รู้จักอาการหวัดลงคอ พร้อมวิธีแก้หวัดลงคอแบบธรรมชาติให้หายเร็ว

17 ก.ค. 24

บทความโดย เภสัชกร ฐิตาภา ภาษานนท์

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ มักพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ น้ำมูกไหล หรืออาการหวัดลงคอ สาเหตุของอาการเหล่านี้ เกิดจากอะไรได้บ้าง วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักอาการหวัดลงคอ พร้อมวิธีแก้ไข้หวัดลงคอแบบธรรมชาติให้หายเร็ว

หวัดลงคอ คืออะไร

หวัดลงคอ คือลักษณะอาการเจ็บป่วยที่ปรากฏขึ้นภายในลำคอ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งขึ้นมาในภายในบริเวณลำคอและจมูก เพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเมื่อมีการผลิตสารคัดหลั่งออกมามากเกินอาจก่อให้เกิดอาการของหวัดลงคอได้

รู้จักอาการของหวัดลงคอ

หวัดลงคอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายเคืองในลำคอ ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เสียงแหบ หรือมีไข้ต่ำ โดยอาการมักเป็นอยู่ไม่เกิน 7-10 วัน และสามารถบรรเทาได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น ดื่มน้ำอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการใช้เสียงมากเกินไป

 

[H2] อาการหวัดลงคอ มีแบบไหนบ้าง

อาการหวัดลงคอแบ่งออกเป็นสองลักษณะได้แก่ 1.อาการหวัดลงคอจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 2.อาการหวัดลงคอจากคออักเสบ

 1. อาการหวัดลงคอจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

อาการหวัดลงคอจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มักเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงหรือมีการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ขนสัตว์ หรือเกสรดอกไม้ ลักษณะอาการจะมีดังนี้

  • คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล
  • ไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ
  • เจ็บคอ คันคอ ระคายเคืองคอ
  • เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยน
  • อาการตาแดง คันตาที่อาจพบได้ในบางคน

2. อาการหวัดลงคอจากโรคคออักเสบ

อาการหวัดลงคอจากโรคคออักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสในโรคหวัด ไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่  และส่วนน้อยอาจพบจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้ ลักษณะอาการมีดังนี้

  • เจ็บคอ และอาจมีอาการเจ็บคอมากขึ้นขณะกลืนน้ำลายหรือพูด
  • กลืนน้ำลายลำบาก
  • ต่อมทอนซิลแดงหรือบวมโต
  • มีจุดขาวขึ้นบริเวณต่อมทอนซิล
  • เสียงแหบหรืออู้อี้

สาเหตุของหวัดลงคอ

สาเหตุของหวัดลงคอสามารถเกิดได้หลายปัจจัย โดยส่วนมากมักเกิดจากเชื้อไวรัสในโรคหวัด และสาเหตุอื่นๆ เช่นติดเชื้อแบคทีเรีย group A Streptococcus  โรคภูมิแพ้ และสภาพอากาศที่แห้งหรือเย็นจัด ฝุ่น ควัน

1. ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดทั่วไป (Common Cold)

ไข้หวัด คือโรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่นจมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง โดยเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัด มีสายพันธุ์ย่อย ๆ มากกว่า 200 ชนิด เลยทีเดียว

2. ไรโนไวรัส (Rhinovirus)

คำว่า Rhino แปลว่า จมูก ไรโนไวรัส เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกับจมูก เป็นเชื้อไวรัสที่พบมากที่สุดในมนุษย์ และเป็นสาเหตุสำคัญของไข้หวัด โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ มีความหลากหลายทางสายพันธุ์มาก

เมื่อร่างกายของเราหายจากไข้หวัดแล้ว ร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้นขึ้นมา แต่เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ จึงทำให้คนเราเป็นไข้หวัดกันได้ปีละหลายครั้ง

วิธีแก้หวัดลงคอแบบธรรมชาติ

วิธีแก้หวัดลงคอธรรมชาติและวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นหวัด ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงอากาศแห้งหรือเย็นจัด หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ด้วยการเปิดเครื่องฟอกอากาศ ทำความสะอาดห้องบ่อย ๆ ล้างจมูกหรือกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ

1.สร้างสุขอนามัยที่ดี

ไข้หวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่มันก็จะทำอะไรเราไม่ได้เลย ถ้าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกายนั้นก็ทำได้ไม่ยาก โดยเริ่มจาก

  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • ทานอาหารที่มีโปรไบโอติกสูง เช่น โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลดีต่อร่างกาย ช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และอาการหวัดได้

 2. รักษาความสะอาด

คุณสามารถติดหวัดได้ง่ายมาก เพียงแค่คนที่อยู่ข้าง ๆ ไอหรือจาม ก็สามารถส่งไวรัสหวัดมาให้คุณได้ทันที รวมถึงเมื่อคุณสัมผัสกับพื้นผิวที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค เช่น โต๊ะในร้านอาหาร ลูกบิดประตู หรือก๊อกน้ำ ไวรัสหวัดก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ร่างกายของคุณได้ สามารถป้องกันได้โดย

  • ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง หลังสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อโรคติดอยู่
  • พกเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือติดตัวไว้เสมอ เผื่อสำหรับกรณีที่คุณไม่สามารถไปล้างมือฟอกสบู่ได้
  • ใช้ทิชชู่เปียก หรือผ้าเปียกฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดพื้นผิวที่คุณต้องสัมผัส
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ผู้คนแออัด ในช่วงที่มีไข้หวัดระบาด เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือโรงภาพยนตร์ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือให้สะอาด และอย่าใช้นิ้วมือขยี้ตา หรือแคะไชจมูก

3. ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้วต่อวัน

การดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ม มีประโยชน์และช่วยแก้ไข้หวัดได้ เนื่องจากการดื่มน้ำสามารถช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากไข้หวัดได้ดีขึ้น ดังนี้

  • ช่วยขับสารพิษและเชื้อโรค ออกจากร่างกายผ่านทางเหงื่อและปัสสาวะ
  • ลดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น
  • ช่วยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยรักษาสมดุลของร่างกายและบรรเทาอาการขาดน้ำการดื่มน้ำผัก และผลไม้ที่มีประโยชน์ ยังเป็นการเพิ่มแร่ธาตุและวิตามินให้แก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้นได้

เป็นหวัดกินอะไรดี ช่วยแก้หวัดคัดจมูก

เมื่อมีอาการหวัดลงคอ ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีและซิงค์ เช่น ฝรั่ง ส้ม และสัปปะรด เพื่อช่วยให้หวัดหายไวมากขึ้น ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำผึ้งและมะนาวเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือนม เพราะจะกระตุ้นให้เกิดการไอมากขึ้นได้

โรคหวัดหรือหวัดลงคอเป็นอาการที่พบบ่อย มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือ ภูมิแพ้ ได้แก่ เจ็บคอ คันคอ ไอ และมีเสมหะ บางรายอาจมีไข้หรือคัดจมูกร่วมด้วย วิธีดูแลตัวเองคือ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นอาการแพ้ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น

Reference

  • โรงพยาบาลเพชรเวช. หวัดลงคอ อาการที่หลายคนสงสัยว่าเป็นแบบไหนกัน. โรงพยาบาลเพชรเวช [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเพชรเวช; 26 มีนาคม 2567 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/common-cold
  • รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์. หวัดลงคอ อาการ การรักษา และวิธีป้องกัน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์; [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rattinan.com/cold-in-the-throat/
  • Cleveland Clinic. Sore throat (pharyngitis) [Internet]. Cleveland (OH): Cleveland Clinic; [cited 2025 Feb 20]. Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8274-sore-throat-pharyngitis
  • Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Sore throat: About [Internet]. Atlanta (GA): CDC; [cited 2025 Feb 20]. Available from: https://www.cdc.gov/sore-throat/about/index.html
  • Kristin Hayes. What causes post-nasal drip? [Internet]. Verywell Health; [cited 2025 Feb 20]. Available from: https://www.verywellhealth.com/what-causes-post-nasal-drip-1191969
  • American Academy of Otolaryngology–Head and Neck Surgery. Post-nasal drip [Internet]. Alexandria (VA): AAO-HNS; [cited 2025 Feb 20]. Available from: https://www.enthealth.org/conditions/post-nasal-drip/

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save