่อมีอาการท้องร่วง

  • อาหารประเภทนมทั้งหมด เช่น นมสด นมวัว นมเปรี้ยว โยเกิร์ต
  • ผลไม้ น้ำผลไม้ เนื่องจากมีน้ำตาลฟรุ๊กโตสมาก หากร่างกายดูดซึมน้ำตาลชนิดนี้เข้าไปมากๆ จะทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้น
  • อาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมัน แป้งที่มีส่วนผสมของเนย อาหารทะเล เช่น หอย ปลาหมึก
  • อาหารที่มีกลูเตน เช่น แป้งสาลี ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์ เบียร์ น้ำสลัดบางชนิด เพราะย่อยยาก ร่างกายดูดซึมยาก และมีโอกาสท้องเสียสูง
  • อาหารทอด อาหารมัน อาหารที่ไขมันสูง เพราะย่อยยาก ร่างกายดูดซึมยาก หรืออาจไม่ดูดซึมเลย ในบางราย ลำไส้ใหญ่อาจเร่งขับออก ทำให้ท้องเสียมากขึ้น
  • อาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เพราะทำให้ระคายเคืองส่วนปลายของลำไส้
  • อาหารหมักดอง
  • อาหารสุกๆ ดิบๆ
  • อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต โซดา ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเร่งกระบวนการย่อยและกระบวนการขับถ่าย
  • ผู้มีอาการท้องเสียบางราย อาจต้องงดกินอาหารชั่วคราวเพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้ หรือลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลงระหว่างที่มีอาการ เพื่อให้ลำไส้ทำงานลดลง และสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น

ยารักษาท้องร่วง มีอะไรบ้าง?

ยาที่นิยมกินเพื่อช่วยทำหน้าที่เป็นสารดูดซับ ได้แก่ ยาคาโอลินหรือเพกติน ผงถ่าน และยาไดออกทาฮีดรอลสเมกไทต์ ควรใช้ร่วมกับผงน้ำตาลเกลือแร่ จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งเมื่อต้องใช้ยา

อย่างไรก็ตาม หากรักษาด้วยตนเองแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ผู้ป่วยยังคงถ่ายบ่อย ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีลักษณะเป็นมูก มีกลิ่นคล้ายกุ้งเน่า ปวดท้อง อาเจียน มีไข้ อ่อนเพลีย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

ท้องเสีย

อยากหลีกเลี่ยงอาการท้องร่วง ควรทำอย่างไร ?

  • ลดการกินอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เปรี้ยวจัด เพื่อลดอาการเสาะท้อง
  • ลดการกินอาหารหมักดอง เพราะเสี่ยงต่อการพบเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากกระบวนการหมักดองที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • เลือกกินอาหารจากร้านอาหาร หรือวัตถุดิบในการทำอาหาร ที่สะอาด น่าเชื่อถือ และปรุงให้สุก 100% ก่อนกินอาหารทุกครั้ง
  • ไม่กินอาหารที่ปรุงสุกข้ามวัน และเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เย็นมากพอ เพราะอาจก่อให้เกิดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้
  • ไม่กินอาหารมากจนเกินไป เช่น การกินบุฟเฟ่ต์ หรือการอดอาหารมื้อหนึ่ง แล้วกินอีกมื้อหนึ่งมากขึ้นทดแทน เพราะการกินอาหารครั้งเดียวในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ผนังหน้าท้องขยายขนาดขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ควรเปลี่ยนมากินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยขึ้นจะดีกว่า
  • ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกครั้งก่อนกลืน ไม่รีบกินรีบกลืนจนเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ยาก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้

 

อ้างอิง :
1. doctor.or.th 2. hd.co.th 3. thaihealth.or.th

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save