ในทุก ๆ วัน พ่อแม่อาจจะเห็นลูกกินข้าว กินขนม ได้เป็นปกติ แต่เราอาจจะไม่รู้เลยว่า อาหารที่ลูก ๆ กินในแต่ละวัน มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการไหม? เด็ก ๆ หลายคนน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์ แต่ไม่ได้แปลว่าได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ครบถ้วน ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ในแต่ละวัน ควรมีปริมาณเท่าไหร่ มาลองเช็กกันดู เพื่อไม่ให้ลูกน้อยขาดวิตามิน
เด็กได้รับสารอาหาร วิตามินมากไป น้อยไป จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
เด็กไม่สูง ภาวะเตี้ย ขาดพลังงาน และโปรตีน ส่งผลให้เด็กไทยไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น
โรคอ้วน กินของหวาน น้ำตาล ได้รับไขมัน และคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และไม่ออกกำลังกาย
ภาวะโลหิตจาง ส่งผลต่อความฉลาดของเด็ก เพราะขาดธาตุเหล็ก สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง การเจริญเติบโต ความกระตือรือล้นลดลง มีปัญหาสมาธิ ผลการเรียนตกต่ำ
การเจ็บป่วย หากเด็กขาดวิตามินบางชนิด อาจส่งผลให้ร่างกายผิดปกติได้ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เหน็บชา อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เลือดกำเดาไหล ผิวแห้งกร้าน ฯลฯ
ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ที่ควรได้รับในแต่ละวัน
วิตามินเอ
วิตามินเอ ช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น มีผลต่อการเจริญเติบโต และทำให้เซลล์ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ อยู่ในสภาวะปกติ หากขาดวิตามินเอ อาจเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารในทารก และเด็กเล็ก
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินเอ ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 300 ไมโครกรัมของ retinol / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 350 ไมโครกรัมของ retinol / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 350 ไมโครกรัมของ retinol / วัน
อาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม ผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ผักใบสีเขียวเข้ม ผักและผลไม้ สีเหลือง ส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น
วิตามินบี 1
วิตามินบี 1 หรือ ไธอะมิน (Thiamin) ร่างกายคนไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร หากขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เกิดโรคเหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 1 ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.5 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง ได้แก่ เนื้อหมู ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วดำ และงา
วิตามิน บี 2
วิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน เป็นวิตามินที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวมช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างเหมาะสม ช่วยส่งเสริมระบบประสาทผิวหนัง และตา ช่วยป้องกันเซลล์ถูกทำลาย
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 2 ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.5 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม
วิตามิน บี 6
วิตามิน บี 6 มีบทบาทสำคัญโดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และการเผาผลาญกรดอะมิโน ถ้าขาดวิตามินบี 6 อาจทำให้มีอาการโลหิตจางแบบ microcytic ทำให้ผิวหนังอักเสบใน ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำ ทำให้มีการตอบสนองของระบบประสาทช้าลง มีอาการซึมเศร้า สับสน
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 6 ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.5 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 0.6 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่แดง
วิตามิน บี 12
วิตามินบี 12 ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโต โดยการกระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินบี 12 ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 0.9 ไมโครกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 1.2 ไมโครกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 1.2 ไมโครกรัม / วัน
อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง ได้แก่ เนื้อหมู สัตว์ปีก เป็ด ไก่ ปลา รวมทั้ง กุ้ง หอย ปู ไข่ น้ำนม และผลิตภัณฑ์จากน้ำนม
โฟเลต
เมื่อขาดโฟเลต ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเซลล์ชะงัก โดยเฉพาะเซลล์ที่เจริญเติบโตเร็ว เช่น เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ และเกิดภาวะโลหิตจางได้
ปริมาณโฟเลตที่ร่างกายเด็กต้องการ ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 120 ไมโครกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 140 ไมโครกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 180 ไมโครกรัม / วัน
อาหารที่มีโฟเลต สูง ได้แก่ ผัก และผลไม้เป็นแหล่งอาหารที่ดีของโฟเลต เช่น ดอกกะหล่ำ ดอกและใบกุยช่าย มะเขือเทศ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง แครอท ถั่วฝักยาว ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผลไม้สีส้ม องุ่นเขียว สตรอว์เบอร์รี ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดงหลวง ถั่วเหลือง
โคลีน
โคลีนเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินที่ละลายน้ำได้ โคลีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นสำหรับโครงสร้างของผนังเซลล์ การส่งสัญญาณประสาท
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการโคลีน ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 200 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 250 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 250 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีโคลีนสูง ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์
วิตามินซี
วิตามินซี มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจน ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงการเพิ่มภูมิต้านทาน ถ้ามีการขาดวิตามินซี อย่างรุนแรงจะเกิดโรคลักปิดลักเปิด
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการวิตามินซี ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 20-25 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 25-30 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 30-40 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผักและผลไม้รสเปรี้ยว เช่น พริกหวาน ผักคะน้า บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ ถั่วลันเตา มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฝรั่ง มะขามป้อม ฯลฯ
แคลเซียม
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่หลัก คือ รักษาความแข็งแรง และรูปร่างของกระดูก ถ้าได้รับแคลเซียมไม่พอ เสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนได้
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 500 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-10 ปี : 800 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม พืชเมล็ด ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา
ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็ก มีบทบาทในการทำงานของสมอง การขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลหิตจาง การขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กเล็ก (0-2 ปี) มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใจ และร่างกาย มีปัญหาการใช้อวัยวะ เช่น มือ ตา ให้สัมพันธ์กัน ลดโอกาสการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว การขาดธาตุเหล็กมีผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ได้ตลอดช่วงวัยเด็ก การเสริมธาตุเหล็กแก้ปัญหาได้ในเด็กโต
ปริมาณที่ร่างกายเด็กต้องการธาตุเหล็ก ในแต่ละวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี : 5.0 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 4-5 ปี : 6.0 มิลลิกรัม / วัน
- เด็กอายุ 6-8 ปี : 6.6 มิลลิกรัม / วัน
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน เป็ด ไก่ และปลา อาหารเหล่านี้นอกจากมีธาตุเหล็กสูงแล้วยังช่วย การดูดซึมของเหล็กพวก non-heme iron ได้ดีอีกด้วย
เส้นใยอาหาร
เส้นใยอาหารเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของเส้นใยอาหารต่อสุขภาพ คือ เป็นพรีไบโอติก (prebiotic) เส้นใยอาหารประเภท soluble fiber ซึ่งไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร แต่จะเป็นอาหารให้กับ แบคทีเรียกลุ่ม probiotic ที่พบได้ในลำไส้ใหญ่ เช่น Lactobacillus
ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
- Thai Recommended Daily Intake (Thai RDI) ได้กำหนด ปริมาณเส้นใยอาหารที่ร่างกายควรรับเท่ากับ 25-30 กรัมต่อวัน
อาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง
หากลูกเป็นเด็กกินอาหารได้น้อย เลือกกิน ควรเสริมด้วย วิตามินเด็ก เช่น Nutroplex ซึ่งนอกจากมีใยอาหาร Oligofructose จากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุล ด้านระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็นวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นกับพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กอีกด้วย
NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส )
วิตามินรวมสำหรับเด็กกินยาก ไม่กินข้าว เบื่ออาหาร ปริมาณวิตามินสำหรับเด็ก ที่ควรได้รับในแต่ละวันควรได้รับอย่างเพียงพอ นูโทรเพล็ก โอลิโก พลัส มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติและธาตุเหล็กสูง กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
NUTROPLEX OLIGO PLUS มีส่วนประกอบสำคัญ คือ Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี
สั่งซื้อ NUTROPLEX OLIGO PLUS ได้แล้วที่นี่
แอดไลน์ ID : @nutroplexclub
Inbox Facebook https://www.facebook.com/nutroplexclub