ฮีทสโตรก (Heatstroke) ภัยร้ายหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิตได้! สาเหตุ อาการ วิธีปฐมพยาบาล

27 มิ.ย. 24

ฮีทสโตรก

 

แดดเมืองไทยในช่วงหน้าร้อน เห็นแล้วก็จะเป็นลม เพราะมันร้อนระอุทะลุปรอทเหลือเกิน! อากาศที่ร้อนนอกจากจะทำให้ผิวคล้ำลง ยังแฝงมาด้วยโรคที่เกิดจากความร้อน นั่นก็คือ “ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด” วันนี้ GED good life จึงขอฝากความรู้ถึงสาเหตุ อาการ วิธีปฐมพยาบาล และเคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงโรคลมแดดมาฝากทุกคนในหน้าร้อนนี้

decolgen ดีคอลเจน

ฮีทสโตรก คืออะไร?

ฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ “โรคลมแดด” คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป และไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันท่วงที เกิดได้จากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัด หรืออยู่กลางแดดร้อนเป็นเวลานาน สามารถเกิดขึ้นได้แม้กับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง

ผู้ป่วยฮีทสโตรกจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอันตรายต่อสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ความเสียหายจะเลวร้ายลงเมื่อการรักษานานขึ้นล่าช้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หรือเสียชีวิต

อาการสำคัญของ ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด

  • อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 40.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นสัญญาณหลักของโรคลมแดด
  • ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ มีอาการสับสน กระสับกระส่าย พูดอ้อแอ้ หงุดหงิด เพ้อ ชัก และโคม่า ล้วนเป็นผลมาจากโรคลมแดด
  • ผู้ป่วยที่เป็น heatstroke ระยะต้น ๆ มักมีเหงื่อออกมาก แต่ในที่สุดก็จะถึงภาวะไร้เหงื่อซึ่งเกิดจากการพร่องปริมาตรของสารน้ำ และต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ เนื่องจากความเครียดจากความร้อนจะสร้างภาระอย่างมากต่อหัวใจของคุณเพื่อช่วยให้ร่างกายเย็นลง
  • ผิวหนัง และหน้าเปลี่ยนเป็นสีออกแดง
  • หายใจเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ
  • การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว

ภาวะแทรกซ้อนจากฮีทสโตรก

ผู้ประสบภาวะ heatstroke มักมีความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลางสูงขึ้น และความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายต่ำ อย่างไรก็ตามอาจพบภาวะหัวใจวาย, ปอดบวมน้ำ, และการทรุดลงของระบบหัวใจ และหลอดเลือดได้

อยู่แค่ในออฟฟิศก็เสี่ยงเป็นฮีทสโตรกได้!

หนุ่มสาวที่นั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศเย็นฉ่ำก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน เนื่องจากร่างกายคุ้นชินกับอากาศเย็นของห้องแอร์ เมื่อออกมาเจอแดดแรง ๆ หรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นทันทีทันใดในช่วงพักกลางวัน อาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ เพราะร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังโรคลมแดด

  • เด็กเล็ก
  • ผู้สูงอายุ (อายุเกิน 65 ปี)
  • ทหารที่ต้องฝึกหนัก
  • นักกีฬาที่ต้องเล่นกีฬาในที่ที่อุณหภูมิร้อนจัด
  • ผู้ที่ทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางประเภท ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย เป็นต้น

ถ้าทราบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคลมแดด เช่น มีโรคประจำตัว สูงอายุ ทานยาที่มีความเสี่ยง ควรสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ และควรบันทึกเบอร์ฉุกเฉิน เบอร์คนใกล้ชิดเพื่อติดต่อได้อย่างทันท่วงที

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เป้าหมายของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการลดอุณหภูมิแกนอย่างรวดเร็วให้ลงมาที่ 40 oC ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้วิธีทางกายภาพ

  • ย้ายผู้ป่วยมานอนราบในที่ร่ม ถอดเสื้อผ้าออก ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมช่วยเป่า หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัว หรือเปิดแอร์เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
  • รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา
  • ในผู้ที่มีอาการไม่มาก ควรให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ

ผู้ป่วยฮีทสโตรกจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอันตรายต่อสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ความเสียหายจะเลวร้ายลงเมื่อการรักษานานขึ้นล่าช้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หรือเสียชีวิต

ข้อควรระวัง! อย่าปกคลุมตัวผู้ป่วยด้วยผ้าแล้วทำให้เปียก เนื่องจากจะขัดขวางการระเหยของน้ำจากผิวหนัง

ฮีทสโตรก ป้องกันได้อย่างไร?

• ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน หากทำงานในที่ร่ม ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยสามารถสังเกตว่าดื่มน้ำเพียงแล้ว หรือยังได้จากสีของปัสสาวะ ถ้าสีเหลืองจาง ๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอแล้ว แต่ถ้าปัสสาวะสีเข้มขึ้นและปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ

• สวมใส่เสื้อผ้าเบา บาง มีสีอ่อน และระบายความร้อนได้ดี

• ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป

• หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด ในวันที่อากาศร้อนจัด

• ในเด็กเล็ก และคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี อย่าปล่อยให้เด็ก หรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง

• ห้ามทิ้งเด็กไว้ในรถเด็ดขาด เพราะอุณหภูมิในรถสามารถขึ้นไปได้อย่างรวดเร็วถึง 50 องศาเซลเซียส ในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

• ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือการออกกำลังกายหนักในระยะแรก จนกว่าร่างกายจะชินกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น

 

อ้างอิง : 1. mayoclinic 2. รพ. กรุงเทพ 3. ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save