โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร แตกต่างกันอย่างไร?

28 มิ.ย. 24

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร

 

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร เป็นสองโรคเรื้อรัง ที่สร้างความสับสน และผู้ป่วยมักเข้าใจผิดได้บ่อยครั้งว่ามันเป็นโรคเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่นะ! งั้นมาเช็คไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าว่า กรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะ แตกต่างกันอย่างไร?

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD / Heartburn) – เป็นภาวะที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้

​สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน คือ

  • ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ส่งผลให้การขยายตัวของกระเพาะไม่ดี
  • มีความดันในช่องท้องสูง มีโอกาสทำให้เป็นกรดไหลย้อนมากขึ้น
  • ความเครียด
  • ทานอาหารมาเกินไป และชอบทานอาหารรสจัด ของมัน ของทอด
  • ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และการสูบบุหรี่ มีโอกาสทำให้เกิดกรดมากขึ้น

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร


โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะ – Gastritis ตามความหมายของแพทย์ หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคำว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) อธิบายง่าย ๆ คือ โรคที่เกิดแผลขึ้นบริเวณกระเพาะอาหารรวมถึงลำไส้เล็กส่วนต้น หรือเรียกว่า “โรคแผลในกระเพาะอาหาร”

สาเหตุของ โรคกระเพาะอาหาร

  • มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ร่วมกับเยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้มีความต้านทานต่อกรดลดลง จึงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาการ
  • ติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ติดต่อโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ
  • กินสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และยาบางชนิด รวมถึงการชอบสูบบุหรี่
  • มีนิสัยการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น กินอาหารอย่างเร่งรีบ กินอาหารไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ
  • สาเหตุอื่น ๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล คิดมาก นอนไม่หลับ เครียด อารมณ์หงุดหงิด พักผ่อนไม่เพียงพอ

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร ต่างกันอย่างไร?

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารของร่างกาย โดยเกิดขึ้นตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลามไปจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

โดยโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้ายกับอาการของโรคกระเพาะ คนส่วนใหญ่จึงมักจะเข้าใจผิด คิดว่าตนเองเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยามาทานเองแบบผิด ๆ จึงไม่หายจากโรค

อาการที่คล้ายคลึงกันของ 2 โรคนี้ คือ

  • อาการปวด จุกเสียด แน่นท้อง
  • แก๊สในกระเพาะอาหารมาก
  • มีอาการคล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องอืด

ความแตกต่างของ 2 โรคนี้ คือ

โรคกรดไหลย้อน – มักจะเกิดอาการหลังมื้ออาหาร 30-60 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อน แน่นบริเวณหน้าอก หรือลิ้นปี่ คล้ายกับอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย และรู้สึกเหมือนมีน้ำรสขม หรือรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาทางปาก ทั้งนี้ลองสังเกตว่ามีอาการเรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือมีอาการไอ ร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่เป็นตลอด แต่จะเป็น ๆหาย ๆ มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 1-2 ชม.

โรคกระเพาะอาหาร – ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย และมักเป็น ๆ หาย ๆ โดยจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร คืออาจปวดก่อนหรือหลังกินอาหาร โดยโรคกระเพาะ จะไม่รู้สึกว่ามีอาการเรอบ่อย ไม่รู้สึกขมปาก ขมคอ ไม่รู้สึกเหมือนมีน้ำรสขมไหลย้อนขึ้นมาทางปากแบบโรคกรดไหลย้อน

สรุปได้ว่า ถ้าแสบอก เรอเปรี้ยวบ่อย ขมคอ มีน้ำรสขม หรือ รสเปรี้ยวย้อนขึ้นมาทางปาก ก็จะเป็นอาการของกรดไหลย้อน… แต่ถ้าปวดท้อง จุกแน่นเด่นนำมา ก็อาจจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร นั่นเอง


คำถามจากทางบ้าน : ASK EXPERT

คนไข้ถาม :

สวัสดีค่ะคุณหมออยากรู้ว่าโรคกระเพาะ กับ โรคกรดไหลย้อนเหมือนกันไหมคะ ต่างกันยังไง มีอาการแบบไหนเหรอคะ?

หมอกอล์ฟตอบคำถาม :

สวัสดีครับ คุณเลไล

โรคกระเพาะ หมายถึง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะต้องมียาฆ่าเชื้อแล้วก็ยาลดกรดยารักษาแผลในกระเพาะ ส่วนโรคกรดไหลย้อน จะยังไม่ถึงขั้นเป็นแผลในกระเพาะ มียารักษาตามอาการยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะแต่ไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อครับ

สอบถามปัญหาสุขภาพได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง —> ที่นี่


การรักษา โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร

ความรุนแรงของ 2 โรคนี้ไม่ต่างกันนัก และเป็นโรคที่ต้องรีบรักษาอย่าปล่อยให้เรื้อรัง เพียงแต่ต้องรู้วิธีการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อลดต้นเหตุของโรค หรือความเจ็บป่วยแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาได้

การปรับพฤติกรรม และการรักษา โรคกรดไหลย้อน

  1. ทานอาหารให้เป็นเวลา
  2. อย่ากินน้ำมากขณะที่กินข้าว
  3. อย่าทานอาหารเผ็ดจัด ของหมักดอง
  4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ลดความเครียด ฝึกนั่งสมาธิ
  7. ไม่ควรเข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
  8. กินยาบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
  9. ปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการของกรดไหลย้อนว่าอยู่ระยะที่เท่าไหร่ จะได้รักษาถูกขั้นตอน

การปรับพฤติกรรม และการรักษา โรคกระเพาะอาหาร

  1. ทานอาหารให้เป็นเวลา
  2. กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
  3. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของมัน ของทอด
  4. งดบุหรี่ งดเหล้า งดอาหารรสเผ็ด
  5. เลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข้ ที่มีแอสไพริน
  6. ฝึกนั่งสมาธิ ลดความเครียด
  7. กินยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

จะสังเกตเห็นได้ว่า การดูแลรักษาของ 2 โรคนี้มีความคล้ายคลึงกัน แต่ถ้ามีอาการเรื้อรัง ควรตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งต่อไปได้


อ้างอิง : 1. www.gedgoodlife.com 2. www.gedgoodlife.com 3. www.phyathai.com 4. www.mukinter.com

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save