นพ. ธัญ จันทรมังกร
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคไต
ท่านมีอาการดังนี้หรือไม่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น? กระหายน้ำบ่อยขึ้น? หิวบ่อยขึ้น? น้ำหนักลดผิดปกติ? ตามัว? เป็นแผลแล้วหายช้า? ถ้ามี!! ท่านอาจกำลังเป็นเบาหวาน
ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนถึง 5.2 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยมีอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ประมาณหนึ่งแสนคนต่อปี ในจำนวนนี้ 40 % ไม่ทราบว่าตัวเองป่วยเป็นเบาหวาน ขณะที่ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัย และดูแลรักษามีเพียง 2.8 ล้านคน คิดเป็น 54.1% ในจำนวนนี้มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายใน การรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน
โรคเบาหวานวินิจฉัยได้อย่างไร
การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาศัยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตามเกณฑ์ ดังนี้
* คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-99 มก./ดล.
และหลังรับประทานอาหาร แล้ว 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะไม่เกิน 140 มก./ดล
เบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลในเลือดสูง
ในผู้ป่วยเบาหวานสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้อีกมากมาย ในกรณีที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ ดังนี้
- ภาวะแทรกซ้อนทางตา หรือที่เรียกกันว่าเบาหวานขึ้นตา เกิดในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้เกิด จอประสาทตาเสื่อม ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดจอประสาทตาลอก และตาบอดได้ในที่สุด
- ภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือที่เรียกว่าเบาหวานลงไต ในช่วงแรกไตจะทำงานหนักขึ้น(hyperfiltration state) แต่ตรวจไม่พบความผิดปกติใด ๆ ต่อมาจะตรวจพบเพียงแค่มีโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกมาในปริมาณที่น้อยซึ่ง จะตรวจพบได้โดยการใช้แถบตรวจปัสสาวะชนิดพิเศษ (microalbuminuria) ซึ่งถ้ายังไม่สามารถคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ จะเกิดการรั่วของโปรตีนชนิดอัลบูมินมากขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ ด้วยแถบตรวจปัสสาวะปกติ (macroalbuminuria) และสามารถพัฒนาไปจนเกิดการเสื่อมของไต จนเป็นสาเหตุ ของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และต้องได้รับการฟอกไต โดยผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต 40-50% มีสาเหตุ จากเบาหวาน
- ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดปลาย ประสาทอักเสบ ทำให้มีอาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้า และในบางรายก่อให้เกิดแผลที่เท้าได้เนื่องจาก เส้นประสาทรับความรู้สึกเสีย ซึ่งนำมาสู่แผลเรื้อรังได้
- มีการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเบาหวานให้หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาเพื่อเป็นการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด รวมถึงรักษาโรคร่วมต่าง ๆ ที่มักมาด้วยกัน เช่น โรคความดัน โลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเป็นการรักษาโดยใช้ยาฉีดและยาทาน ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยในการรักษาผู้ป่วยต้องมีการมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการและระดับ น้ำตาลเป็นระยะ