ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร? สาเหตุ วิธีป้องกัน และรักษา

28 มิ.ย. 24

 

ลูกหายใจครืดคราด ทำเอาพ่อแม่นอนไม่หลับ ใจคอไม่ดี วิตกกังวลไปด้วย อาการ “หายใจครืดคราด” อาจมีอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น น้ำมูก มีอาการไอ มีเสมหะ หรือ บางคนอาจจะไม่มีอาการอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นเพราะมีสาเหตุต่าง ๆ กันไป อาการหายใจครืดคราดในเด็กเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แล้วจะป้องกัน รักษาได้อย่างไร มาดูคำตอบกันเลย

ยาละลายเสมหะ

สาเหตุ และการรักษา ลูกหายใจครืดคราด

– หายใจครืดคราด เพราะแพ้อาหาร

อาการหายใจครืดคราด เป็นหนึ่งในอาการของภูมิแพ้อาหาร การแพ้อาหารมีอาการได้หลายอย่างเช่น หายใจครืดคราด ปากบวม ตาบวม ลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ถ่ายเหลวเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด มีอาการคัดจมูก เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกบวม หรือมีเสมหะในลำคอ

การรักษา
– ให้ลูกงดอาหารที่สงสัยว่าแพ้ หากสงสัยว่าเป็นอาการภูมิแพ้จากอาหาร อาจจะต้องงดอาหารที่สงสัยว่าแพ้ ประมาณ 4-6 สัปดาห์ แล้วสังเกตอาการหายใจครืดคราดว่าหายไปไหม

– หากเป็นเด็กที่กินนมแม่ แม่ต้องหยุดกินอาหารที่สงสัยว่าแพ้ด้วย เพราะอาหารที่แม่กินอาจส่งผ่านมาทางน้ำนมถึงลูกน้อยได้


– การติดเชื้อทางเดินหายใจ

หากลูกมีอาการหายใจครืดคราด โดยมีอาการไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย ทำให้มีอาการไข้ มีอาการไอ มีเสมหะในคอ คออักเสบ และเมื่อหายจากเป็นหวัดหรือโรคหลอดลมอักเสบ เด็กอาจจะยังหายใจครืดคราดได้ เพราะเด็กอาจจะระบายเอาเสมหะออกมาได้ไม่หมด จึงทำให้มีเสมหะตกค้าง เกิดอาการหายใจครืดคราดได้ แต่โดยปกติจะหายได้เองประมาณไม่เกิน 2 สัปดาห์

การรักษา
– เคาะปอดระบายเสมหะ
– ดื่มน้ำอุ่นเพื่อช่วยละลายเสมหะที่คั้งค้าง
– กินยาแก้ไอละลายเสมหะสำหรับเด็ก แต่ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

หายใจครืดคราด


– โรคหลอดลมอ่อนตัว (laryngomalacia)

กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของทารก โดยปกติแล้วกระดูกอ่อนจะช่วยเสริมความแข็งแรงของท่อหลอดลม ทำให้ไม่แฟบแบนขณะมีลมหายใจผ่านเข้าออก แต่จะคงความเป็นท่ออยู่ได้ แต่ทารกบางคนอาจมีการพัฒนาส่วนกระดูกอ่อนช้ากว่าปกติ ดังนั้นเวลาหายใจเข้าออก ท่อหลอดลมจะแฟบทำให้เกิดเสียงครืดคราดในลำคอได้

การรักษา เด็กที่เป็นโรคหลอดลมอ่อนตัว หากไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย มักจะไม่ต้องทำการรักษาอะไร ส่วนใหญ่หายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น ประมาณ 1-2 ปี


– ภาวะกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD)

เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดรอบหลอดอาหารที่อ่อนแรงกว่าปกติ ทำให้นมและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่ท่อหลอดอาหาร หรือย้อนขึ้นมาถึงช่วงคอ ทำให้มีเสียงครืดคราดชัดเจนเวลาดูดนม เกิดได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ รวมถึงทารก

ภาวะกรดไหลย้อนในทารก มักมีอาการของการแหวะนม หงุดหงิดร้องไห้ งอแง รู้สึกไม่สบายตัว กลืนลำบาก มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก มีเสียงครืดคราด

การรักษา
– เมื่อไปหาหมอ หมอวินิจฉัยโดยการเอ็กซเรย์กลืนแป้งหรือตรวจวัดความเป็นกรดที่หลอดอาหาร
– รักษาด้วยยา แล้วดูการตอบสนองว่าดีขึ้นหรือไม่
– ให้ลูกกินนมอย่างถูกวิธี กินครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ
– กินนมหรืออาหารแล้ว อย่ารีบนอนราบ ให้รอให้อาหารย่อยก่อน


หายใจครืดคราด

– ดื่มนมมากเกินไป (overfeeding)

เด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือนแรก เป็นช่วงที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่นอกร่างกายแม่ เด็กอาจร้องไห้มากขอดูดนมตลอดเวลา คุณแม่ไม่ทราบว่าร้องไห้เพราะอะไร ก็จะเอานมให้กินทุกครั้ง ผลที่ตามมาคือ ลูกจะมีน้ำหนักตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเสียงครืดคราดในคอ เพราะน้ำนมจากกระเพาะล้นขึ้นมาอยู่ที่คอหอย อาเจียนหรือแหวะนมบ่อย

วิธีแก้ไข คือพยายามอย่าให้ลูกกินมากเกินไป ควรเบี่ยงเบนลูกไปทำอย่างอื่นบ้าง เช่น เล่นกับลูก ให้ดูดจุกหลอก หรือแม่ปั๊มนมออกก่อนให้ลูกดูด


– อากาศเย็น อากาศแห้ง

ในบางวันที่อากาศเย็นลง ฝนตก หรือ ตอนนอนเปิดแอร์ ลูกเริ่มหายใจฟึดฟัด มีเสียงหายใจครืดคราดที่เป็นแบบนี้เพราะว่าอากาศที่เย็นและแห้งจะไปกระตุ้นเยื่อบุจมูก ทำให้บว มและหลั่งน้ำมูกออกมา เมื่อน้ำมูกไหลลงไปติดตรงคอหอยเกิดเป็นเสมหะในคอ

วิธีการป้องกัน การรักษา
– ทำให้ร่างกายให้อบอุ่น
– เปิดแอร์ไม่เย็นเกินไป ประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส
– เวลานอนไม่ให้แอร์ หรือพัดลมโดนตัวลูกตรง ๆ
– ห่มผ้า หรือใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดเวลานอน


หายใจครืดคราด

– สิ่งแปลกปลอมติดในโพรงจมูก

เด็กวัยกำลังซนอาจจะยังไร้เดียงสา ยิบของชิ้นเล็ก ๆ เช่น ลูกปัด เมล็ดผลไม้ ของเล่น เม็ดยา ยัดเข้ารูจมูกได้ ทำให้มีอาการหายใจครืดคราดเพราะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป และอาจสังเกตอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น มีน้ำมูกไหลข้างเดียว เป็น ๆ หายๆ น้ำมูกมีกลิ่นเนื่องจากมีหนองปน มีเสมหะไหลลงคอ ไอบ่อย ๆ ปวดจมูกหายใจทางปากตลอดเวลา

วิธีการป้องกัน การรักษา
– ห้าม! ใช้มือ คีม หรือเครื่องมือต่าง ๆ คีบเอาสิ่งแปลกปลอมออกมาเอง เพราะอาจจะดันสิ่งแปลกปลอมให้หลุดเข้าไปลึกถึงหลอดลมหรือปอด อาจทำให้เสียชีวิตได้

– ใช้มือปิดรูจมูกอีกข้างแล้วสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาเอง ถ้าสั่งน้ำมูกแล้วสิ่งแปลกปลอมไม่หลุดออกมา หรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึก ให้รีบไปพบแพทย์ในทันที

– แพทย์จะใช้ที่ส่องหูส่องดูในโพรงจมูก และถ้าเจอจะต้องปรึกษาคุณหมอหู คอ จมูก คีบเอาออกมา

เสียงหายใจครืดคราดของลูก อาจทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์กังวลใจ ซึ่งจะหาทางรักษาได้ ต้องรู้สาเหตุที่แท้จริง คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการต่าง ๆ ของลูก หากอาการหายใจครืดคราดเป็นเรื้อรัง ติดต่อกันนาน ไม่หาย ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป

ที่มา: (1) (2) (3)


ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save