แม่ให้นมลูก กินวิตามินได้ไหม? กินบำรุงหลังคลอดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่ และลูก

28 มิ.ย. 24

วิตามินเสริมหลังคลอด

 

ระยะให้นมลูก แม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อกระตุ้นน้ำนม สร้างน้ำนมสำหรับลูกที่เพิ่งคลอด และเสริมสร้างซ่อมแซมสุขภาพของแม่ ถ้าหากกินอาหารได้น้อย ไม่ครบโภชนาการ อาจทำให้น้ำนมมาน้อย ส่งผลกับลูก และยังส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย แผลหายช้าอีกด้วย ดังนั้น วิตามินเสริมหลังคลอด จำเป็นไหม ควรกินยังไงให้เพียงพอ ปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก ?

แม่ให้นมลูก ควรกินอะไรบำรุงหลังคลอด

1. แก้อาการอ่อนเพลีย จากร่างกายสูญเสียน้ำ และเลือดหลังคลอด รวมไปถึงความเครียด เหนื่ยอล้าขณะคลอด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย

อาหารบำรุงหลังคลอด : โปรตีน และธาตุเหล็ก เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม งา


2. น้ำนมน้อย เกิดจากร่างกายได้รับพลังงาน หรือ สารอาหารไม่ครบถ้วนเพียงพอ

อาหารบำรุงหลังคลอด : อาหาร 5 หมู่ โปรตีน แคลเซียม เสริมด้วยน้ำเปล่าวันละอย่างน้อย 8-10 แก้ว ควรดื่มน้ำอุ่น ๆ เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ปลา เพื่อเสริมโปรตีน รวมถึงสมุนไพรที่ช่วยขับน้ำนม เช่น ขิง พริกไทย หัวปลี ตำลึง เป็นต้น


3. ท้องผูก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง เกิดอาการถ่ายยาก ท้องผูก หรือ อาจจะรับประทานอาหารกากใยน้อย

อาหารบำรุงหลังคลอด : เน้นอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และ ดื่มน้ำมาก ๆ 8-10 แก้วต่อวัน


4. เจ็บแผลคลอด แผลผ่าตัด แผลที่เกิดจากฝีเย็บอาจมีอาการ บวมแดง ทำให้มีอาการเจ็บตึงแผล

อาหารบำรุงหลังคลอด : ควรเน้นอาหารโปรตีนสูง เพื่อซ่อมแซมร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ และวิตามินซีจากผักผลไม้ ก็ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น


5. ผมร่วง ผมร่วงอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ จนถึงหลังคลอด และเกิดจากความเครียดหลังคลอดด้วย ที่แม่ยังปรับตัวไม่ได้ ทำให้เครียดส่งผลให้ผมร่วงมากกว่าปกติ

อาหารบำรุงหลังคลอด : อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก ไบโอติน โอเมก้า 3 เยอะ เช่น หอยนางรม อาหารทะเล ข้าโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ สาหร่ายทะเล


6. ผิวแห้ง เกิดจากร่างกายสูญเสียน้ำ หรือ ดื่มน้ำน้อย

อาหารบำรุงหลังคลอด : ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำอุ่น หรือ อาหารที่มีน้ำอื่น ๆ เช่น น้ำซุป น้ำผลไม้


แม่ให้นมลูก ต้องกิน “วิตามินเสริมหลังคลอด” ไหม?

ช่วงหลังคลอด และให้นมลูก คุณแม่ต้องการสารอาหาร วิตามิน และ แร่ธาตุบางอย่างเพิ่มขึ้นกว่าปกติ หากรับประทาน หรือ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ กินอาหารไม่ครบหมู่ อาจเสริมวิตามินที่จำเป็นร่วมด้วย เช่น

– เสริมธาตุเหล็กหลังคลอด ธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นจากปกติ 1.5-2 เท่า หลังคลอดแม่เสียเลือดจากการคลอดบุตร จึงควรกินยาธาตุเหล็กต่อเนื่องอีกประมาณ 3 เดือน หรือกินต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเลิกให้นม

– วิตามินซี ระดับวิตามินซีในนมแม่จะลดลงเมื่อให้นมลูกไปนานกว่า 7 เดือน

– วิตามินโฟเลต หรือ กรดโฟลิก ควรได้รับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด ในระยะให้นม ปริมาณกรดโฟลิกที่ควรได้รับ คือ 500 ไมโครกรัมต่อวัน

– วิตามินบี 1 ระยะให้นมบุตรแม่ขาดวิตามินบี 1 ผลทำให้น้ำนมแม่มีวิตามินบี 1 น้อยด้วย ซึ่งทำให้ทารก ขาดวิตามินบี 1 และเป็นโรคเหน็บชา

– วิตามินบี 2 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำนมแม่ อาหารที่มีวิตามินนี้มาก

– วิตามินบี 12 การขาดวิตามินบี 12 เป็นสาเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางได้ ซึ่งแม่หลังคลอดมีความเสี่ยงโลหิตจางสูง จึงควรได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอ

(*ก่อนรับประทานวิตามิน หรือยาเมื่อต้องให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)

วิตามินเสริมหลังคลอด


แม่ให้นมลูก กินวิตามินเสริมหลังคลอดอย่างไรให้ปลอดภัย

– เลือกเสริมวิตามินที่จำเป็น ควรเลือก วิตามินเสริมหลังคลอด หรือสารอาหารที่จำเป็นหลังคลอด หรือ ตอนให้นมลูก เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก เพราะตอนให้นมลูก คุณแม่ต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นจากปกติ 1.5-2 เท่า และหลังคลอดแม่อาจเสียเลือดจากการคลอด จึงควรกินยาธาตุเหล็ก โฟลิก หรือวิตามินบี 12 เสริมด้วย วิตามินที่กินเมื่อตอนตั้งครรภ์ มักจะกินต่อเนื่องได้จนหลังคลอด และให้นมบุตร (ก่อนรับประทานวิตามิน หรือยาเมื่อต้องให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)

– เสริมวิตามิน 3-6 เดือนหลังคลอด ถึงแม้จะคลอดแล้ว แต่ควรกินวิตามินเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไอโอดีน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก เพราะช่วงนี้ทารกจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมของแม่ การเจริญเติบโตของทารกในระยะนี้จึงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมแม่เป็นหลัก แม่ที่มีโภชนาการที่ดีจะมีน้ำนมที่มีคุณภาพ และปริมาณเพียงพอให้กับทารก

– กินยาบำรุงตามแพทย์สั่ง สำหรับยา หรือ วิตามินอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และเมื่อมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

การกินอาหาร หรือ กินบำรุงหลังคลอด สิ่งสำคัญที่ควรเน้นเป็นอันดับแรกคือ ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก่อน และ หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย เพราะอาจส่งผ่านทางน้ำนมได้ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากคุณแม่หลังคลอดไม่มั่นใจว่าได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ อาจจะกินวิตามินที่คุณหมอให้กินขณะตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปด้วย เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ

ที่มา: (1) (2) (3) (4) (5) (6)


ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save