ย้อนอดีตโรคระบาด สะท้านโลก! สุดสยอง ตายกว่า100ล้านศพ!!

28 มิ.ย. 24

 

โรคระบาดใหญ่ที่ทั้งโลกกำลังตื่นตัวอยู่ตอนนี้อย่าง ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ดูจะกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับ “โรคระบาดในอดีต” ที่พรากชีวิตคนไปถึงร้อยล้านคน!! โดยวันนี้ GedGoodLife จะพาทุกท่านย้อนอดีตไปดูโรคระบาดร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นในโลกใบนี้ ว่าจะน่ากลัว และโหดร้ายแค่ไหน แล้วเราจะระวังตัวไม่ให้ติดโรคระบาดได้อย่างไร มาติดตามกัน!

decolgen ดีคอลเจน

เปิดตำนาน “โรคระบาดในอดีต” สุดสะท้านโลก!

1. มาลาเรีย – malaria

มาลาเรีย หรือ ไข้จับสั่น เป็นโรคระบาดเก่าแก่มากที่สุดโรคนึง โดยโรคมาลาเรียมีมาตั้งแต่เมื่อ 1,500 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่า ทั้งนี้ โรคมาลาเรียอาจถูกกำจัดหมดไปจากโลก ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

Photo by Brendan Bannon. September 2015. Bentiu, South Sudan

อุบัติขึ้นเมื่อ : 1,500 ปีก่อน

จำนวนผู้เสียชีวิต : 405,000 คนทั่วโลก (พ.ศ.2561) และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 200 ล้านคน

สาเหตุ : เกิดจากโดนยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด

อาการ : มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภาวะโลหิตจาง
อุจจาระเป็นเลือด

วิธีรักษา : รักษาได้ด้วยยาต้านมาลาเรีย


2. กาฬโรค – The Black Death

“กาฬโรค” หรือ “มรณะดำ” คือ โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุด เลวร้ายที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา และปัจจุบันโรคนี้ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแค่มนุษย์สามารถควบคุมโรคนี้ได้ดีกว่าแต่ก่อนนั่นเอง

โรคระบาดในอดีต

โรคระบาดในอดีต

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Black_Death

อุบัติขึ้นเมื่อ : คริสตศักราช 1347 ถึง 1351 (พ.ศ. 1890 – 1894)

จำนวนผู้เสียชีวิต : ภายใน 5 ปี มีจำนวนผู้เสียชีวิต 75 – 200 ล้านคนทั่วโลก (นับว่าเป็นโรคติดต่อที่มนุษย์ล้มตายมากที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยมีมา)

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนูในแถบตอนกลางของเอเชีย

อาการ : อาการที่มีบันทึกไว้บ่อยที่สุด คือ การพบฝีมะม่วงที่ขาหนีบ คอ หรือรักแร้ ซึ่งฝีนี้มีหนองซึม เมื่อผ่าเปิดแล้วมีเลือดออก มีไข้สูง อาเจียนเป็นเลือด และเสียชีวิตได้ใน 2-7 วัน

วิธีรักษา : รักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะโดยการดูแลของแพทย์เท่านั้น


3. ไข้หวัดใหญ่สเปน Spanish Flu (The 1918 influenza pandemic)

ไข้หวัดใหญ่สเปน ถือเป็นประวัติศาสตร์โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุด และพรากชีวิตมนุษย์โลกไปมากที่สุดโรคหนึ่ง รองลงมาจาก กาฬโรค

โรคระบาดในอดีต

โรคระบาดในอดีต

Emergency hospital during Influenza epidemic, Camp Funston, Kansas – NCP 1603.jpg

อุบัติขึ้นเมื่อ :มกราคม พ.ศ. 2461 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2463

จำนวนผู้เสียชีวิต : ภายใน 3 ปี มีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 50 – 100 ล้านคน และมีผู้ติดเชื้อถึง 500ล้านคนทั่วโลกเลยทีเดียว!

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสรหัส H1N1 แพร่ระบาดในช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 1 มีต้นตอการระบาดครั้งนั้นที่ประเทศสเปน จึงมีชื่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สเปน”

อาการ : เริ่มแรกผู้ป่วยจะ มีไข้สูง ไอ จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามลำตัว และท้องเสีย เมื่อโรครุกลามหนักเข้า ผู้ติดเชื้อจะเริ่มหายใจไม่ออก ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ใบหน้ากลายเป็นสีน้ำเงิน และเสียชีวิตลงในที่สุด

วิธีรักษา : รักษาได้ด้วยวัคซีน โดยเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สเปน ถูกค้นพบโดย แพทย์ชาวเยอรมัน ชื่อ Richard Pfeiffer และวัคซีนตัวนี้ได้ใช้เวลาพัฒนาอยู่หลายปี จากห้องปฏิบัติการเทศบาลฟิลาเดลเฟีย จนสุดท้ายวัคซีนได้ถูกส่งไปรักษาต่อกันทั่วโลก


4. อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (Cholera)

อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในทวีปเอเชีย และทวีปอินเดีย เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมง

โรคระบาดในอดีต

ภาพจาก https://www.who.int/health-topics/cholera#tab=tab_1

โรคระบาดในอดีต

“แร้งวัดสระเกศ” ภาพจากหนังสือระบาดบันลือโลก

อุบัติขึ้นเมื่อ : ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1961-1992 / พ.ศ. 2504-2535)

จำนวนผู้เสียชีวิต : องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้รายงานว่า ในแต่ละปี มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคปีละ 1.3-4.0 ล้านราย และมีผู้ที่เสียชีวิตรวมทั่วโลกถึงปีละ 21,000-143,000 ราย

สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อ วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) พบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีการจัดการด้านสุขาภิบาลไม่ดี โดยอาหาร และน้ำ ถูกปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล หรือ อุจจาระ ของคนซึ่งมีเชื้อนี้อยู่ในนั้น โดยเชื้อจะอยู่ในอุจจาระได้ประมาณ 7-14 วัน แล้วหายไปอยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และสาเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายคนอื่นต่อไป

อาการ : ท้องร่วงรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ไม่ปวดท้องมาก

วิธีรักษา : รักษาได้ด้วยการให้รับประทานน้ำเกลือแร่ ให้แร่ธาตุสังกะสี และ ยาปฏิชีวนะ ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น


5. เอดส์ หรือเชื้อไวรัส HIV

โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยมีรายงานไว้ในปี พ.ศ. 2552 ของ UNAIDS ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 60 ล้านคน เสียชีวิตแล้ว 25 ล้านคน ถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงมากที่สุดโรคนึงที่โลกเคยมีมา และยังคงดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้…

โรคเอดส์
อ่านบทความโรคเอดส์เพิ่มเติมได้ที่ –> https://www.gedgoodlife.com/health/19399-aids/

อุบัติขึ้นเมื่อ :พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) สำหรับในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคเอดส์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 จากชายรักร่วมเพศ

จำนวนผู้เสียชีวิต : มีรายงานไว้ในปีพ.ศ. 2552 ของ UNAIDS ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 60 ล้านคน เสียชีวิตแล้ว 25 ล้านคน เฉพาะในแอฟริกาใต้ที่เดียวมีเด็กทีต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าเพราะบิดามารดาเสียชีวิตจากโรคเอดส์ 14 ล้านคน นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด

สาเหตุ : นักวิจัยชาวอเมริกันพบหลักฐานว่าไวรัสเอชไอวี-1 ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์นั้นมีต้นกำเนิดมาจาก ลิงชิมแปนซี ส่วนการติดต่อมาสู่มนุษย์นั้นน่าจะมีต้นตอมาจากทวีปแอฟริกา เพราะชาวแอฟริกาในบางท้องถิ่นนิยม รับประทานเนื้อลิง

การติดต่อจากทางอื่น ๆ ได้แก่… 1. การมีเพศสัมพันธ์ 2. การรับเลือด และองค์ประกอบของเลือด 3. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 4. จากมารดาสู่ทารก

อาการ : มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ฝ้าในปาก ผึ่นคันตามตัว น้ำหนักลด

วิธีรักษา : ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใช้ทั่วไป และไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ให้หายขาดได้ วิธีป้องกันโรคอย่างเดียวที่มีใช้อยู่คือการหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อไวรัส หรือถ้าได้รับมาแล้วก็ต้องใช้ยาต้านไวรัสทันที


จะเห็นได้ว่า โรคระบาดในอดีต ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมากมาย นับร้อยล้านคน และเชื่อว่าในอนาคตกจะมีโรคระบาด หรือ โรคติดต่อ เกิดขึ้นมาอีกอย่างแน่นอน

ฉะนั้น สิ่งที่เราพอจะป้องกันไม่ให้ติดโรคระบาดไปด้วย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ก็คือ

  • สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย นอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคที่ดี
  • ทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย รับประทานเฉพาะอาหารที่สุกแล้วเท่านั้น และกินร้อน ช้อนกลางอยู่เสมอ
  • ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องออกไปเผชิญในสถานที่เสี่ยงติดเชื้อ หรือ เมื่อต้องออกไปเผชิญกับฝุ่นควันข้างนอก
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ
  • ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
  • เมื่อไหร่ที่เกิดโรคระบาด ให้ติดตามข่าวสารทั้งวิธีป้องกัน และ การดำเนินของโรค แต่อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป

อ้างอิง :

1. มาลาเรีย

2. กาฬโรค

3. ไข้หวัดใหญ่สเปน

4. อหิวาตกโรค

5. โรคเอดส์


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save