คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่า ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นกับลูกน้อยขนาดไหน ในวัยเรียนที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต สมองกำลังพัฒนา หากลูกได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุไม่เพียงพอ อาจส่งผลทั้งร่างกาย และสมองของลูกได้ ถ้าลูกกินอาหารได้น้อย ไม่ได้รับธาตุเหล็กไม่พอ ควรเสริมธาตุเหล็ก ให้กับลูก และนี่คือเหตุผลที่ ทำไมต้อง เสริมธาตุเหล็ก ให้ลูก?
5 เหตุผลที่ควร “เสริมธาตุเหล็ก” ให้ลูก
1. ธาตุเหล็ก ช่วยให้สมองดี มีผลต่อการเรียน
ธาตุเหล็ก จำเป็นต่อการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมอง และ ธาตุเหล็กยังช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในสวนที่เกี่ยวของกับความเข้าใจ และความจํา (Cognitive development) หากขาดธาตุเหล็ก จะทำให้เด็กสมาธิสั้น ไอคิวลดลง ส่งผลต่อการเรียนรู้ สติปัญญา
2. เสริมธาตุเหล็กให้ลูก ป้องกันโลหิตจาง
ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดธาตุเหล็ก ได้รับธาตุเหล็กไม่พอ อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรือ ภาวะซีด ได้ ซึ่งหากตรวจวัดระดับความเข้มข้นของเลือด หรือฮีโมโกลบิน จะต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ อีกทั้งพบเม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก และระดับเหล็กสะสมต่ำ การเสริมธาตุเหล็ก จะช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้ แต่ต้องได้รับการแนะนำจากคุณหมอก่อน
3. ขาดธาตุเหล็ก ทำให้อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ
เหตุผลที่ต้อง เสริมธาตุเหล็กให้ลูก เพราะธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่าง ๆ ในการสันดาปพลังงาน เพื่อนําพลังงานต่าง ๆ ไปใช้ทั่วรางกาย
ถ้าขาดธาตุเหล็ก อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ร่างกายใช้พลังงาน ธาตุเหล็ก ยังนำออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ และสมอง มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจ ระดับธาตุเหล็กต่ำ อาจส่งผลให้อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย แถมเวลาเรียนในห้องเรียนก็ไม่มีสมาธิจดจ่อ ไม่ตั้งใจเรียน
4. ธาตุเหล็ก เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย
เมื่อขาดธาตุเหล็กจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ เฉื่อยชา ภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งเสี่ยงทำให้ติดเชื้อง่าย ป่วยง่าย ถ้าเกิดการเจ็บป่วย หรือมีบาดแผล ก็มักจะฟื้นตัว หรือหายได้ช้า ดังนั้นควรเสริมธาตุเหล็กให้เพียงพอ เพื่อให้ลูกมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง
5. ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เล่นกีฬาดีขึ้น
สำหรับเด็ก ๆ ที่เล่นกีฬา หรือ นักกีฬา การขาดธาตุเหล็ก จะลดประสิทธิภาพการกีฬาลง เพราะเมื่อขาดฮีโมโกลบิน จะทำให้ลดประสิทธิภาพในระหว่างการออกแรงลงอย่างมาก เพราะความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อลดลงนั่นเอง
เมื่อไหร่ถึงควรเสริมธาตุเหล็กให้ลูก
– เมื่อลูกกินได้น้อย เลือกกิน ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี ที่เริ่มกินอาหารได้ 3 มื้อแล้ว ถ้าแม่ทำอาหารที่มีสารอาหาร มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ให้ลูกเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องเสริมธาตุเหล็ก แต่ถ้าลูกเป็นเด็กกินยาก กินข้าวได้น้อย เลือกกิน จนอาจไม่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ เพียงพอ ควรเสริม วิตามินสำหรับเด็ก หรือ เสริมธาตุเหล็กให้ลูก
– ลูกอ่อนเพลีย ขาดสมาธิ หากมีภาวะขาดธาตุเหล็กนาน ๆ อาจทำให้ลูก มีอาการ เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยงาย เล็บผิดรูป เล็บงอเป็นช้อน หรือ ผลการเรียนไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ เป็นไปได้ว่าลูกอาจมีอาการขาดธาตุเหล็ก นอกจากลองเสริมด้วยวิตามินรวม ที่มีธาตุเหล็กแล้ว อาจจะพาไปพบแพทย์ด้วย เพื่อตรวจรักษา และวินิจฉัย
วิธีการเสริมธาตุเหล็ก
– เลือกกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ในแต่ละมื้ออาหารของลูก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ (ตับ) เนื้อสัตว์ ไข่แดง หอย (หอยกาบ หอยนางรม หอยแมลงภู่) ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง ลูกเกด เป็นต้น
นอกจากทำเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงให้ลูกแล้ว ควรเสริมวิตามินซี ให้ลูกด้วย เพราะวิตามินซี ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว มะละกอ เป็นต้น
– ให้ลูกกินวิตามินเสริมที่มีธาตุเหล็ก วิตามินรวมสำหรับเด็กมีหลายชนิด แต่มีวิตามินรวมสำหรับเด็กตัวเดียวที่มีธาตุเหล็ก คือ ผลิตภัณฑ์ Nutroplex Oligo plus ซึ่งมีธาตุเหล็ก และมีวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย โดยขนาดการรับประทาน เด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานวันละ ½ ช้อนชา ส่วนเด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานวันละ 1 ช้อนชา
– กินยาธาตุเหล็ก การกินยาธาตุเหล็ก ควรปรึกษาคุณหมอก่อน ซึ่งคุณหมอจะวินิจฉัย และสั่งยาเสริมธาตุเหล็กให้ ซึ่งเมื่อกินยาแล้วจะทำให้มีอุจจาระสีดํา ซึ่งเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่กินยา
NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ) วิตามินรวมสำหรับเด็กกินยาก ไม่กินข้าว ที่อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติและธาตุเหล็กสูง กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เป็นวิตามินรวมสำหรับเด็กตัวเดียวที่มี “ธาตุเหล็ก” ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างและพัฒนาสมอง และยังมี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี
ที่มา
medicalnewstoday
honestdocs
http://tsh.or.th
https://www.si.mahidol.ac.th
https://www.thaihealth.or.th