ช่วงนี้มีคนถามเข้ามาที่หน้า ASK EXPERT เป็นจำนวนมากว่า อาการที่ตนเองเป็นอยู่ เช่น อาการไอ มีไข้ ปวดหัว ปวดท้อง ใช่อาการของ โควิด-19 หรือไม่? วันนี้ GedGoodLife จึงขอกล่าวถึงอาการเตือนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 – 9 ว่ามีอาการอย่างไร มาเช็คกันเลยกับ “9 วัน อาการเตือน” เราติด COVID-19 มั้ย?
“9 วัน อาการเตือน” เราติด COVID-19 มั้ย?
อาการเบื้องต้น วันที่ 1-3
- มีอาการคล้ายจะเป็นหวัด
- ปวดในคอเล็กน้อย
- ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อยหอบ
- ทานอาหาร ดื่มน้ำได้ตามปกติ
วันที่ 4
- มีเจ็บคอเล็กน้อย
- พูดเริ่มเจ็บในคอ
- ไข้ดูปกติ 36.5 องศาเซลเซียส
- เริ่มกินได้ยากขึ้น
- ปวดหัวเล็กน้อย รู้สึกเหมือนเมา ๆ
- ท้องเสียอย่างอ่อน
วันที่ 5
- ปวดในคอ พูดแล้วเจ็บคอ
- อ่อนเพลีย
- เริ่มรู้สึกปวดข้อต่อ
- อุณหภูมิของร่างกายเริ่มสูงขึ้น อยู่ระหว่าง 36.5°c – 36.7°c
วันที่ 6
- มีไข้ต่ำ ๆ ที่ประมาณ 37°c
- มีอาการไอแห้ง
- เจ็บคอ ปวดคอขณะที่ทานข้าว
- อ่อนเพลีย และคลื่นไส้
- หายใจลำบากเป็นครั้งคราว
- เจ็บปวดที่นิ้ว
- มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง อาเจียน
วันที่ 7
- มีไข้สูงขึ้น อยู่ที่ 37.4°-37.8°
- มีอาการไอ และมีเสมหะ
- ปวดหัว และปวดตามร่างกาย
- อาการท้องร่วงแย่ลง
- มีอาการอาเจียนร่วมด้วย
วันที่ 8
- มีไข้ประมาณ 38°c หรือสูงกว่า
- หายใจลำบาก
- ไออย่างต่อเนื่อง
- ปวดหัว ปวดข้อต่อ
- อาการต่าง ๆ เริ่มทรุดลง
วันที่ 9
- อาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด
- ไข้สูงมาก
- หายใจลำบาก
- และเริ่มหายใจขัดข้อง
**ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องตรวจเลือด และเข้ารับการ X-Ray ทรวงอกทันที
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ วงใน และ กระทรวงสาธารณสุข
กรมอนามัยชี้จุด เเหล่งสะสมเชื้อโควิดอยู่ตรงไหนในร่างกายบ้าง!
ทางเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข เผยเเหล่งสะสมเชื้อโควิดอยู่ตรงไหนในร่างกายบ้าง มาดูกัน (เรียงจากมากสุดไปน้อยสุด)
น้ำมูก – มีเชื้อCOVID-19 มากที่สุด ประมาณ 97.9% การตรวจหาเชื้อ จึงตรวจจากน้ำมูกเป็นหลัก
น้ำลาย – มีเชื้อCOVID-19 ประมาณ 88.6% รองลงมาจากน้ำมูก พยายามเลี่ยงการพูดคุยระยะใกล้ชิด
อุจจาระ – มีเชื้อCOVID-19 ประมาณ 70.8% ปิดฝาก่อนกดชักโครกเสมอหลังจากใช้โถส้วมเสร็จ และอย่าลืมล้างมือด้วยสบู่เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
ลำคอ – มีเชื้อCOVID-19 ประมาณ 60% คุณหมอจะเก็บตัวอย่างจากบริเวณลำคอ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย
เลือด – มีเชื้อCOVID-19 ประมาณ 12.3% บริจาคเลือดต้องคัดกรองอย่างดี ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ควรบริจาคเลือด
น้ำตา – มีเชื้อโควิด-19 น้อยที่สุด อยู่ที่ 1.1%
* ปัสสาวะ อสุจิ และน้ำหล่อลื่นจากช่องคลอด ไม่พบเชื้อ COVID-19
** “สารคัดหลั่ง” คือ สารที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไป เมื่อติดเชื้อโควิด-19 เชื้อจะไปสะสมใน สารคัดหลั่งชนิดต่างๆในปริมาณไม่เท่ากัน
ตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี! หากผู้เข้าตรวจตรงตามเกณฑ์เหล่านี้
- เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น อิตาลี อเมริกา อังกฤษ เดินมาร์ก โปแลนด์ เป็นต้น
- มีอาการเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เช่น มีอาการไอ, มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส, หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย, ปวดหัว เป็นต้น
- มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
- ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น
รวม 18 โรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจ COVID 19 ฟรี! (สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์)
1. รพ. จุฬาลงกรณ์
2. รพ. ราชวิถี
3. รพ. รามาธิบดี
4. รพ. วิชัยยุทธ
5. รพ. บางปะกอก 9 อินเตอร์แนชั่นแนล
6. รพ. พญาไท 2
7. รพ. พญาไท 3
8. รพ. แพทย์รังสิต
9. รพ. ศิริราชปิยมหาราชการุณย์
10. สถาบันบำราศนราดูร
11. รพ. กรุงเทพคริสเตียน
12. รพ. พระราม 9
13. รพ. เปาโลเมโมเรียล
14. รพ. เปาโลเมโมเรียลโชคชัย 4
15. รพ. เปาโลเมโมเรียลสมุทรปราการ
16. รพ. เปาโลเมโมเรียลรังสิต
17. รพ. เปาโลเมโมเรียลเกษตร
18. รพ. เปาโลเมโมเรียลพระประแดง
สามารถโทรเช็คโรงพยาบาลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมโรค โทร 1422
สายด่วนปรึกษาปัญหา COVID-19 จากสำนักงานต่าง ๆ
เซฟภาพเก็บไว้ แชร์ให้เพื่อน ๆ ได้เลย!! สายด่วนปรึกษาปัญหา COVID-19 จากสำนักงาน และ สถาบันต่าง ๆ หากคุณมีอาการตามที่ข้างต้นกล่าวมา อย่ารอช้า โทรหาสายด่วนเหล่านี้ได้ทันที!
– สอบถาม COVID-19 (สายด่วนกรมควบคุมโรค)
โทร : 1422
– เช็คสิทธิรักษาบัตรทอง (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
โทร : 1330
– เจ็บป่วย / อุบัติเหตุฉุกเฉิน (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
โทร : 1669
– สายด่วนรัฐบาล (ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน)
โทร : 1111
– สิทธิประกันสังคม (สำนักงานประกันสังคม)
โทร : 1111
– ปรึกษาสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต)
โทร : 1323
– ปรึกษาแพทย์ (โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์)
โทร : 1378
– สอบถามผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา-อย.)
โทร : 1556
– ปรึกษาเรื่องยา (องค์การเภสัชกรรม GPO)
โทร : 1648
แจ้งข่าวสำหรับประชาชนที่มีบัตรทอง
ประชาชนที่มีบัตรทอง หากมีอาการเสี่ยง สงสัยป่วยโควิด-19 ตามเกณฑ์1+2+3 หรือ 4 (ตามinfographicด้านล่าง) สามารถไปรับการตรวจ-รักษา ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ หรือโรงพยาบาลของรัฐได้
ย้ำ! ย้ำ! ย้ำ! อาการไม่เข้าเกณฑ์ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
-อาการไม่เข้าข่ายตามเกณฑ์ไม่ต้องไปโรงพยาบาลขอตรวจ
-อาการไม่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไปขอตรวจ ต้องจ่ายเงินเอง
สอบถามเรื่องสิทธิบัตรทอง โทรสายด่วน สปสช.1330
สอบถามข้อมูล – ขอคำแนะนำปรึกษาโรคโควิด-19 โทรสายด่วน กรมควบคุมโรค 1422
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, infographic สปสช.เขต 12สงขลา https://bit.ly/3ailUr4
#อาการเตือนโควิด-19 #สัญญาณเตือนโควิด-19 #อาการของโควิด
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife