เราอาจจะคุ้นเคยกับ “โปรไบโอติก” (Probiotic) กันบ้างว่าคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ แต่นอกจากโปรไบโอติกแล้ว พรีไบโอติกก็จำเป็นเช่นกัน ว่าแต่… พรีไบโอติก คืออะไร? แล้วอาหารอะไรบ้างที่มีพรีไบโอติกสูง? ตามมาดูคำตอบกันเลย
รู้จักกับ พรีไบโอติก
พรีไบโอติก (Prebiotic) คือใยอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อย และดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อไปเลี้ยง หรือส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ทำให้แบคทีเรียชนิดที่มีผลเสียต่อสุขภาพลดจำนวนลง
ใยอาหารธรรมชาติ โอลิโกฟรุคโตส
พรีไบโอติกที่มีการใช้มากที่สุดคือ Fructo-Oligosaccharide: FOS และ Inulin
Fructo-Oligosaccharide: FOS และ Inulin ใยอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้ ถือว่ามีขนาดค่อนข้าง
เล็ก และละลายน้ำได้ดี ซึ่งใยอาหารทั้ง 2 มีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดโมเลกุล
1. Inulin (อินนูลิน) เปรียบเสมือนพี่ใหญ่ มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เป็นสารจำพวกโพลิแซ็กคาไรด์ที่พืชสะสมเป็นอาหาร โดยประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลฟรุกโตสต่อกันยาวตั้งแต่ 3-60 โมเลกุล และมีน้ำตาลกลูโคสอยู่ที่ปลายสุด โดยประมาณ 70% ของอินนูลินจะเป็นโพลิเมอร์ที่มีน้ำตาลมาก
กว่า 10 โมเลกุลต่อกัน โดยพบในพืชมากกว่า 36,000 ชนิด เช่น รากชิโครี เห็ด หัวหอม กระเทียม
กล้วย
2. Fructo-Oligosaccharide: FOS หรือ Oligofructose (โอลิโกฟรุคโตส) เปรียบเสมือนน้องเล็ก เนื่องจากมีขนาดโมเลกุลเล็กกว่า อินนูลิน จัดเป็นสารจำพวก Resistant Oligosaccharides (non-digestible oligosaccharides) คือ ไม่สามารถถูกย่อยโดยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ได้ แต่ถูกย่อยโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ พบมากในข้าวสาลี ข้าวไรย์ หัวหอม ถั่วเหลือง โกโบ้ และพืชประเภทพืชหัว โดยมีความหวานประมาณ 30% ของน้ำตาลทราย
ประโยชน์ของ “พรีไบโอติก”
1. ช่วยกระตุ้นการเจริญของอินนูลิน และ โอลิโกฟรุกโตส โดยเฉพาะ Bifidobacterium ช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ และป้องกันอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ
2. ช่วยควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกาย
3. ช่วยลดสารพิษหลายชนิดที่อาจสะสมตามผนังลำไส้
4. ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน
5. ส่งเสริมการดูดซึมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
6. ลดการดูดซึมคลอเลสเตอรอลที่มากับอาหารและที่ขับออกมาในรูปน้ำดี
7. ป้องกันมะเร็งลำไส้
8. ลดน้ำตาลในเลือด โดยการกระตุ้นฮอร์โมนอินเครทิน (incretin) ที่ลำไส้
5 อาหารพรีไบโอติกสูง
พรีไบโอติก พบได้ในอาหารบางประเภท เช่น กล้วย หอมหัวใหญ่ กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง และข้าวสาลี รวมทั้งในนมแม่ยังอุดมไปด้วยพรีไบโอติกตามธรรมชาติ
1. หอมหัวใหญ่ เป็นอาหารที่มีพรีไบโอติกสูง และ หอมหัวใหญ่ยังเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญมากมาย
2. หน่อไม้ฝรั่ง นอกจากมีพรีไบโอติกสูงแล้ว หน่อไม้ฝรั่งยังเป็นผักที่มีกากใยอาหารสูง ช่วยในเรื่องการกระตุ้นระบบขับถ่ายลูกน้อยได้ดี
3. กล้วย กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญต่อร่างกายของคนเรา อีกทั้งยังมีไฟเบอร์จำนวนมหาศาล ที่ช่วยรักษาอาการท้องผูก และกระตุ้นการขับถ่ายได้
4. กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีเป็นผักที่มีพรีไบโอติกสูง และยังสามารถนำมาทำอาหารให้ลูกได้หลากหลาย รับประทานง่าย นอกจากนี้กะหล่ำปลียังเป็นแหล่งของวิตามินบี และวิตามินซีที่ดีด้วย
5. แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลถือว่าเป็นผลไม้มหัศจรรย์ ที่ดีกับร่างกายมาก ๆ แอปเปิ้ลมีสารต้านอนุมูลอิสระ เและมีไฟเบอร์เพคตินธรรมชาติ ซึ่งดีระบบขับถ่ายของลูกน้อย แอปเปิ้ลยังเป็นแหล่งของใยอาหารธรรมชาติ หรือ พรีไบโอติก อย่างอินนูลิน และโอลิโกฟรุคโตสด้วย
NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ) วิตามินรวมสำหรับเด็กกินยาก ไม่กินข้าว ที่อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติและธาตุเหล็กสูง กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เป็นวิตามินรวมสำหรับเด็กตัวเดียวที่มี “ธาตุเหล็ก” ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างและพัฒนาสมอง
นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส มี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี