โรคกระเพาะ (Peptic Ulcer) มีชื่อเต็มว่า โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นหนึ่งในโรคที่สร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสามารถนำไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย และเนื่องจากสาเหตุของโรคกระเพาะนั้น มาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพเสียเป็นส่วนใหญ่ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ และเข้าใจว่าโรคกระเพาะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะได้
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่รสจัด อาหารไขมันสูง และอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง
อาหารรสจัด และอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง เช่น มะนาว สามารถทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ส่วนอาหารไขมันสูงนั้นย่อยยาก การกินอาหารเหล่านี้จึงทำให้ตับ และไตต้องทำงานหนัก ซึ่งผู้ที่มีปัญหาตับ และไต ต่างก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระเพาะมากกว่าปกติด้วยทั้งนั้น
2. ทานอาหารที่ช่วยป้องกัน โรคกระเพาะ
อาหารบางประเภทสามารถช่วยลด รวมถึงหยุดยั้งอาการของโรคกระเพาะได้ เช่น ชาวเขียว, ชาขาว, โยเกิร์ต, น้ำแครอท, น้ำมะพร้าว, ผักใบเขียวต่าง ๆ, กระเทียม, หัวหอม, ผัก และผลไม้สด (ที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรด), ถั่วเหลือง เป็นต้น
3. ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร
พฤติกรรมการกินอาหารอย่างเร่งรีบ และกินอาหารไม่เป็นเวลา ต่างก็ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้ทั้งสิ้น ลองหันมากินอาหารให้ช้าลง เคี้ยวให้ละเอียดขึ้น หรือแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆหลายๆมื้อ รวมถึงกินอาหารให้ตรงเวลา ล้วนแต่เป็นการช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนัก
4. เลิกสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย และโรคกระเพาะ ก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน
5. ลด หรือเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่มที่มากเกินไป เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ การลดปริมาณการดื่มลง หรือเลิกดื่มไปเลย จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะได้
6. งดกินยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก
หรือยาชุดต่าง ๆ และยาsteroid ยาลูกกลอน ยาหม้อต่าง ๆ ยาในกลุ่มนี้จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร
7. ผ่อนคลายความเครียด
เมื่อเราเครียด ร่างกายจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดในกระเพาะอาหารออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหาร หมั่นผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจจากความความเครียด ด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก หรือเล่นโยคะ เป็นต้น
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
การจะป้องกันหรือรักษาโรคกระเพาะให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องรักษากันตั้งแต่ต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกินอาหาร ประเภทของอาหารที่กิน หรือจากโรคภัยที่แฝงตัวอยู่ หากคุณปรับพฤติกรรมการกินอาหารของคุณแล้ว แต่ยังมีอาการของโรคกระเพาะอยู่ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนต่อไป
“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี