ไซนัสอักเสบ มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษาอย่างไร? และข้อควรรู้เรื่อง ไซนัส

1 ก.ค. 24

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย และเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ถ้าผู้ป่วยปล่อยให้เป็นไซนัสเรื้อรัง รักษาไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงขั้นตาบอด หรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว! ฉะนั้นอย่าประมาท มาเรียนรู้และเข้าใจโรคไซนัสอักเสบกันว่า มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา และควรป้องกันอย่างไร อาการหนักแค่ไหนควรไปพบแพทย์?

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

ทำความรู้จักกับ “ไซนัส” กันก่อน

ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่รอบ ๆ โพรงจมูกทั้งซ้ายและขวา โดยโพรงไซนัสจะมีทั้งหมด 4 แห่ง คือ

  1. ไซนัสหน้าผาก (Frontal sinus) การติดเชื้อในไซนัสนี้ อาจลามเข้าไปในสมองได้
  2. ไซนัสข้างหัวตา (Ethmoid sinus) อยู่ระหว่างเบ้าตา และด้านข้างของจมูก เป็นไซนัสที่ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการเกิดไซนัสอักเสบ
  3. ไซนัสฐานสมอง (Sphenoid sinus) อยู่ในกระดูกส่วนที่เป็นฐานสมอง การอักเสบติดเชื้อ ในไซนัสนี้ อาจลุกลามเข้าสมองได้ง่าย
  4. ไซนัสโหนกแก้ม (Maxillary sinus)* มีรูปร่างคล้ายปิรามิด อยู่ในกระดูกโหนกแก้ม เป็นไซนัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเกิดการอักเสบมากที่สุด

แต่ละโพรงไซนัสจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติโพรงละ 1 รู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก เมื่อเนื้อเยื่อบุไซนัสอักเสบ ติดเชื้อ ก็จะบวมมากขึ้น และรูเปิดไซนัสจะบวมและปิดลง ทำให้ระบายอากาศไม่ได้ เราจึงเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ”

ไซนัสอักเสบ คืออะไร และมีกี่ประเภท?

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก มักเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ อักเสบ อาจเกิดขึ้นในโพรงไซนัสเดียว หรือหลาย ๆ ไซนัสพร้อมกัน ส่วนใหญ่การอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 90-98% ส่วนไซนัสที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบประมาณ 2-10% และที่พบได้น้อยคือ การอักเสบจากเชื้อรา

เมื่อไซนัสเกิดการติดเชื้อ เนื้อเยื่อในโพรงไซนัสจะมีอาการบวม และร่างกายจะผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามาก จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นหนองอักเสบ หรือน้ำมูกเขียวข้น (บางคนอาจเรียก ก้อนไซนัส) และทำให้ผู้ป่วยมีอาการคัดจมูก หรือแน่นจมูกตลอดเวลา แม้จะทานยาแล้วก็ตาม

ไซนัสอักเสบมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้

ถึงแม้ว่าไซนัสอักเสบจะมีอาการไม่แตกต่างกันมากนัก แต่จะมีระยะของการลุกลาม และการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน ตามชนิดของการอักเสบ ดังนี้

  1. ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute) มักเกิดร่วมกับการเป็นไข้หวัด โดยเฉพาะในฤดูฝน ระยะเวลาอักเสบ 2-4 สัปดาห์
  2. ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute) การอักเสบจะกินเวลาราว 4-12 สัปดาห์
  3. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic) มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ ระยะเวลาการอักเสบ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
  4. ไซนัสอักเสบซ้ำซ้อน (Recurrent) การอักเสบจะเกิดขึ้นมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี โดยแต่ละครั้งจะมีอาการนานกว่า 10 วัน

สาเหตุที่ทำให้เกิด ไซนัสอักเสบ

  1. เกิดตามหลังอาการไข้หวัด เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด โดยเฉพาะในรายที่เป็นหวัดแล้วไม่พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. เป็นโรคภูมิแพ้ ทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสบวม เป็น ๆ หาย ๆ
  3. โรคริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกในโพรงจมูก
  4. ฟันผุ รากฟันที่ผุติดเชื้อ โดยเฉพาะฟันซี่ด้านใน อาจทำให้การติดเชื้อนั้นเข้าสู่ไซนัสบริเวณแก้มได้ง่าย
  5. มีสิ่งแปลกปลอมเข้ารูจมูก อาทิ ลูกปัด เม็ดถั่วเขียว พบมากในเด็ก
  6. ประสบอุบัติเหตุกระดูกใบหน้าแตกร้าว ต่อมอะดินอยต์มีขนาดโต และติดเชื้อ
  7. ผนังจมูกคด กระดูกที่ผนังด้านข้างโพรงจมูกมีขนาดใหญ่มาก จนไปอุดตันรูเปิดของไซนัส
  8. การดำน้ำลึก หรือกระโดดน้ำ อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไซนัสอักเสบอยู่เดิมเกิดกำเริบได้
  9. ปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูก หรือต้องคาสายให้อาหารในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

ไซนัสอักเสบ

อาการไซนัสอักเสบ มีอะไรบ้าง?

โรคนี้มักจะมีอาการของโรคหวัด หรือโรคภูมิแพ้นำมาก่อน เช่น จะมีน้ำมูก, คัดจมูก และอาการไอ ส่วนอาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบ มีดังนี้

1. ปวดศีรษะ และใบหน้า
หลังจากผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัดแล้ว จะมีอาการปวดปวดแก้ม, ปวดบริเวณหัวตาทั้งสองข้าง, ปวดบริเวณหน้าผาก, ปวดในกระบอกตาทั้งสองข้าง, ปวดหู หูอื้อ อาการปวดเหล่านี้ จะเป็นอาการปวดแบบตื้อ ๆ บางครั้งจะมีอาการ มึนศีรษะร่วมกับอาการปวด และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มศีรษะลง

2. คัดแน่นจมูก
ผู้ป่วยจะเป็นตลอดเวลา แม้จะทานยารักษาโรคหวัดแล้วก็ตาม อาการก็ยังไม่หายไป บางครั้งคัดจมูกมาก จนต้องหายใจทางปาก

3. มีน้ำมูก และเสมหะสีเหลืองเขียว
บางครั้ง น้ำมูกจะไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางครั้งก็จะมีความรู้สึกเหมือนมีน้ำมูกไหลลงคออยู่เรื่อย ๆ และในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีกลิ่นเหม็นในจมูกซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยตัวเอง

4. มีไข้
ผู้ป่วยบางรายจะมีไข้สูงจนหนาวสั่น ในขณะที่มีไข้สูง ก็จะมีอาการปวดศีรษะ และปวดหน้าร่วมด้วย

5. อาการไอ
มีผู้ป่วยบางส่วนมักมีอาการที่กล่าวมาไม่มากนัก แต่จะมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งอาการหวัดหายไปแต่ยังมีอาการไออยู่ และเป็นอาการไอแบบมีเสมหะข้นร่วมด้วย

6. ปวดฟัน
รากของฟันกรามบนจะอยู่ใกล้กับโพรงไซนัส ดังนั้น เมื่อไซนัสติดเชื้อและบวม ก็จะทำให้รู้สึกปวดฟัน และการปวดฟันควรหายไปเมื่ออาการไซนัสอักเสบทุเลาลง

6. ในผู้ป่วยเด็ก
มักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าในผู้ใหญ่ แต่อาการสังเกตได้คือ มีอาการหวัดเรื้อรัง เป็นเวลานาน, ไอรุนแรง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้เด็กที่มีอาการของหูอักเสบเรื้อรัง และหอบหืด ก็ควรนึกถึงโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย

ข้อควรระวัง! ถ้าไซนัสอักเสบลุกลามไปที่ดวงตา จะส่งผลให้มีอาการตาบวม เจ็บตา เห็นภาพซ้อน และร้ายแรงสุด คือ ทำให้ตาบอดได้ และยิ่งไปกว่านั้น… ถ้าการอักเสบลุกลามไปที่สมอง จะส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน มีไข้สูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เลยทีเดียว!

อาการที่ควรไปพบแพทย์

  • อาการคัดจมูก โดยน้ำมูกมีลักษณะข้นเหนียว มีสีเขียว หรือสีเหลือง
  • หายใจมีกลิ่น
  • เสมหะข้นมักไหลลงคอ ทำให้ต้องขากออกบ่อยๆ
  • ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดโหนกแก้ม หรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งของตำแหน่งไซนัส
  • รายที่มีอาการรุนแรง อาจมีไข้ หรือตาบวมได้

โรคแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ

  • การติดเชื้ออาจลุกลามไปในกระบอกตา ซึ่งการติดเชื้อนี้สามารถรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้
  • เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นในสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งภาวะติดเชื้อนี้อาจส่งผลรุนแรงถึงชีวิต
  • ริดสีดวงจมูก เกิดจากก้อนในจมูกที่เกิดจากไซนัสอักเสบเรื้อรังไปเบียดกระดูก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ

  1. การใช้กล้องส่องตรวจโพรงจมูก (Rhinoscopy)
  2. การถ่ายภาพรังสีโพรงไซนัส (Sinus x-ray)
  3. การตรวจเอกซเรย์จมูก และไซนัสโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT nose and paranasal sinus)

ไซนัสอักเสบ จะมีโอกาสหายหรือไม่ ถ้าหายแล้วจะกลับมาเป็นซ้ำไหม?

ผู้ป่วยไซนัสอักเสบในระยะเริ่มแรก ที่มีอาการน้อย มักจะหายได้ใน 2 สัปดาห์ และมักไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

แต่ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นริดสีดวงจมูกร่วมด้วย ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และต้องปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์

การรักษาไซนัสอักเสบ

การผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป เพื่อรักษาโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง

หากผู้ป่วยสงสัยว่าเป็นไซนัสอักเสบ หรือไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์หู คอ จมูก โดยตรงเพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้อง ส่วนวิธีรักษาไซนัสอักเสบ จะมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

1. การรักษาด้วยตนเอง

2. การรักษาด้วย ยาแก้ไซนัสอักเสบ จากแพทย์

  • แพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์แบบพ่นเพื่อลดอาการอักเสบ ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก (หรือใช้สเตียรอยด์แบบหยดผสมในน้ำเกลือที่ใช้ล้างจมูก)
  • หากไซนัสอักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ประมาณ 10-14 วัน และจะต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ทั้งยาสเตียรอยด์ และ ยาปฏิชีวนะ ไม่ควรซื้อมาใช้เอง ต้องใช้ตามคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

  • หากการรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัดโพรงจมูก และไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic Sinus Surgery: ESS) คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ในโพรงจมูกและไซนัส เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic rhinosinusitis) เป็นต้น และหลังจากผ่าแล้วควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

วิธีป้องกันไซนัสอักเสบ

  1. ป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด และภูมิแพ้บ่อย และเมื่อเป็นควรรักษาอย่างถูกต้อง อย่าปล่อยให้เรื้อรัง
  2. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ให้ได้มากที่สุด เช่น ควันพิษจากรถยนต์ ควันบุหรี่ ฝุ่นPM2.5 เป็นต้น
  3. แก้ไขภาวะผิดปกติของโครงสร้างจมูก เช่น เนื้องอกในจมูก ริดสีดวงจมูก
  4. รักษากรดไหลย้อนให้ดี ถ้าพบว่าเป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ
  5. หมั่นล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อทำให้โพรงจมูกโล่งขี้น
  6. สร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ห่างไกลหวัดและภูมิแพ้ เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารให้ครบ 5หมู่
  7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับงานและชีวิตประจำวันจนเกินไป
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. รพ.ศิริราช 1/2 2. รพ.นครธน 3. รพ.แมคคอร์มิค 4. รพ.พญาไท 5. รพ.เปาโล 6. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save