กรดโฟลิก กับ โฟเลต ต่างกันไหม? ทำไมคนท้องต้องกิน

28 มิ.ย. 24

 

กรดโฟลิกสำหรับคนท้อง เป็นสารอาหาร วิตามินที่คุณแม่ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ต้องทำความรู้จักไว้ให้ดี เพราะนี่คือวิตามินสำคัญที่ต้องเสริมอย่าให้ขาดตลอดช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ แต่คุณแม่อาจจะสับสนว่า กรดโฟลิก กับ โฟเลต คือ วิตามินชนิดเดียวกันไหม? ทำไมคนท้องต้องกิน มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย

กรดโฟลิก (folic acid) กับ โฟเลต (folate) ต่างกันไหม?

กรดโฟลิก (folic acid) และโฟเลต (Folate) เป็นวิตามินตัวเดียวกัน นั่นคือ วิตามินบี 9 ที่สามารถละลายน้ำได้ แต่ที่เแตกต่างกัน คือ “กรดโฟลิก” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้น ส่วน “โฟเลต” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ

กรดโฟลิก (Folic Acid) คือรูปแบบของวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา

โฟเลต (Folate) เป็นชื่อสามัญสำหรับกลุ่มของสารเคมีที่มีโครงสร้างพื้นฐานมาจากกรดโฟลิก แต่โฟเลตเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ยอดผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืช

ทำไมคนท้องต้องกินโฟเลต

ปกติร่างกายมีความต้องการโฟเลตวันละ 200-400 ไมโครกรัม สำหรับคนท้อง หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร จะต้องการโฟเลตเพิ่มขึ้นสองเท่า

หากแม่ตั้งครรภ์ ได้รับโฟเลตต่ำกว่ามาตรฐาน สารดีเอ็นเอก็จะไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ของทารกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เด็กที่เกิดมาก็จะเสี่ยงต่อความพิการ

การขาด กรดโฟลิกสำหรับคนท้อง โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเจริญเติบโตผิดปกติโดยเฉพาะของระบบประสาทของทารก และความผิดปกติอื่น ๆ ดังนี้

  • โรคหลอดประสาทไม่ปิด
  • ปากแหว่งเพดานโหว่
  • ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • แขนขาพิการ
  • กลุ่มอาการดาวน์

5 โรคพิการแต่กำเนิด ถ้าแม่ขาดกรดโฟลิก

1. โรคหลอดประสาทไม่ปิด คือภาวะสมองสร้างไม่สมบูรณ์ ร้อยละ 90 ของทารกมีชีวิตเกิน 1 ปี เพราะได้รับการผ่าตัดแก้ไข และร้อยละ 75 มีชีวิตจนเป็นผู้ใหญ่แต่จะพิการขาทั้งสองข้าง ระบบทางเดินปัสสาวะ และอุจจาระทำงานบกพร่อง และยังมีความพิการทางสมองอีกด้วย

2. โรคปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการของส่วนศีรษะ และใบหน้า ทารกจะมีปัญหาการดูดกลืนอาหาร เจริญเติบโตช้า ระบบทางเดินหายใจ และปัญหาด้านการสื่อสาร หน้าตา และการพูดไม่ปกติ

3. หัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจ และหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย

4. แขนขาพิการ เกิดจากความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก แม่ไม่ได้วิตามินโฟลิก หรือกินอาหารที่มีโฟเลต จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นตอนที่มีการปฏิสนธิ แขนขาทารกอาจได้รับการพัฒนาปกติ แต่มือ และเท้าขาดหายไป หรือกระดูกเชิงกรานขาดไป เป็นต้น

5. กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กจะมีลักษณะของตาที่เฉียงขึ้นบน ดั้งจมูกแบน ตาห่าง มือเท้าสั้น กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง และมักจะมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย และมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า

กรดโฟลิกสำหรับคนท้อง

กรดโฟลิกสำหรับคนท้อง ควรเสริมตอนไหน ?

ต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ควรรับประทานโฟเลต หรือ กรดโฟลิก อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนตั้งครรภ์ และสามารถรับประทานได้ต่อเนื่องขณะตั้งครรภ์ เพราะร่างกายคนท้องต้องการกรดโฟลิกมากขึ้น ช่วงหลังคลอด เมื่อให้นมบุตรก็ยังควรเสริมกรดโฟลิกต่อด้วยเช่นกัน

กรดโฟลิกสำหรับคนท้อง หรือ โฟเลต หาได้จากไหน ?

สิ่งสำคัญคือควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาทุกชนิด

อาหารที่มีโฟเลตสูง เช่น ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม คะน้า แครอท แคนตาลูป ฟักทอง ถั่ว ผักบุ้ง ตำลึง ฯลฯ แต่ถึงแม้จะรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง แต่อาหารที่ผ่านความร้อนมักจะสูญเสียโฟเลต ทำให้เมื่อตั้งครรภ์ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ

วิตามินโฟลิก เป็นวิตามินแบบเม็ดที่มีกรดโฟลิกอย่างเดียว ควรรับประทานก่อนตั้งครรภ์ และกินหลังจากตั้งครรภ์ต่อเนื่อง

วิตามินรวมสำหรับคนท้อง หรือ วิตามินเสริมซึ่งมักจะมีวิตามินหลายชนิดสำหรับคนท้อง เช่น กรดโฟลิกไอโอดีน ธาตุเหล็ก และวิตามินจำเป็นอื่น ๆ ควรรับประทานเมื่อเตรียมตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด และให้นมบุตร

คนทั่วไปต้องการกรดโฟลิกประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน แต่สำหรับคนท้อง ร่างกายจะมีความต้องการกรดโฟลิกอยู่ที่ประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ไม่ควรรับประทานกรดโฟลิกเกิน 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน

ดังนั้นหากวางแผนตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ต้องไม่ลืมเสริมวิตามินที่สำคัญสำหรับคนท้องด้วย เพื่อลูกน้อยเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง

ที่มา : (1) (2) (3) (4) (5) (6)

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save