ไขมันในเลือดสูง โรคยอดฮิตของคนไทย! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

28 มิ.ย. 24

ไขมันในเลือดสูง

 

รู้หรือไม่?! คนไทยมีแนวโน้มป่วย และเสียชีวิตจาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณร้อยละ 90 ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะปัญหาการมี ไขมันในเลือดสูง (High Cholesterol) หรือที่เรียกว่า ไขมันคอเลสเตอรอลเกินกว่าค่ามาตรฐาน นั่นเอง ว่าแต่โรคนี้จะมีอันตราย สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาอย่างไร ตามมาดูคำตอบกัน!

ไขมัน คืออะไร?

ไขมัน – (Lipid หรือ Fat) เป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายเอาไว้ใช้เป็นพลังงาน สร้างฮอร์โมน และวิตามินบางชนิด ไขมันเป็นสารที่มีคุณสมบัติสำคัญคือ ไม่ละลายน้ำ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 อย่าง คือ

1. ฟอสโฟลิปิด (Phospholipids)
เป็นไขมันที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์membrane และเป็นตัวช่วยในการละลายไขมันชนิดอื่น

2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
เป็นแหล่งเก็บพลังงานที่สำคัญของร่างกายคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนที่เหลือใช้จะถูกเปลี่ยนเป็น ไตรกลีเซอไรด์ เก็บสะสมไว้ที่ เนื้อเยื่อ ไขมัน (adipose tissue) เพื่อเป็นพลังงานสำรอง

3. ไกลโคลิพิด (Glycolipid)
เป็นลิพิด ที่เชื่อมต่อกับคาร์โบไฮเดรต หน้าที่ของมันคือการให้พลังงาน

4. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. คอเลสเตอรรอล ชนิดดี (High-Density Lipoproteins: HDL)
    เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีออกจากหลอดเลือด และช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  2. คอเลสเตอรอล ชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoproteins: LDL)
    เป็นคอเลสเตอรอลที่ให้โทษต่อร่างกายถ้ามีปริมาณเกินมาตรฐาน และเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ

5. กรดไขมันอิสระ (Free fatty acid)
เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในร่างกายหลังการดูดซึมอาหาร และถูกพาไปในเลือดโดยรวมตัวกับอัลบูมิน

ไขมันในร่างกายมาจาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ

1. จากอาหารที่บริโภคเข้าไป

อาหารจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรรอล แต่อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์จะมีคอเลสเตอรรอลมากน้อยแตกต่างกัน ที่มีมาก ได้แก่ เครื่องในต่าง ๆ ไข่แดง นม เนย เนื้อติดมัน หนังสัตว์ และสัตว์ที่มีกระดอง เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ปู ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์จะได้จากน้ำมัน และไขมันของอาหารทุกชนิด

2. และจากการที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง

คอเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เกิดจากการเผาผลาญอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างคอเลสเตอรอล คือ ตับ สารอาหารที่จะกระตุ้นการสร้างคอเลสเตอรอล ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์มีทั้งที่ได้จากอาหาร และถูกสร้างขึ้นโดยตับเช่นเดียวกัน โดยจะถูกกระตุ้นให้สร้างมากขึ้นโดย แอลกอฮอล์ น้ำตาล และพลังงานที่ได้รับมากเกินไป

ไขมันในเลือดสูง


โรคไขมันในเลือดสูง คืออะไร?

โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

ระดับไขมันในเลือดที่ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

  • ระดับคอเลสเตอรอลรวมสูงกว่า 200 มก./ดล.
  • ไขมันเลว : แอล ดี แอล คอเลสเตอรอล (LDL-C) สูงกว่า 160 มก./ดล.
  • ไขมันดี : เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำกว่า 40 มก./ดล.
  • ไตรกลีเซอไรด์ สูงกว่า 150 มก./ดล.

ส่วนระดับไขมันในเลือดที่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

  • คอเลสเตอรอลรวมน้อยกว่า 200 มก./ดล.
  • ไขมันเลว : แอล ดี แอล คอเลสเตอรอล (LDL-C) น้อยกว่า 160 มก./ดล.
  • ไขมันดี : เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล (HDL-C) มากกว่า 40 มก./ดล.
  • ไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 150 มก./ดล.

การตรวจระดับไขมันในเลือดจะบอกได้ชัดเจนเลยว่าผิดปกติหรือไม่ ทำได้โดยการเจาะเลือด ในตอนเช้าหลังจากงดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมง แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้

* มก. (mg) = มิลลิกรัม // ดล. (dl) = เดซิลิตร
** ค่า Total cholesterol ที่ต่ำกว่าปกติ (ต่ำกว่า 160 mg/dL) ในทางการแพทย์จะเรียกว่า “ภาวะคอเลสเตอรอลต่ำเกินไป” (Hypocholesterolemia) ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (มะเร็งปอด มะเร็งไขกระดูกส่วนที่ผลิตเลือด)


การวัดระดับไขมันในเลือด

การวัดระดับไขมันในเลือด จะวัดเป็นระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอรไรด์ (Triglyceride, Tg) ซึ่งทั้ง 2 ไขมันนี้รวมอยู่ในโปรตีน ที่เรียกว่า “อะโปโปรตีน” วิธีวัดจะแบ่งย่อยไปตามหน้าที่ จำเพาะระดับไขมันในเลือดที่ตรวจวัด คือ

  1. ระดับโคเลสเตอรอลรวม
  2. ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL-C คือ คอเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแน่นต่ำ หรือ ไขมันไม่ดี)
  3. ระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C คือ คอเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแน่นสูง หรือ ไขมันดี)
  4. ระดับไตรกลีเซอไรด์

กล่าวได้ว่า ทั้ง LDL-C (ไขมันไม่ดี) และ HDL-C (ไขมันดี) จัดเป็นไขมันที่ความสำคัญต่อการแข็งตัวของหลอดเลือด ถ้าไขมันทั้งสองนี้ อยู่ในระดับที่ผิดปกติ ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน


สาเหตุที่ทำให้ ไขมันในเลือดสูง

  1. จากปัจจัยภายในตัวเอง เช่น พันธุกรรม หรือความเจ็บป่วยบางประการ ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคตับ, ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
  2. จากยา เช่น ยาลดความดันบางชนิด, ยากลุ่มสเตียรอยด์
  3. จากการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม อาหารที่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ได้แก่ อาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลมาก และมีไขมันอิ่มตัวมาก ได้แก่ กะทิ, มันหมู, เนย, หนังสัตว์, ไข่แดง, และเครื่องในสัตว์ ส่วนอาหารที่ทำให้ไตรกรีเซอไรด์สูง ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงานเกินความจำเป็น การรับประทานน้ำตาลมาก และการดื่มสุรา เป็นต้น

ใครควรได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือดบ้าง?

1. ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน

2. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เช่น
– ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
– มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
– มีความดันโลหิตสูง, เป็นเบาหวาน หรือสูบบุหรี่

3. มีโรคที่เกี่ยวข้องกับระดับไขมันผิดปกติ เช่น โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง หรือกลุ่มอาการบวมจากโรคไต

4. มีการตรวจพบลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีระดับไขมันสูงในเลือด เช่น ก้อนไขมันที่บริเวณเส้นเอ็นที่ข้อศอก เอ็นร้อยหวาน หรือก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ที่มีลักษณะคล้ายหัวสิว บริเวณหลัง และสะโพก

ระดับไขมันในเลือดควรตรวจซ้ำทุก 1 – 3 ปี สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ควรตรวจระดับไขมันในเลือด ตั้งแต่อายุ 35 ปี และควรได้รับการตรวจซ้ำทุก 5 ปี


อาการของผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นอย่างไร?

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะไม่มีอาการแสดง แต่บางกรณีโดยเฉพาะพวกไขมันในเลือดผิดปกติจากพันธุกรรม อาจมีอาการดังนี้

1. ผนังหลอดเลือดแข็ง หัวใจต้องทํางานหนักมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เลี้ยงทั่วร่างกายเพียงพอ เมื่อเป็นระยะเวลานาน จะทําให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หรือเป็นอัมพาตได้
2. มีปื้นเหลืองที่ผิวหนัง เช่น หนังตา ข้อศอก หัวเข่า และฝ่ามือ
3. เอ็นร้อยหวายหนาตัวกว่าปกติ
4. มีเส้นวงสีขาวเกิดขึ้นระหว่างขอบตาดํา กับตาขาว


ไขมันในเลือดสูง

การปฎิบัติตัวเมื่อมี ไขมันในเลือดสูง

• ควบคุมอาหารที่มีไขมันสูง
• ถ้าน้ำหนักเกินมาตรฐานควรลดน้ำหนัก
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ออกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ กายบริหาร เป็นต้น โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที (ผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
• งดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้หลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น
• พยายามไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่นั่ง ยืน นอน ตลอด ควรทำกิจกรรมต่าง ๆ สม่ำเสมอ
• ลดความเครียด
• ถ้าคุมอาหาร ออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังไม่ได้ผล แพทย์อาจให้รับประทานยาลดไขมัน ซึ่งมีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของไขมันที่สูงว่าผู้ป่วยควรรับประทานยาใด
• ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะตามนัด


การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หนังเป็ด หนังไก่ หอย ปู กุ้ง ปลาหมึก มันหมู มะพร้าว อาหารที่มีกะทิ และถ้าหากมีไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ก็ควรระวังอาหารพวกแป้ง นํ้าตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน และผลไม้หวานจัด

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน และนมพร่องมันเนย เป็นต้น

3. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เมล็ดแห้งต่าง ๆ เป็นต้น

4. เลือกใช้นํ้ามันในการประกอบอาหาร ควรใช้นํ้ามันพืช เช่น นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันข้าวโพด นํ้ามันงา เป็นต้น

5. ออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอ


สถิติ โรคไขมันในเลือดสูง ของคนไทย

สบส.เตือนประชาชนระวังไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เผยผลสำรวจล่าสุดในปี 2557 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ประมาณ 26 ล้านคน มีไขมันคอเลสเตอรอลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แนะวิธีป้องกันควรตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ปรับพฤติกรรมตัวเองทั้งอาหารการกิน ลดกินไขมันสัตว์ อาหารทอด เพิ่มกินผัก ผลไม้ และออกกำลังกาย

 

อ้างอิง : 1. clmjournal.org 2. si.mahidol.ac.th 3. srinagarind.md.kku.ac.th 4. thaihealth.or.th

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save