อาการไอหลังเป็นหวัด ทำไมหายป่วยแล้วยังไม่หยุดไอ!?

28 มิ.ย. 24

อาการไอหลังเป็นหวัด

 

เมื่อเริ่มเป็นหวัด ก็ทรมานกับอาการไอมาตลอด จนรักษาหวัดหายแล้ว แต่ทำไม อาการไอ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายไปด้วย ถ้ามี อาการไอหลังเป็นหวัด อาจเกิดจากสาเหตุอื่นแทรกซ้อนได้ มาดูกันว่า อาการไอหลังเป็นหวัดเกิดจากอะไร จะรักษาอย่างไร

อาการไอหลังเป็นหวัด คืออะไร?

อาการไอหลังเป็นหวัด หรือ อาการไอหลังติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Post-infectious cough) คือ การไอหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งโดยปกติก็จะไอมาก่อนแล้วราว 2 สัปดาห์ ตั้งแต่เริ่มเป็นหวัด ไม่ว่าเกิดจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด แม้ว่าอาการไข้ เจ็บคอ จะหายไปแล้ว แต่บางคนยังคงมีอาการไอต่อเนื่องไปอีก 3-8 สัปดาห์ ซึ่งโดยปกติ อาการไอจะหายไปภายใน 2 เดือนโดยไม่ต้องรักษา

สาเหตุของ อาการไอหลังเป็นหวัด

– ทางเดินหายใจอักเสบยังไม่หายดี ถึงแม้อาการไข้หวัดอื่น ๆ จะหายดีแล้ว แต่อาจยังมีการอักเสบของทางเดินหายใจต่อเนื่องไปได้อีกสักระยะ ทั้งเยื่อบุจมูก ลำคอ หลอดลม ทำให้มีอาการไอต่อเนื่องหลังหวัดหายแล้ว

– หลอดลมไวต่อการกระตุ้น หลังการติดเชื้อไวรัส อาจทำให้หลอดลมมีความไวต่อการถูกกระตุ้น (Bronchial Hyperresponsiveness หรือ BHR) แล้วจะมีการไอเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะถ้าพักผ่อนไม่พอหรือใช้เสียงมากอยู่

– น้ำมูกไหลลงคอ อาจมีภาวะน้ำมูกไหลลงคอ (postnasal drip) ทำให้รู้สึกระคายคอ หรือ คันคออยู่ตลอดเวลา แต่ไอไม่ออก

อาการไอหลังเป็นหวัด

ลักษณะของ อาการไอหลังเป็นหวัด

1. กรณีที่มีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway) ผู้ป่วยมักรู้สึกระคายคอตลอดเวลา ไอกระแอมบ่อย ๆ (throat clearing cough) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวของจมูกอยู่เดิม เช่น จมูกอักเสบภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบติดเชื้อ อาจจะไอนานกว่าคนทั่วไป

2. กรณีที่มีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower airway) ผู้ป่วยมักไอมักมีเสมหะ และไวต่อสารระคายเคือง (ฝุ่น ควัน กลิ่นฉุน)

3. บางรายที่ไออยู่นาน อาจมี ภาวะกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease) เป็นผลตามมา ซึ่งทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น

การวินิจฉัยแยกโรค

ก่อนจะบอกว่าเป็น อาการหลังติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Post-infectious cough) นั้น แพทย์จะถามประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงพิจารณาเอกซเรย์ในบางราย เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นที่อาจเป็นไปได้เสมอ เช่น “ไซนัสอักเสบติดเชื้อ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กำเริบ โรคหืดกำเริบ กรดไหลย้อน หรือจริง ๆ เป็นการติดเชื้อไอกรนตั้งแต่แรก”

1. ไซนัสอักเสบติดเชื้อ มีอาการทางจมูกเด่น คัดจมูก น้ำมูกเปลี่ยนสี ไข้ อาจปวดบริเวณใบหน้าหรือไม่ก็ได้ (กรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักเป็นนานหรือรุนแรงกว่าไวรัส)

2. โรคหืดกำเริบ มีประวัติโรคหืดอยู่เดิม หายใจเสียงหวีด แน่นหน้าอก

3. กรดไหลย้อน มีอาการไอมากขึ้นในบางช่วง เช่น นอนราบ หลังอาหาร พูด, หัวเราะ อาจไม่พบอาการของกรดไหลย้อน เช่น แสบร้อนอก เรอเปรี้ยว ก็ได้ (extra-esophageal GERD)

อาการไอหลังเป็นหวัด

การรักษาอาการไอด้วยยา

กรณี “ไอหลังไข้หวัดธรรมดา”

– ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะไม่เกิดประโยชน์ ส่วนใหญ่มักดีขึ้นเรื่อย ๆ และหายเองภายใน 2 เดือน

– การรักษาเสริม  เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด รายที่ไอมากอาจใช้ ipratropium ชนิดสูด สเตียรอยด์ชนิดกิน prednisolone 30 mg/d ช่วงสั้น 1-2 สัปดาห์

– อาจให้ยากดอาการไอช่วงสั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยไอจนรบกวนชีวิตประจำวัน

การดูแลตัวเอง เมื่อมีอาการไอหลังเป็นหวัด

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่น
  • ดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำ
  • งดอาหารประเภททอด ๆ หรือ อาหารรสเผ็ด

หลังจากดูแลตัวเองตามนี้ พอภูมิต้านทานดีขึ้น อาการไอก็จะค่อย ๆ ลดลง และหายไปได้เอง เแต่ถ้ามี อาการไอ เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะเข้าข่ายกลุ่มไอเรื้อรัง ควรพบแพทย์ เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัย ซึ่งแพทย์อาจจะซักประวัติความเจ็บป่วยใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อดูสาเหตุของการไอ

อ้างอิง : 1. ภูมิแพ้แก้ได้ Allergic march 2. bangkokhospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save